สมองมีสัมผัสที่ 6 ต่อปริมาณแคลอรี
ในวารสาร Neuron ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับ การจับปริมาณแคลอรีในอาหารโดยไม่ใช้ประสาทสัมผัสปกติทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยเปลี่ยนแปลงหน่วยทางพันธุกรรม (Gene)ของหนูทดลอง
โดยเอาหน่วยรับรู้ความหวานออกไป ทำให้หนูเหล่านั้นขาดประสาทสัมผัสการรับรสหวาน (Sweet-blind) และนำหนูทดลองปกติมาเปรียบเทียบโดยให้กินน้ำเชื่อม (sucrose) และสารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี (sucralose) ปรากฎว่าหนูที่ถูกตัดต่อมรับความหวานออกสามารถตอนสนองต่อน้ำเชื่อม sucrose ที่มีแคลอรีได้ จึงคาดว่าการรับรู้ไม่น่าจะเกี่ยวกับประสาทสัมผัสทางรสชาดอย่างเดียว
ในการวิเคราะห์สมองของหนูที่นำต่อมรับความหวานออกไปแล้ว นักวิจับพบว่าระบบประสาทสัมผัสของสัตว์จะถูกกระตุ้น
ตามปริมาณแคลอรีที่ได้รับ และไม่ขึ้นกับความสามารถในการรับรู้รส แต่สมองสามารถรับรู้เกี่ยวกับระดับของสารเคมีที่เพิ่มขึ้นได้โดยเรียกส่วนนี้ว่าศูนย์กลางการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส การรับรู้เกิดขึ้นตามปริมาณแคลอรีที่ร่างกายได้รับ เซลล์ประสาท (neuron) ในการรับรู้ด้านอาหารนี้ เรียกว่า nucleus accumbens โดยจะถูกกระตุ้นจากปริมาณแคลอรี และไม่ขึ้นกับรสชาด
นอกจากนี้ยังพบว่าสมองมีการตอบรับต่อ sucrose ได้ดีกว่า sucralose ที่ปราศจากน้ำตาล โดยสมองจะตอบสนองเมื่อมีหลังทานเข้าไปประมาณ 10 นาที ใน 1 ชั่วโมงครึ่งของเวลาที่ได้รับทั้งหมด
การค้นพบความสามารถของสมองในการรับรู้แคลอรีเป็นเหมือนสัมมผัสที่ 6 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ช่วยทำให้เข้าใจสาเหตุของการอ้วนมากเกินไปได้ เช่น การใช้น้ำเชื่อมจากข้าวโพดที่มีปริมาณ fructose มาก เป็นสารให้ความหวานในน้ำตาลจะทำให้เกิดโรคอ้วน อาจจะเป็นเพราะน้ำตาล fructose นั้นให้การตอบสนองต่อสมองได้รุนแรงกว่าสารให้ความหวานชนิดอื่น ทำให้เป็นที่นิยมนำมาใช้นั่นเอง
ที่มา http://www.scienceagogo.com/news/20080226234007data_trunc_sys.shtml