พระกับขอทาน
ฤดูร้อนในวันหนึ่ง ระหว่างทางไปวัดเชตวัน พระกับขอทานได้เดินทางมาพบกันและสนทนากัน
พระ : “ท่านเป็นใคร ?”
ขอทาน : “ข้าพเจ้าเป็นขอทาน”
พระ : “ท่านกำลังจะไปไหน ?”
ขอทาน : “ไปหมู่บ้านข้างหน้าโน้น”
พระ : “ท่านจะไปขอทานหรือ ?”
ขอทาน : “เปล่า ... แต่จะไปเอาเงินที่ฝังดินไว้”
พระ : “แสงแดดแผดจ้าอย่างนี้ท่านไม่ร้อนหรือ ?”
ขอทาน : “ ร้อน.... แต่ราคะร้อนแรงกว่า”
พระ : “ท่านหมายถึงอะไร ?”
ขอทาน : “ภรรยาของข้าพเจ้าบอกเมื่อเช้านี้ว่า หากข้าพเจ้าไม่สามารถเอาเงินที่ฝังซ่อนไว้มาได้เธอจะไม่ให้ข้าพเจ้าร่วมรักด้วย เพราะเหตุนี้แหละข้าพเจ้าจึงยอมทนร้อนเดินฝ่าแดดมาเอาเงินตามที่นางประสงค์ .... แล้วท่านเล่าเป็นใคร ?”
พระ : “ข้าพเจ้าเป็นนักบวช ?”
ขอทาน :“ท่านออกบวชจำเพาะใคร ? ใครเป็นศาสดาของท่าน ?”
พระ : “พระพุทธเจ้า ?”
ขอทาน : “ท่านกำลังจะไปไหน ?”
พระ : “ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ”
ขอทาน :“เพื่อประโยชน์อันใด ? ”
พระ : “เพื่อรับทรัพย์”
ขอทาน : “พระพุทธเจ้ามีทรัพย์หรือ ?”
พระ : “มี”
ขอทาน :“ให้ข้าพเจ้าบางซี่”
พระ : “ให้ได้แต่ท่านอาจจะรับไม่ได้”
ขอทาน : “เพราะเหตุใด ?”
พระ : “พราะท่านยังกลัว ?”
ขอทาน :“ท่านกับข้าพเจ้าเหมือนกัน”
พระ : “ตรงไหน ”
ขอทาน :“ตรงที่ต้องการทรัพย์”
พระ : “แต่ทรัพย์ของท่านกับของอาตมาไม่เหมือนกัน”
ขอทาน : “ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ?”
พระ : “ท่านต้องการทรัพย์เพียงเพื่อเลี้ยงชีพในชาตินี้ แต่อาตมาต้องการอริยทรัพย์”
ขอทาน :“ท่านกับข้าพเจ้ายังเหมือนกันอยู่ดี”
พระ : “ตรงไหน ”
ขอทาน :“ตรงที่กลัว”
พระ : “แต่ความกลัวของอาตมากับของท่านไม่เหมือนกัน”
ขอทาน : “ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ?”
พระ : “ท่านกลัวไฟราคะ แต่อาตมากลัวไฟนรก”
ที่มา : นิทานปรัชญาพุทธ ของ บรรจบ บรรณรุจิ
โพสต์โดย : ธรรมทิพย์ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๑