จมูก

โครงสร้างโครงสร้าง

จมูก 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 



     จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่นของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่นกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของ อากาศก่อนที่จะเข้าสู่ปอด คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น ถ้าอากาศแห้งมาก จมูกจะให้อากาศ ซุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเสียงที่เราพูด ให้กังวานน่าฟังอีกด้วย

ส่วนประกอบของจมูก


     จมูก มีโครงร่างเป็นกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน ภายนอกหุ้มด้วยผิวหนัง ภายโนบุด้วยแผ่นเยื่อเมือกโดยตลอด ส่วนประกอบของจมูกมีดังนี้
     1. สันจมูก เป็นกระดูกอ่อนที่เริ่มตั้งแต่ใต้หัวคิ้ว ส่วนบนเป็นกระดูกที่เรียกว่าดั้งจมูก ส่วนล่างเป็นกระดูกอ่อน มีเนื้อเยื่อและผิวหนังปกคลุมอยู่ภายนอก
     2. รูจมูก มีอยู่ 2 ข้าง ตรงส่วนล่างของจมูก ภายในมีขนจมูกทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองในขณะหายใจเข้า
     3. โพรงจมูก อยู่ถัดจากรูจมูกเข้าไปข้างใน ซึ่งเป็นที่พักของอากาศก่อนจะถูกสูดเข้าปอด โพรงจมูกทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นนของอากาศ โดย หลอดเลือดฝอยซึ่งมีอยู่มากมายตามแผ่นเยื่อเมือกจะถ่ายเทความร้อนออกมาทำให้อากาศชุ่มชื้น แผ่นเยื่อเมือกเองก็จะทำหน้าที่ปรับความชื้นให้กับอากาศพร้อม ทั้งดักจับฝุ่นละอองที่เล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าไปแล้วขับทิ้งออกมาเป็นน้ำมูกนั่นเอง บริเวณด้านบนของโพรงจมูกมีปลายประสาท ทำหน้าที่รับกลิ่นอยู่มากมาย ภายโนจมูกยังมีรูเปิดของ ท่อน้ำตาซึ่งเป็นที่ระบายน้ำตาลงมาในโพรงจมูก เพื่อ มิให้เอ่อล้นออกมานอกลูกตา เมื่อเราร้องไห้จะมีน้ำตาออกมามาก น้ำตาส่วนหนึ่งไหลลงมาตามท่อนี้เข้าสู่ซ่องจมูก ทำให้เห็นเป็นน้ำมูกใสๆ ไหลออกมา ทางจมูก เวลาร้องไห้จึงมักจะคัดจมูกและมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย
     4. โพรงอากาศรอบจมูก (ไซนัส) เป็นโพรงกระดูกที่อยู่โนบริเวณรอบๆ จมูก มีอยู่ 4 คู่ คือ บริเวณกึ่งกลางหน้าผากเหนือคิ้วทั้งสองข้าง 1 คู่ บริเวณใต้สมองทั้งสองข้าง 1 คู่ บริเวณค่อนไปข้าง หลังของกระดูกจมูก 1 คู่ และอยู่บริเวณสองข้างของ จมูกอีก 1 คู่
     โพรงอากาศเหล่านี้มีเยื่อบางๆ อยู่เช่นเดียวกับ ช่องจมูก และโพรงอากาศเหล่านี้ก็จะเปิดเข้าdูช่อง จมูกโดยตรงด้วย ดังนั้น ถ้ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นที่ช่องจมูกก็มีผลต่อโพรงอากาศนี้ด้วย

การได้รับกลิ่น
     กระเปาะรับกลิ่นคือบริเวณที่เยื่อบุภายในโพรงจมูกมีประสาทสำหรับรับกลิ่นอยู่ทั่วไป ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่สมอง เมื่อกลิ่นผ่านเข้าไปในโพรงจมูก กลิ่นมากกระทบปลาย ประสาทสัมผัสรับกลิ่น ปลายประสาทรับกลิ่นส่งกระแสประสาทไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายของสิ่งที่ได้รับ


