1. ตื่นมาก็ทานอาหารเช้า เพราะการทานในตอนเช้านั้นจะช่วยลดการทานอาหารว่างแบบจุบจิบได้ดี
2. ทานอาหารพอประมาณ
3. ทานครบหมู่
4. งดอาหารหวาน เค็ม มัน
5. ออกกำลังกายโดยการเดิน วิ่ง เต้นรำ ปั่นจักรยานอย่างน้อย 40 นาที สามครั้งต่ออาทิตย์
6. ยืดกล้ามเนื้อ อย่างเช่น โยคะอย่างน้อย 15 นาที เช้าเย็น
7. ออกกำลังกายโดยการยกน้ำหนักอย่างเบา
8. ก่อนกิน ก่อนดื่ม ก่อนซื้ออาหาร ควรคิดเสมอว่า คุณค่าที่แท้จริงของอาหารคือทำให้อิ่ม ช่วยบำรุงร่างกายให้มีชีวิตเป็นปกติ
9. เพิ่มการกินผัก ข้าวกล้อง ถั่วขาว ถั่วแดง ถั่วดำในมื้ออาหาร
10. หาความรู้ และอ่านหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมทุกครั้งที่มีโอกาส
11. ทานพออิ่มในแต่ละมื้อ โดยตักอาหารกะปริมาณให้พอดี เช่น ตักข้าวสวย 1-2 ทัพพี ผัก 4-6 ช้อน เนื้อสัตว์ 2-3 ช้อน
12. ดื่มน้ำสะอาด 1-2 แก้วทุกชั่วโมง เว้นก่อนอาหารและหลังอาหาร
13. งดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ แต่อาจใช้เต้าหู้ หรือถั่วเมล็ดแห้งผสมรวมกับเนื้อสัตว์ เลือกกินปลาน้ำจืดสลับกับปลาทะเล ทานไข่ เพราะเป็นอาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพดีในจำนวนที่พอเหมาะ
14. เลือกอาหารที่มีในท้องถิ่นรวมถึงผักพื้นบ้าน เช่น ตำลึง กระถิน
15. ลดการกินจุบกินจิบ และอาหารตามร้านสะดวกซื้อหรือฟาสท์ฟู้ด
16. ลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือแก๊ส หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานต่าง ๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ หรือน้ำสมุนไพรที่ไม่ได้ทำเอง
17. งดการกินอาหารมื้อดึก หรือไม่ควรทานอาหารหลัง 6 โมงเย็น เป็นต้นไป