เชื่อหรือไม่ว่าในอนาคตแผ่นดีวีดีที่เราใช้ดูหนังและแผ่นซีดีบันทึกข้อมูล อาจทำมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนโดยปริยาย
นักวิจัยจากสถาบันเทคนิคและไมโครโมเลกุลเคมีประเทศเยอรมนี กำลังคิดหาวิธีดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กระจายอยู่ในบรรยากาศมาผ่านกระบวนการ ให้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็นโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพลาสติก และถ้าทำได้สำเร็จ วิธีการดังกล่าวจะช่วยลดภาวะโลกร้อนไปในตัว เนื่องจากพลาสติกที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากปิโตรเลียม
ทีมวิจัยชาวเยอรมันเปิดเผยความคืบหน้าในเวทีประชุมสมาคมเคมีอเมริกันที่เมืองนิวออร์ลีนส์ สหรัฐ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า
คาร์บอนไดออกไซด์ที่นำมาทำโพลีคาร์บอเนตอาจแก้ปัญหาก๊าซมลพิษไม่ได้เบ็ดเสร็จ แต่มันพอทุเลาปัญหาไม่ให้รุนแรงขึ้นไปกว่านี้
นอกจากนี้คาร์บอนไดออกไซด์ยังมีราคาถูกกว่า และเป็นพิษน้อยกว่าวัตถุดิบที่ใช้ทำพลาสติกในปัจจุบัน พลาสติกจำพวกโพลีคาร์บอเนตเป็นพลาสติกที่ขึ้นรูปได้ง่ายและใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ทำวัสดุใส เช่น หลังคาใส แผ่นซีดี ดีวีดี แว่นตาและขวดน้ำดื่ม
นักวิทยาศาสตร์จากเยอรมันสองทีมคิดค้นกระบวนการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นสารตั้งต้นสำหรับทำโพลีคาร์บอเนต และคาดหวังว่า
ในผู้บริโภคอาจได้ชมภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีที่ทำงานคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยมีความเป็นไปได้มากว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า พลาสติกจากก๊าซพิษจะถูกนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดจริง
การผลิตพลาสติกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแนวทางหนึ่งของการกำจัดก๊าซพิษดังกล่าวก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์หลายคนพิจารณาแนวทางดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงงานอุตสาหกรรมเคมี แล้วสูบอัดลงไปในใต้พื้นดินลึก แต่ก็ยังไม่ได้ปฏิบัติจริง เพราะยังไม่มีการติดตามถึงผลกระทบข้างเคียง