การดูแลรักษาจมูก
     เพื่อให้จมูกทำหน้าที่ได้ตามปกติ และปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เราควรปฏิบัติดังนี้
     1. รักษาจมูกให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ที่ๆมีฝุ่นละอองมากๆ
     2. ไม่เข้าไปในบริเวณที่มีกลิ่นฉุน เหม็น หรือใส่น้ำหอมกลิ่นรุนแรง เพราะทำให้ประสาทรับกลิ่นเสื่อมลง
     3. ไม่ใช้นิ้วหรือของอื่นๆ เช่นปากกา ดินสอ กระดาษ แหย่จมูกเล่น เพราะอาจทำให้จมูกอักเสบ หรือเป็นอันตรายได้
     4. ไม่ถอนขนจมูกหรือตัดให้สั้น เพราะขนจมูกมีประโยชน์ในการกรองฝุ่นละออง เชื้อโรค และสิ่งอื่นๆ ที่อาจปนเข้ามากับลมหายใจ ไม่ให้เข้าสู่ช่องจมูกและปอดได้
     5. เวลาจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษนุ่มๆ ปิดปากไว้ อย่าใช้มือบีบหรืออุดจมูกไว้จนแน่น
     6. เวลาสั่งน้ำมูกให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษนุ่มๆ รอไว้ที่จมูก แล้วค่อยๆสั่งน้ำมูก โดยสั่งพร้อมกันทั้งสองข้าง ไม่ควรใช้มือบีบจมูกแล้วจึงสั่งน้ำมูก
     7. เมือต้องการดมกลิ่นของบางอย่าง เพื่อที่จะทราบว่าเป็นอะไร อย่าใช้จมูกจ่อจนใกล้แล้วสูดหายใจ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ เช่น การสูดดมสารเคมีบางชนิด ฉะนั้นจึงควรให้ จมูกอยู่ห่างของนั้นพอประมาณ แล้วใช้มือโบกให้กลิ่นโชยเข้าจมูก โดยสูดกลิ่นเพียงเล็กน้อย
     8. เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นที่จมูก เช่น คัดจมูก เลือดกำเดาไหล ปวดจมูกหรืออื่นๆ ควรไปให้แพทย์ตรวจรักษา



 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


โรคที่เกิดจากความผิดปกติในจมูก


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


โรคเยื่อจมูกอักเสบฝ่อ


   เป็นโรคที่เยื่อบุจมูกมีการเปลี่ยนแปลงจากเยื่อบุทางเดินหายใจเป็นเยื่อบุที่ปกคลุมผิวหนัง ทำให้เยื่อที่บุในจมูกเหี่ยวฝ่อ และกระดูกที่เป็นโครงสร้างอาจเล็กลงไปมากด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำมูกในจมูกตกค้าง และแห้งเป็นสะเก็ด เกาะติดอยู่บนเยื่อบุจมูก เมื่อสะสมกันมากขึ้น อาจอุดกั้นโพรงจมูก และทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้

      โรคเยื่อจมูกอักเสบฝ่อ นี้แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

      1. ชนิดที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การติดเชื้อ, ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี   เนื่องจากขาดสารอาหารบางอย่าง, พันธุกรรม, ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

       2. ชนิดที่มีสาเหตุ หรือเกิดขึ้นตามหลังโรคบางชนิด เช่น วัณโรค, โรคเรื้อน, ซิฟิลิส, ไซนัสอักเสบเรื้อรัง, หลังการทำผ่าตัดจมูกและไซนัส, หลังการฉายแสงรักษามะเร็งของจมูกและไซนัส หรือ อุบัติเหตุ

