และคำขวัญวันเด็กของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในปี 2555 ที่ระบุว่า สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี ได้ร้อยละ 88.0 รองๆ ลงไปคือ คำขวัญวันเด็กของนายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ว่า มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติดในปี 2539 และคำขวัญวันเด็กของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่ระบุว่า รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย ในปี 2520 ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 ระบุว่า รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ได้แก้ปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง และไม่ต่อเนื่อง
ในขณะที่ร้อยละ 44.0 ระบุว่า รัฐบาลได้แก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่องแล้ว ที่น่าสนใจคือ เด็กๆ ยังได้ระบุสิ่งที่อยากขอจากผู้ใหญ่ในประเทศในโอกาสวันเด็กที่จะมาถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ได้แก่ ร้อยละ 60.0 ระบุ ทำดีให้เด็กดูก่อน อย่าโทษแต่เด็ก รองลงมาคือ ร้อยละ 57.9 ระบุ ขอให้ผู้ใหญ่มีความซื่อสัตย์ เลิกคดโกง ร้อยละ 56.2 ระบุ ช่วยกันพัฒนาประเทศ ไม่แบ่งฝ่าย ไม่แตกแยก ร้อยละ 56.0 ระบุช่วยกันทำให้สังคมไทยสงบสุข ร้อยละ 55.2 ขอให้รับฟังและเข้าใจเด็กมากขึ้น และร้อยละ 54.4 อยากให้ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน เลิกใช้ความรุนแรง ตามลำดับ
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า คำขวัญวันเด็กของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ในปี 2516
ที่ระบุว่า “เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ” เป็นคำขวัญวันเด็กที่ได้รับความชื่นชอบจากเด็กๆ มากที่สุด เพราะมีความหมายลึกซึ้งทั้ง ความรู้ คุณธรรม และให้ความสำคัญต่อ “ชาติ” มาเป็นอันดับแรก ซึ่งมักจะขาดไปในจิตใจของคนไทยจำนวนมากที่มักจะคำนึงถึง “ผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง”
ดังนั้น รัฐบาลน่าจะรณรงค์เข้มข้นและหามาตรการส่งเสริมพฤติกรรมของประชาชนว่า ถึงแม้ตัวเองและครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ แต่ประเทศชาติต้องมาก่อนชุมชนและองค์กรบริษัททั้งหลาย จึงเสนอให้รัฐบาลทำโครงการ “ทำดีให้เด็กดู” ทั้งระดับครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องซื่อสัตย์ต่อกันก่อนที่จะรณรงค์ให้คนในชาติซื่อสัตย์สุจริต ผู้ใหญ่ในชุมชนและสังคมน่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองหันมาให้ความเมตตากรุณารู้จักให้อภัยรู้จักยับยั้งชั่งใจหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ที่รุนแรงต่อเด็กๆ ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชนและระดับชาติ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 52.4 เป็นหญิง ร้อยละ 47.6 เป็นชาย ร้อยละ 55.1 อายุ 10 - 12 ปี ร้อยละ 44.9 อายุ 13-15 ปี ร้อยละ 53.7 กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-ป.6) ร้อยละ 46.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3) ร้อยละ 86.8 ระบุพักอาศัยอยู่กับบิดามารดา ร้อยละ 13.2 ระบุพักอาศัยอยู่กับญาติ/พี่น้อง