จากการคำนวณพบว่า มนุษย์ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการนอนหลับกว่า 1 ใน 3 ของชีวิต นั่นแปลว่า ถ้าเรามีอายุ 60 ปี เราได้เสียเวลาไปกับการนอนแล้วมากกว่า 20 ปี ดังนั้น การนอนที่มีคุณภาพจึงเท่ากับเป็นการใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตที่คุ้มค่า ทว่าคนจำนวนไม่น้อยกลับมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ฉะนั้น การใช้ชีวิตและการทำความเข้าใจธรรมชาติของการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้กิจวัตรที่แสนธรรมดากลายร่างเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิต โดยเฉพาะในคนยุคใหม่ที่อยู่ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ แข่งกับเวลา และไม่เข้าใจว่าทำไมวันๆ หนึ่งต้องนอนมากถึง 6 - 8 ชั่วโมง
การนอน เรื่องสำคัญของคนทุกวัย
ยานอนหลับ ตัวช่วยการนอนแสนอันตราย
นอกจากนี้ ยานอนหลับบางชนิดยังออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางส่งผลให้ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกดไปด้วย ผู้ป่วยโรคปอดและผู้ที่นอนกรนจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับประเภทนี้ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจได้
นอนสะดุดเมื่อตื่นกลางดึก
แล้วทำอย่างไรไม่ให้ตื่นกลางดึก มีหลายวิธี อาทิ ผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้านอน เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาใกล้เคียงกันทุกวัน หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้หลับยาก เช่น ดื่มชา กาแฟ หรือเล่นกีฬาก่อนเข้านอน 3 - 4 ชั่วโมง ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน คือ เป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่มีเสียงรบกวน และมีความมืดมากพอ สิ่งสำคัญ คือ ไม่วิตกถึงอาการนอนไม่หลับ เพราะยิ่งเป็นการตอกย้ำจิตใต้สำนึก และเกิดความกลัวว่าจะนอนไม่หลับไปก่อน
นอนหลับโดยไม่รู้ตัวอันตรายไหม
สาเหตุของการหลับในเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น กินยานอนหลับ ยาแก้ภูมิแพ้ ดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายเหนื่อยล้า ความเครียด ยังทำกิจกรรมอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องนอน คือ 24.00 น. - 7.00 น. และช่วงบ่ายหลังอาหาร
นอกจากนี้อาจเกิดจากการอดนอนเป็นเวลานานหรือนอนไม่พอ คือ นอนน้อยกว่าสองชั่วโมงในวันก่อนหน้า ทำให้เกิดหนี้การนอน (Sleep Debt) ซึ่งร่างกายจะมีการทวงหนี้เป็นพักๆ เริ่มจากทำให้สมรรถภาพสมองต่ำลงและทำงานช้าลง วูบหลับช่วงสั้นๆ และหลับในในที่สุด ซึ่งการจัดสรรเวลาทำงานและพักผ่อนให้สมดุล คือหนทางป้องกันการหลับโดยไม่รู้ตัวและอันตรายจากการหลับในค่ะ
นอนกลางวันดีไหม
ง่วงนอนตอนบ่ายเป็นประจำจนต้องงีบระหว่างวันไม่ทราบว่ามีผลเสียต่อร่างกายไหม?
ปกติการนอนหลับช่วงกลางวันหรืองีบสั้น ๆ ไม่เกินครึ่งชั่วโมงในคนที่ไม่มีปัญหาการนอน จะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่หากนอนเกินหนึ่งชั่วโมงจะทำให้เกิดความเฉื่อย และส่งผลต่อระบบสมดุลการนอนหลับ ทำให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน ซึ่งหากไม่อยากง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวัน ต้องนอนหลับตอนกลางคืนให้เพียงพอ และไม่กินอาหารรสหวาน รับรองได้ผลชะงัดค่ะ
เปิดไฟนอน เสี่ยงหลับยาก
ดังนั้นเพื่อให้หลับง่ายขึ้น จึงควรจัดห้องนอนให้มีความมืดเพียงพอ โดยปิดไฟ หรือดึงผ้าม่านลง เนื่องจากความมืดช่วยปรับสภาพแวดล้อมตามวงจรการนอนหลับ จึงเอื้อให้หลับง่ายและสบายขึ้น นอกจากนี้ หากจำเป็นต้องเข้าห้องน้ำกลางดึก ควรเปิดไฟที่ให้แสงสว่างไม่จ้าจนเกินไป เพราะแสงสว่างจะกระตุ้นให้ตื่นนอนอีกครั้ง การปิดไฟไม่เพียงแต่ดีต่อการนอนเท่านั้น ยังช่วยลดโลกร้อนได้ด้วยนะคะ
หลับคาหูฟัง ระวังหูพัง
การฟังเพลงก่อนนอนโดยใส่หูฟังทิ้งไว้ทั้งคืน ทำให้สมองได้รับการกระตุ้นจากเสียงที่ดังอยู่ตลอดเวลา สมองจึงไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ส่งผลให้คุณภาพการนอนแย่ลง เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกหงุดหงิดและไม่มีสมาธิ ในบางคนพบว่ามีอาการก้าวร้าวหลังตื่นนอนร่วมด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เซลล์ประสาทหูเสื่อมอีกด้วย เพื่อสร้างบรรยากาศการนอนที่เหมาะสม ควรเปิดเพลงจากเครื่องเล่นวิทยุด้วยความดังที่พอดี เพื่อค่ำคืนที่แสนสุขค่ะ
อย่ามองข้ามอาการปวดศีรษะหลังตื่นนอน
แม้การนอนจะเป็นเรื่องปกติเหมือนที่เราต้องหายใจตลอดเวลา แต่แค่หมั่นตรวจสอบอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เพื่อป้องกันปัญหาลุกลามเกินแก้ และสร้างสุขภาพการนอนที่ดีได้ค่ะ เมื่อได้นอนพักอย่างมีคุณภาพ ก็ทำให้เราสดชื่นและตื่นมาอย่างแจ่มใสในทุก ๆ เช้าค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารกสิกรไทย