ยาน Messenger บินเฉียดผ่านดาวพุธ

เป็นครั้งแรกในรอบ 33 ปี

ที่มียานอวกาศถ่ายภาพขณะบินผ่านดาวพุธเมื่อวันจันทร์ที่ 14 มกราคม ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ผู้กระหายก็คอยมองดูมันจากโลก


ยาน MESSENGER ของนาซ่าได้ทำการบินผ่านดาวเคราะห์เป้าหมายของมันสำเร็จเมื่อเวลา 1904 GMT เมื่อเสียงไชโยกึกก้องไปทั้งห้องควบคุมปฏิบัติการที่ห้องทดลองฟิสิกส์ประยุกต์(APL) มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ Sean Solomon หัวหน้าทีม MESSENGER จากสถาบันคาร์เนกี้แห่งวอชิงตัน กล่าวว่า มันเป็นไปตามที่เขียนในบท ดังนั้นเลยเป็นเรื่องดี

MESSENGER ย่อมาจาก Mercury Surface, Space Environment, Geochemistry and Ranging บินผ่านในระยะทางเพียง 200 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดาวพุธในระหว่างการบินผ่านครั้งแรกในจำนวนสามครั้งเพื่อปรับให้ยานเข้าสู่วงโคจรรอบพิภพหินขนาดเล็กดวงนี้ ในวันที่ 18 มีนาคม 2011

ยาน Messenger บินเฉียดผ่านดาวพุธ


ตั้งแต่ยานมาริเนอร์ 10 ของนาซ่า

ซึ่งบินผ่านดาวพุธ 3 ครั้งในระหว่างปี 1974 และ 1975 ก็ไม่มียานลำใดที่ได้เห็นดาวเคราะห์ในระยะใกล้อีก นักวิจัยหวังว่าปฏิบัติการมูลค่า 446 ล้านดอลลาร์นี้จะช่วยตอบคำถามที่มีมายาวนานเกี่ยวกับความหนาแน่นที่สูงผิดปกติ, สนามแม่เหล็ก และชั้นบรรยากาศบางๆ ของดาวพุธได้ เช่นเดียวกับเปิดมุมมองว่าดาวเคราะห์ก่อตัวในช่วงที่ระบบสุริยะยังเป็นทารกได้อย่างไร

Marilyn Lindstrom นักวิทยาศาสตร์โครงการ กล่าวก่อนการบินผ่านว่า

เพื่อจะเข้าใจความตื่นเต้นของเหล่านักวิทยาศาสตร์ คุณต้องคิดว่ามันเหมือนกับการแข่งซุปเปอร์โบวล์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี เรารอคอยการกลับไปที่ดาวพุธมานานขนาดนั้น

มาริเนอร์ 10 ทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธเพียง 45% ในระหว่างการบินผ่าน 3 ครั้ง MESSENGER หันกล้องและเครื่องมืออื่นๆ สู่พื้นผิวที่ยังไม่ได้ทำแผนที่ของดาวเคราะห์ในระหว่างการบินผ่านครั้งนี้ และจะใช้เวลาอีกทั้งปีเพื่อโคจรรอบดาวเคราะห์ Rob Gold ผู้จัดการระวางวิทยาศาสตร์ของ MESSENGER ที่ APL กล่าวว่า คำถามที่แท้จริงก็คือ มันจะดูคล้ายกันไปหมดหรือไม่ เราก็ยังไม่ทราบ

Faith Vilas นักวิทยาศาสตร์โครงการที่หอสังเกตการณ์ MMT เมาท์ฮอบกินส์ อริโซน่า กล่าวว่า เรากำลังตื่นเต้นมากๆ บางทีสิ่งแรกๆ ที่เราเกือบทั้งหมดอยากจะเห็นก็คือ พื้นผิวอีก 55% ของดาวพุธมีลักษณะอย่างไร....เราจะได้เห็นโครงสร้างภูเขาไฟขนาดใหญ่หรือจะได้เห็นการปะทุจากภูเขาไฟอย่างที่เห็นบนดวงจันทร์....อะไรคือกระบวนการบนพื้นผิวที่เปลี่ยนแปลงดาวเคราะห์

ถ้าทุกสิ่งเป็นไปด้วยดี MESSENGER จะเริ่มยิงภาพใหม่ของดาวพุธมากกว่า 1200 ภาพกลับสู่โลกพร้อมทั้งข้อมูลอื่นๆ ในวันอังคาร Mark Robinson สมาชิกทีมวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอริโซน่า บอกว่าเขากำลังรอภาพแอ่งแคลอริส(Caloris basin) ซึ่งเป็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่มาริเนอร์ 10 ได้เห็นเพียงครึ่งเดียว Alan Stern ผู้ช่วยผู้บริหารนาซ่า แผนกอำนวยการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า พวกเขากำลังถ่ายภาพชิ้นส่วนใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยถูกสำรวจของวัตถุในระบบสุริยะวงใน

ม่านกันแดด เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระหว่างมาริเนอร์ 10 กับ MESSENGER ซึ่งช่วยให้ยานรุ่นใหม่รักษาเครื่องมือที่อุณหภูมิห้องขณะที่ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะมีอุณหภูมิระอุที่ 315 องศาเซลเซียส Stern กล่าวถึงการพัฒนาตั้งแต่มาริเนอร์ 10 ว่า มันก็เหมือนรถจากัวร์ปี 2008 เอามาเปรียบเทียบกับจักรยานเด็กอายุ 6 ขวบ

นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการบอกว่า

พวกเขาได้วางแผนการบินผ่านดาวพุธครั้งใหม่ของ MESSENGER ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนตุลาคมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในเดือนกันยายน 2009 คาดว่ายานจะจบกระบวนการถ่ายทอดภาพและข้อมูลต่างๆ จากการบินผ่านในครั้งนี้ในอาทิตย์หน้า และการประชุมเพื่อถกผลจากการบินผ่านมีกำหนดในวันที่ 30 มกราคม

คาดว่า MESSENGER บินผ่านดาวพุธด้วยความเร็ว 25,749 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์เพื่อดึงให้มันช้าลงไปประมาณ 8046 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันได้เดินทางมาถึงครึ่งของระยะทางทั้งหมด 7.9 พันล้านกิโลเมตร เพื่อการโคจรรอบดาวพุธ

การบินผ่านเมื่อวันจันทร์เป็นการบินผ่านดาวเคราะห์ครั้งที่ 4 ของ MESSENGER ซึ่งเคยบินผ่านโลกมาแล้วครั้งหนึ่งและดาวศุกร์อีกสองครั้งตั้งแต่มันถูกส่งออกเมื่อเดือนสิงหาคม 2004 การสำคัญจากการบินผ่านก่อนหน้านี้ทำให้ผู้ควบคุมปฏิบัติการได้มีประสบการณ์สำหรับการบินผ่านที่อันตรายในครั้งนี้ Solomon กล่าวว่า พวกมันทำเหมือนมันเป็นเรื่องง่ายๆ

MESSENGER มีความสูง 4.7 ฟุต, กว้าง 6.1 ฟุต และลึก 4.2 ฟุต

แผงโซลาร์ทั้งสองฝั่งเมื่อกางออกจะกว้าง 20 ฟุตจากด้านสู่อีกด้าน ยานติดตั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขนาดจิ๋ว 7 อย่าง, ระบบคอมพิวเตอร์, จรวดปรับเส้นทาง, เครื่องยนต์หลัก, อุปกรณ์สื่อสาร และม่านกันแดดขนาดใหญ่ ทั้งหมดอัดแน่นเป็นระวางที่มีน้ำหนักเพียงครึ่งตัน

ขอขอบคุณเนื้อหาดีดี โดย:darasart

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์