อุบัติการณ์

      โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิง โดยมักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 13 - 15    ปี    มักพบโรคนี้ได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อียิปต์, อินเดีย, จีน     ในประเทศไทยพบได้บ้าง จากการศึกษาโรคนี้ในประเทศไทย พบว่าอัตราส่วนที่พบในผู้หญิงต่อผู้ชาย = 5.6 : 1 อายุต่ำสุดที่พบเริ่มเป็นคือ 5 ปี โดยผู้ป่วยมักมีอาการตั้งแต่ 6 เดือน ถึงมากกว่า 20 ปี

อาการ

       ผู้ป่วยมักได้รับการบอกเล่าจากคนใกล้ชิด ว่าจมูกมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้อาจมีอาการคัดจมูก ซึ่งเกิดจากการสะสมของสะเก็ดภายในช่องจมูกจนอุดตัน     อาการจมูกไม่ได้กลิ่นอาจพบได้บ้าง นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจมาด้วยเลือดออกจากจมูกได้

อาการแสดง

       จากการตรวจจมูกจะพบสะเก็ดเป็นแผ่นแห้งสีเหลืองปนน้ำตาล หรือเขียว เกาะอยู่บนเยื่อบุโพรงจมูก เมื่อดึงสะเก็ดออก จะเห็นหนองบางๆ เคลือบอยู่บนเยื่อบุ หลังทำความสะอาด จะเห็นว่าเยื่อบุจมูกมีลักษณะเหี่ยวฝ่อทั่วไป โพรงจมูกค่อนข้างกว้างมาก

การวินิจฉัย

      สามารถให้การวินิจฉัยโดย การซักประวัติ และตรวจร่างกาย โดยมีอาการและอาการแสดงดังกล่าวข้างต้น    การสืบค้นเพิ่มเติมที่ควรทำได้แก่การตรวจเซลล์ในเยื่อบุจมูก, การเพาะเชื้อแบคทีเรียจากน้ำมูก หรือ สะเก็ด    นอกจากนี้อาจส่งหาความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพชนิดต่างๆ, การถ่ายภาพรังสีของจมูกและไซนัส เพื่อดูว่ามีไซนัสอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ อาจเจาะเลือดดูว่ามีซีดจากการขาดเหล็กหรือไม่    ตรวจดูภาวะโภชนาการ    ตรวจ VDRL เมื่อสงสัยการติดเชื้อซิฟิลิส    ในรายที่สงสัยวัณโรค หรือโรคเรื้อน อาจทำการตัดชิ้นเนื้อในโพรงจมูก

การรักษา

     เริ่มด้วยการอธิบายเรื่องโรค และการดำเนินของโรค ให้ผู้ป่วยทราบ ในรายที่มีสาเหตุ ควรรักษาตามอาการ และรักษาสาเหตุ     ส่วนในรายที่เป็นชนิดที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น การรักษาตามอาการคือ


1.      ทำความสะอาดภายในจมูกโดยการเอาสะเก็ดออก และดูดหนองและน้ำมูกออกจนสะอาด แล้วล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ วันละ 2 -3 ครั้ง


2.      หลังทำความสะอาด อาจใช้ยาหยอดจมูก หยอดจมูกเพื่อทำให้สะเก็ดอ่อนตัว และ กลิ่นเหม็นน้อยลง (ที่ใช้ใน รพ.ศิริราช มี 2 ชนิด คือ (1) 5% alcohol + 3% glycerine + isotonic saline และ (2) 50% glucose + 50% glycerine)


3.      ยาต้านจุลชีพ อาจต้องให้เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีผลการเพาะเชื้อขึ้น     จากประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทยพบว่า การให้ยาต้านจุลชีพทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น


4.      แก้ไขภาวะทุพโภชนาการ เช่น ให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนมากขึ้น และให้วิตามิน, เกลือแร่, ธาตุเหล็ก
      นอกจากนั้น ผู้ป่วยจะถูกนัดมาทำความสะอาดในจมูกเป็นระยะๆเพื่อติดตามดูการตอบสนองต่อการรักษา และเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น

