ชีวิตที่นั่งๆ นอนๆ ทำให้แก่เร็ว
คนที่ใช้เวลาว่างไปกับการออกกำลังกายดูจะมีสภาพร่างกายชีวภาพที่อ่อนวัยกว่าคนที่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ ตามรายงานเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา จากวารสาร Archives of Internal Medicine
คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีโอกาสเป็น โรคหัวใจ, เบาหวานแบบ Type 2, มะเร็ง, ความดันโลหิตสูง, โรคอ้วนและโรคกระดูกพรุนน้อยกว่าคนปกติ ตามข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ในบทความ “ผู้ที่มีไลฟ์สไตล์แบบนั่งนิ่งๆ จะมีแนวโน้มที่จะมีความแก่ชรา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยและการตายก่อนวัยอันควร” ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวว่า
“การอยู่นิ่งๆ จะทำให้มีแนวโน้มว่าจะอายุสั้นลง ไม่เพียงแต่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น แต่มีผลกับกระบวนการแก่ชราโดยตัวมันเอง”
โดยผู้เขียนกล่าวไว้ว่า ความไม่กระตือรือร้นจะทำให้เราอายุสั้นลง เนื่องจากมีอิทธิพลต่อกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย มิใช่แค่เสี่ยงต่อการเกิดโรคตามอายุขัยมากขึ้นเท่านั้น
ดร. Lynn F. Cherkas จากมหาวิทยาลัย King's College London และคณะร่วมกันศึกษาฝาแฝดผิวขาวจำนวน 2,401 คู่ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และสถานภาพทางการเงินในสังคม นอกจากนั้นยังเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปสกัดดีเอนเอจากเม็ดเลือดขาวแล้วตรวจความยาวของลำดับเบสที่ซ้ำ ๆ กันบริเวณ telomere ซึ่งเป็นลำดับเบสอยู่บริเวณปลายสายโครโมโซม ในคนทั่วไป telomere ของเม็ดเลือดขาวจะสั้นลงตามระยะเวลาส่งผลให้เราแก่ชราตามอายุขัย พูดง่า ๆ ก็คือความยาวของลำดับเบสบริเวณ telomere เปรียบเสมือนกับสัญลักษณ์บ่งบอกอายุของเรานั่นเองครับ
สำหรับคนทั่วไปลำดับเบสบริเวณ telomere จะสั้นลงประมาณ 21 นิวคลีโอไทด์ต่อปี แต่ชายและหญิงที่ไม่ค่อยทำกิจกรรมอะไรเมื่อมีเวลาว่างกลับพบว่า telomere ในเม็ดเลือดขาวจะสั้นกว่าคนที่หาอะไรทำเป็นประจำ เมื่อตรวจสอบดัชนีมวลร่างกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ สถานภาพทางการเงินในสังคม และการขยับเขื้อนในช่วงวันทำงาน จะพบว่าความยาวของ telomere ในเม็ดเลือดขาวสัมพันธ์กับกิจกรรมของร่างกายอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้เขียนกล่าวว่า ค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างความยาว telomere ของลิวโคไซต์ระหว่างผู้ที่กระตือรือร้นที่สุด (โดยเฉลี่ยเป็นผู้ทำกิจกรรมรวมแล้ว 199 นาทีต่อสัปดาห์) และผู้ที่หาอะไรทำน้อยที่สุด (โดยเฉลี่ยเป็นผู้ทำกิจกรรมรวมแล้ว 16 นาทีต่อสัปดาห์) คิดเป็น 200 นิวคลีโอไทด์ ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ขยันที่สุดมีความยาวของ telomere เท่ากับของผู้ที่นั่งนอนอยู่เสมอเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และให้ผลเช่นเดียวกันเมื่อทดลองเพิ่มเติมในฝาแฝดที่มีระดับการทำกิจกรรมต่างกัน
นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่นั่งนอนเป็นประจำจะมีระดับอนุมูลอิสระสูงกว่าคนที่ขยันหาอะไรทำ การเกิดอนุมูลอิสระเป็นการที่เซลล์เสียหายจากการได้รับออกซิเจนซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับที่เซลล์ใช้ต่อสู้เชื้อโรค และที่สำคัญยังพบว่าระดับความเครียดก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความยาวของ telomere เช่นเดียวกัน แต่กิจกรรมของร่างกายอย่างการออกกำลังกายจะช่วยลดความเครียดของเราได้ดังนั้นจึงส่งผลช่วยลดการสั้นลงของ telomere และการแก่ชราได้ครับ
ทั้งนี้จึงแนะนำให้ท่านผู้อ่านหาอะไรทำอย่างต่อเนื่องแบบที่เรียกว่า moderate-intensity physical activity อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์จึงจะเห็นผลครับ เช่น การเดินเร็วติดกัน 1.5 ไมล์ (2 กม.) วาดรูป, เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์ ,เดินขึ้นบันไดเลื่อน,ทำงานบ้าน 2 เท่าตัวและทำสวน เป็นต้น
หากคุณเป็นคนที่ค่อนข้างจะเกียจคร้านอยู่สักหน่อย ลองแบ่งเวลาซัก 10 หรือ 15 นาทีมาลองทำดูครับแล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาจนเป็น 30 นาที
ส่วนเด็ก ๆ และผู้ที่มีอายุน้อยควรจะทำการออกกำลังกายแบบปานกลางถึงแบบหนักๆ ต่อเนื่องกันนาน 60 นาทีทุกวันและควรออกกำลังกายอย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อครั้งเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก เช่น การเต้น และการกระโดดเชือก
เพียงเท่านี้ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ไม่ยากอย่างที่คิดใช่มั้ยละครับเพราะคนส่วนใหญ่มักเชื่อว่าต้องออกกำลังกายอย่างหนักเท่านั้นจึงจะเป็นประโยชน์ แต่ที่จริงแล้วเพียงแค่เราหาอะไรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและรู้สึกอบอุ่นก็ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น คราวนี้คุณก็สามารถพูดคุยขณะนั่งวาดรูปเล่นได้โดยไม่ต้องหอบแล้วล่ะครับ
โดยผู้เขียนได้แสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าผู้ใหญ่ที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะดูอ่อนวัยกว่าผู้ที่นั่งนอนอยู่เสมอ ข้อสรุปนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำไปใช้ต้านความแก่ชราในคลินิกครับ
และหากคุณกำลังจะเริ่มต้นหาอะไรทำอย่างลืมเคล็ดลับ 4 ข้อนี้นะครับ
1.เตรียมร่างกายให้พร้อมเสมอ เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่าน้ำ ปั่นจักรยานบ่อย ๆ
2.สนุกกับมัน
3.ตั้งเป้าไว้แล้วทำให้ได้
4.สุดท้ายอย่าลืมสั่งสมองของเราให้ตื่นตัวอยู่เสมอครับ
จาก วิชาการดอทคอม