ทำอย่างไร บิลค่าไฟ ไม่เพิ่ม
ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันมาตื่นตัวเรื่องการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ กันอย่าง เต็มที่ ซะที
ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวในยุคค่าไฟแพง ยูนิตละกว่า 2 บาท และทำ ท่าจะมีการปรับราคาสูง กว่านี้ในอีก 4 เดือนข้างหน้า หากมีการปรับ "ค่าเอฟที" หรือต้นทุน อัตโนมัติขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณ เตือนว่า ทุกคนควรจะหันมาระมัดระวังการใช้ไฟฟ้ากัน มากขึ้น เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนนี้ กระทบกับค่าครองชีพจนเกิดความเดือดร้อน
ที่ผ่านมา ในบ้านเรายังไม่มีความตื่นตัวมากนัก ในเรื่องการหาแนวทางปฏิบัติและการใช้ ไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพคนส่วนใหญ่รู้หลักการใช้เครื่องไฟฟ้าเพียงการ "ปิด-เปิด" เท่านั้น แต่ไม่รู้ถึงวิธีการใช้ งานอย่างถูกต้องเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีอายุยืนนาน และที่สำคัญที่สุด คือ สามารถประหยัดไฟได้
กลวิธีในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้ คือ
แสงสว่าง
ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่นิยมเรียกว่าหลอดนีออนแทนหลอดไส้ เนื่องจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ แสงสว่างมากกว่าถึง 4 เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่า 8 เท่า นอกจากนั้น ควรหมั่นทำความสะอาด หลอดไฟและโคมไฟอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ได้แสงสว่างเต็มที่
วิทยุ โทรทัศน์
ปิดสวิทช์ที่เครื่องและถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่มีคนดู เนื่องจากวิทยุ โทรทัศน์ในปัจจุบันมักจะเป็นระบบมี รีโมตคอนโทรล ซึ่งระบบนี้แม้ปิดสวิทช์แล้ว ยังคงมีกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งมาเลี้ยงที่ระบบเครื่องอยู่ตลอด เวลา
ตู้เย็น
ควรเลือกซื้อที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แม้มีราคาสูงขึ้นนิดหน่อย แต่ในระยะยาวแล้วจะคุ้มกว่า เนื่องจากใช้ไฟน้อยกว่าตู้เย็นที่ได้รับฉลากเบอร์ต่ำกว่า นอกจากนี้ ตำแหน่งที่วางตู้เย็นต้องห่างจากผนัง อย่างน้อย 30 ซม. เพื่อให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้สะดวก
ตู้เย็นที่มีการใช้งานต้องตรวจสอบระบบยางขอบตู้อยู่เป็นประจำว่า ระบบแม่เหล็กนั้นยังทำงานสมบูรณ์ หรือไม่ ซึ่งการทดสอบทำได้ง่ายๆ โดยการทำความสะอาดขอบยางตู้เย็นด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้แห้ง หลัง จากนั้นนำแผ่นกระดาษมาสอดระหว่างขอบยางกับขอบตู้เย็นแล้วปิดประตู้เย็น หากกระดาษหล่น หรือ สามารถดึงกระดาษออกได้ง่ายดาย แสดงว่าขอบยางตู้เย็นเสื่อมสภาพ สมควรเปลี่ยนขอบยางใหม่
เครื่องปรับอากาศ
ให้เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 การใช้ไฟของเครื่องปรับอากาศจะไม่เท่า กันในแต่ละวัน แม้ว่าผู้ใช้ไฟฟ้าจะตั้งอุณหภูมิและเปิดใช้เท่าเดิมก็ตาม เช่น ในฤดูร้อน อุณหภูมิภายใน ห้องสูง 34 องศา เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศโดยตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศา จะเห็นว่ามีส่วนต่างของอุณหภูมิอยู่ 9 องศา ขณะที่ฤดูฝนหรือฤดูหนาวอุณหภูมิภายในห้องอยู่ที่ 27 องศา เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศโดยตั้ง อุณหภูมิที่ 25 องศา จะมีส่วนต่างของอุณหภูมิแค่ 2 องศา
ประเมินแล้ว อุณหภูมิ 1 องศาที่เปลี่ยนไป จะใช้ไฟเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% และในฤดูร้อนเครื่องปรับ อากาศจะทำงานเกือบตลอดเวลา ทำให้การใช้ไฟเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีหลายวิธี เช่น
การปลูกต้นไม้เพื่อบังแสงแดดไม่ให้กระทบตัวบ้าน โดยตรง การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาและผนังบ้าน การติดตั้งหลังคาหรือม่านบังแสง การ เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ได้รับฉลากประหยัดไฟ การหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ, หลีก เลี่ยงการตั้งอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา หรือการติดตั้งฉากกั้นชนิดชั่วคราวเพื่อจำกัดพื้นที่ที่ต้องการความ เย็น เช่น ในห้องนอน ติดตั้งฉากกั้นให้ความเย็นเฉพาะบริเวณเตียงนอนเท่านั้น วิธีการเหล่านี้ จะช่วย ลดการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศลงได้
เตาไฟฟ้า
เตาไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาก หากจำเป็นต้องซื้อใช้ ให้เลือกชนิดที่เป็นแผ่นความร้อนมองไม่ เห็นขดลวด เพราะจะสูญเสียความร้อนน้อยกว่า และเวลาใช้งานควรใช้งานอย่างต่อเนื่อง ไม่เปิดๆ ปิดๆ
เครื่องซักผ้า
ไม่ควรซักผ้าน้อยชิ้น ควรรวบรวมผ้าตามน้ำหนักคู่มือที่กำหนดไว้ หากไม่สามารถกำหนดน้ำหนักได้ อาจใช้วิธีประมาณโดยใส่ผ้าเข้าเครื่อง และให้เหลือช่องว่างภายในเครื่องขนาดเท่าฝ่ามือหนุนพลิกได้ และสังเกตว่า ระหว่างซัก หากเครื่องสั่นผิดปกติแสดงว่าน้ำหนักผ้าเกิน เครื่องจะทำงานหนัก และหากไม่ จำเป็นไม่ควรใช้ระบบซักน้ำร้อน
หม้อหุงข้าว กาต้มน้ำร้อน
หม้อหุงข้าว เมื่อข้าวสุกแล้วให้ดึงปลั๊กออก ความร้อนจะยังคงอยู่ได้หลายชั่วโมง ส่วนกาต้มน้ำร้อน เมื่อน้ำ ร้อนเดือดแล้ว ให้ถอดปลั๊กและถ่ายน้ำร้อนใส่กระติกน้ำร้อนโดยเฉพาะจะเก็บความร้อนได้ดีกว่าและ นานกว่า
เครื่องทำน้ำอุ่น
เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด เวลาใช้งาน ควรปรับระดับความร้อนให้พอดี และปิดทันทีเมื่อเลิก ใช้งาน หากสามารถติดตั้งระบบน้ำอุ่นด้วยแสงอาทิตย์จะดีมาก