การรักษาโดยการผ่าตัด       


ในรายที่ให้การรักษาโดยใช้การรักษาตามอาการแล้วไม่ดีขึ้น อาการคนไข้ยังมากอยู่ อาจพิจารณาการผ่าตัด     เนื่องจากการที่มีโพรงจมูกกว้าง ทำให้ปริมาตรของอากาศผ่านเข้าออกจมูกค่อนข้างมากในการหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ทำให้จมูกต้องทำงานหนักในการให้ความชื้น และความร้อนแก่อากาศที่หายใจเข้าไป    เยื่อบุจมูกจึงแห้งได้ง่าย จึงมีการผ่าตัดเพื่อทำให้โพรงจมูกแคบลง โดยการใส่วัสดุได้แก่พวกสารสังเคราะห์ หรือใส่เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง ซึ่งพบว่ามีปฏิกิริยาต่อต้านน้อยกว่าสารสังเคราะห์ แต่ในระยะยาว อาจมีการละลาย     และถูกดูดซึมหายไปได้ นอกจากนั้นยังมีการผ่าตัดปิดรูจมูกเพื่อไม่ให้อากาศผ่านเข้าไปได้อีกหรือเข้าไปได้แต่น้อย ซึ่งพบว่า เยื่อบุจมูกกลับคืนสู่สภาพปกติได้หลังจากการผ่าตัดไปแล้ว 2 - 3 ปี       ในรายที่มีไซนัสอักเสบร่วมด้วย การทำผ่าตัดรักษาไซนัสอักเสบและให้ยาต้านจุลชีพหลังผ่าตัดจะทำให้ผู้ป่วยโรคเยื่อจมูกอักเสบฝ่อมีอาการดีขึ้น


 


 



ภาวะแทรกซ้อน


1.      ไซนัสอักเสบเรื้อรัง    พบบ่อย เนื่องจากการทำงานของขนกวัดในโพรงจมูกเสียไป


2.      คอและกล่องเสียงอักเสบ ในบางรายความผิดปกติของเยื่อบุจมูก อาจลามมาที่ผนังคอ และกล่องเสียง และแบคทีเรียที่เจริญอยู่ในโพรงจมูก อาจถูกกลืนลงคอ ทำให้เกิดการอักเสบของคอ และกล่องเสียงได้ง่ายขึ้น


3.      ผนังกั้นช่องจมูกทะลุ พบว่าผู้ป่วยบางราย อาจมีแผลที่บริเวณผนังกั้นช่องจมูกส่วนหน้า และลุกลามจนทำให้ทะลุได้


4.      สันจมูกยุบ ถ้าพบผู้ป่วยโรคเยื่อจมูกอักเสบฝ่อที่ผนังกั้นช่องจมูกทะลุ หรือ สันจมูกยุบควรหาสาเหตุเพราะอาจเป็นชนิดที่มีสาเหตุ หรือเกิดขึ้นตามหลังโรคบางชนิด เช่น วัณโรค, โรคเรื้อน, ซิฟิลิสได้


-----------------------------------------------------


 


โรคภูมิแพ้


เป็นโรคเรื้อรังเช่นเดียวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ร่างกายจะมีการตอบสนองรุนแรงผิดปกติ(hypersensitive)ต่อสารบางชนิดที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเข้าสู่ร่างกายได้โดย ปนมากับอากาศที่หายใจ เช่น ฝุ่น มูลไร แบคทีเรีย เชื้อรา เกสรพืช ฯลฯ ปนมากับอาหารที่รับประทาน หรือมาสัมผัสร่างกายโดยตรง เมื่อสารนั้นเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดมีสาร Histamine, Leukotrienes ฯลฯ หลั่งในร่างกาย ทำให้เกิดอาการแพ้ได้กับอวัยวะหลายระบบ
ถ้าเกิดกับทางเดินหายใจส่วนบน จะทำให้มีอาการหวัดเรื้อรัง คัดจมูก คันจมูก มีน้ำมูก มีเสมหะไหลลงคอ เสียงแหบ จุกในช่องคอ คันคอ เจ็บคอเป็นประจำ มีเลือดกำเดาบ่อยๆ คันหู ปวดหู หูอื้อ เวียนศีรษะ ถ้าเกิดกับหลอดลมจะทำให้มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม ไอเรื้อรัง หอบหืด ถ้าเกิดกับผิวหนังจะทำให้เป็นลมพิษผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ ถ้าเกิดกับทางเดินอาหารจะทำให้ คันเพดานปาก ลิ้นเป็นฝ้าขาว ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นแผล(Aphthous)ในปากบ่อยๆได้ ถ้าเกิดกับตาจะทำให้มีอาการคันตา ตาแดง น้ำตาไหล ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะบริเวณหัวคิ้ว รอบกระบอกตา กกหูและบริเวณท้ายทอย(Sinus Headache) ฯลฯ
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่ติดต่อกัน แต่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากทั้งพ่อและแม่ไปสู่ลูก(Multiple gene defect) ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาของแพทย์นั้น หวังผลเพียงให้ผู้ป่วยไม่มีอาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆขึ้น เพราะถ้าปล่อยให้มีอาการเรื้อรังอยู่นานๆไม่รักษา อาจเกิดหูอื้อจนการได้ยินสูญเสียไปอย่างถาวร(Serous-Adhesive otitis media) หรือมีเนื้องอกในจมูก(Nasal polyp)เกิดขึ้น หรือเป็นไซนัสอักเสบได้(ไซนัสอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ผนังกั้นโพรงจมูกคด มีเนื้องอก มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก รากฟันบนอักเสบ ฯลฯ) ผู้ป่วยอาจมีอาการหอบหืด ( sthma) อย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายได้

วิธีควบคุมโรคภูมิแพ้
-การป้องกัน
1.
หลีกเลี่ยงจากสารที่ผู้ป่วยแพ้ โดย สังเกตอาหารที่รับประทาน ขจัดมลภาวะ เช่น ฝุ่น ควันบุหรี่ ควันรถ ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด เช่น ใช้เครื่องปรับอากาศ เครื่องกรองอากาศ เครื่องผลิตโอโซน ใช้ที่นอนหมอนยางพารา ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนที่ป้องกันตัวไรฝุ่น เป็นต้น
2.
แนะนำผู้ป่วย ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
3.
ทดสอบภูมิแพ้ เพื่อฉีดวัคซีน(Hyposensitization) กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อสารที่ผู้ป่วยแพ้
-การรักษา
1.
รับประทานยา ฉีดยาหรือพ่นยาแก้แพ้เป็นประจำ
2.
รักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อของทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ หูอักเสบ หลอดลมอักเสบ

3.
ใช้น้ำเกลือล้างโพรงจมูกให้สะอาด
4.
ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้น เช่น ตัดเนื้องอกในจมูก(Nasal polyp) ขูดต่อมแอดีนอยด์(Adenoid)ที่อยู่ด้านหลังโพรงจมูกออก ขยายโพรงจมูก(Functional nasal surgery)ให้กว้างขึ้น แก้ไขภาวะอุดตันของโพรงไซนัส(Osteomeatal complex)และโพรงจมูก เพื่อให้หายใจสูดและสั่งน้ำมูกได้สะดวก สามารถใช้โพรงจมูกและโพรงไซนัสกรองอากาศให้สะอาด ปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม ก่อนหายใจผ่านช่องคอและกล่องเสียงเข้าสู่ปอด
-สรุป
การควบคุมโรคภูมิแพ้นั้นแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่า ควรใช้วิธีใดหรือหลายๆวิธีร่วมกัน เพื่อป้องกันและรักษาไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้หรือเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นกับว่าผู้ป่วยจะสามารถปฏิบัติตน ตามคำแนะนำของแพทย์ได้สม่ำเสมอหรือไม่


---------------------

ตำแหน่งของโพรงอากาศ (ไซนัส)ตำแหน่งของโพรงอากาศ (ไซนัส)


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์