โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้าคืออะไร


โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน


อาการของโรคซึมเศร้า


ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่างบางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น


1.    การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่



  • รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา

  • หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย

  • อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย

2.          การเปลี่ยนแปลงทางความคิด



  • รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย

  • รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา

  • มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง

3.          การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน



  • ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ

  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง

  • ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง

4.    การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม



  • นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป

  • บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม

  • มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง

  • ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง

 


สาเหตุของโรคซึมเศร้า


1.    พันธุ์กรรม พบว่าโรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัวและต้องมีสิ่งที่กระตุ้น เช่นความเครียด


2.    มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมองการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน (โดยเฉพาะสารสีโรโทนิน นอร์เอปิเนพริม และโดปามีน)


3.    ผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง


4.    โรคทางกายก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นโรคหัวใจ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยมาสนใจดูแลตัวเองโรคจะหายช้า


5.    มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่นวัยทอง หรือหลังคลอดก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้า


6.    ความเครียดที่เกิดจากสาเหตุต่างเช่น การสูญเสีย การเงิน การงาน ปัญหาในครอบครัวก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้า


7.    ผู้ที่เก็บกดไม่สามารถแสดงอารมณ์ออมา เช่นดีใจ เสียใจหรืออารมณ์โกรธ


8.    ผู้ที่ด้อยทักษะต้องพึ่งพาผู้อื่น


 


การรักษา


1.    การช็อคไฟฟ้า Electroconvulsive therapy (ECT) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านโทมนัส หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล


    2.การใช้ยาต้านโทมนัส ยาที่ใช้รักษามีด้วยกันหลายกลุ่ม


ผลข้างเคียงของยา


ผลข้างเคียงพบได้ไม่รุนแรงหายเองได้ แต่หากเกิดผลข้างเคียงที่รบกวนคุณภาพชีวิตให้ปรึกษาแพทย์ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ



  • ปากแห้ง แก้โดยการเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดื่มน้ำมากๆ

  • ท้องผูก แก้โดยการรับประทานผลไม้ให้มาก

  • ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะลำบาก

  • ตามัว

  • เวียนศีรษะ

  • ง่วงนอน

ลองตรวจสอบตัวท่านหรือคนใกล้เคียงว่ามีใครเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง


ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่าน


·         รู้สึกกลุ้มใจ ซึมเศร้า ทุกๆ วัน หรือทั้งวัน หรือไม่


·         รู้สึกเบื่อทุกๆ สิ่งหรือไม่


·         เบื่ออาหารหรือไม่


·         มีปัญหาในการนอนหลับหรือไม่


·         รู้สึกกระวนกระวาย (หรือซึมๆ เนือยๆ) หรือไม่


·         รู้สึกเพลีย เหนื่อยง่าย หรือไม่


·         รู้สึกผิด ไร้ค่า ไร้ความสามารถ หรือไม่


·         รู้สึกใจลอย ไม่มีสมาธิ หรือไม่


·         รู้สึกเบื่อชีวิต คิดอยากฆ่าตัวตาย หรือไม่


ถ้าท่านมีอารมณ์เศร้า เบื่อทุกๆ อย่าง นานกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการต่อไปนี้อีกอย่างน้อย 4 ข้อ ท่านอาจเป็นโรคซึมเศร้า


·         เบื่ออาหาร ผอมลง


·         นอนไม่หลับ


·         กระวนกระวาย หรือซึมๆ เนือยๆ


·         อ่อนเพลียง่าย


·         รู้สึกผิด ไร้ค่า


·         ขาดสมาธิ


·         คิดอยากตาย


โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยของจิตใจ ผู้ป่วยร้อยละ 70-80 รักษาได้ด้วยยาแก้ซึมเศร้า หากท่านหรือญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานของท่านมีอาการซึมเศร้า โปรดติดต่อแพทย์ของท่านหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช


 


 


โรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้า


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์