มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติฯ ผวากระแส“วันสิ้นโลก”ส่งท้ายปี 2012 ระดมสมองสุดยอดนักวิชาการ“ถอดรหัสภัยพิบัติ พลิกวิกฤตให้เป็นคำเตือน”
เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ที่ มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เขตทวีวัฒนา กทม. นายนพดล มากทอง โฆษกมูลนิธิฯ “ในปี2556 หลายคนคาดการณ์ความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดภัยแล้งค่อนข้างรุนแรง จากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนิลโญ่ที่จะส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง พายุลมแรงมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญระยะหลังๆนักวิชาการทั้งต่างประเทศและในเมืองไทยเริ่มมีการพูดถึงพายุสุริยะ จนกลายเป็นกระแสข่าววันสิ้นโลกในช่วงปลายปี 2012”นายนพดล กล่าว อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติฯ กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปี 2555 จนถึงกลางปี 2556
จากกระแสความวิตกเรื่องวันสิ้นโลกด้วยหลากหลายทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อต่างๆที่ระบุตรงกันอย่างน่าฉงนว่าอาจจะเกิดขึ้นภายในเดือนธ.ค.2555 ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น ความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว
เปิดเผยว่า สภาวะโลกร้อนในปัจจุบันบางครั้งได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆหลากหลายรูปแบบและค่อนข้างรุนแรง รวมทั้งไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ซึ่งนอกจากจะสร้างความสูญเสียต่อชีวิตทรัพย์สินแล้วยังสร้างความเสียหายต่อตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังนั้นทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปจึงต้องมีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต ด้วยระบบการเตือนภัยที่รวดเร็ว แม่นยำ มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ
ระดมถอดรหัสภัยพิบัติ
โฆษกมูลนิธิฯ กล่าวต่อว่า มีประชาชนไม่น้อยเริ่มเกิดความสับสนว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานใด ออกมาให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน
ดังนั้นทางมูลนิธิฯ ร่วมกับนสพ.เดลินิวส์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงลูกทุ่งเน็ตเวิร์ก และบิ๊กเอฟ.เอ็ม ฯลฯ ร่วมกันจัดเสวนา “ถอดรหัสภัยพิบัติ พลิกวิกฤตให้เป็นคำเตือน” ขึ้นที่หอประชุมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00น. โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นองค์ปาฐกเรื่อง “ในหลวงองค์อัจฉริยะต้นแบบ การจัดการแก้ไขภัยพิบัติ”
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการด้านภัยพิบัติต่างๆ มาร่วมให้องค์ความรู้อีกหลายท่าน
อาทิ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ดร.สมิทธ ธรรมสโรช นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ดร.กัมปนาถ ภักดีกุล และ รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนอกจากจะมาร่วมระดมความคิดเห็นให้ความรู้ถึงแหล่งข้อมูลภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างแท้จริงในหลากหลากรูปแบบแล้ว ยังต้องการให้เกิดการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติในอนาคตด้วย
คาดการณ์ว่าประเทศไทยอาจประสบภาวะวิกฤตน้ำขาดแคลน เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหลือน้อยมาก เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีน้ำอยู่ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ยังอยู่ในช่วงฤดูฝน และนับจากนี้อีก 4-5 เดือนข้างหน้า เมื่อฤดูแล้งมาถึงแล้วพวกเราจะทำอย่างไรกัน ดังนั้นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องเตรียมแผนบริหารน้ำ2มิติ ไม่ใช่ห่วงแต่น้ำท่วม จนลืมนึกถึงฤดูแล้งจะมีน้ำใช้หรือไม่