ไม่อยากเป็น มะเร็ง ต้องอ่าน
มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ และการที่เซลล์เหล่านี้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่ออื่น ๆ อาจโดยการที่เซลล์เจริญเติบโตเข้าไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ (การบุกรุก) หรือการกระจายเซลล์ไปยังที่อื่น ๆ (การแพร่กระจายของเนื้อร้าย) การเจริญเติบโตที่ไม่สามารถควบคุมได้นี้ อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอภายในเซลล์ ทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมที่ควบคุมการทำงานของเซลล์สูญเสียไป เนื้อเยื่อดังกล่าวจะถูกเรียกว่า เนื้อร้าย ส่วนคำว่า เนื้องอก นั้นหมายถึงก้อนของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเนื้อร้าย (อาจเป็นมะเร็ง) หรือเป็นเนื้องอกไม่ร้าย (ไม่เป็นมะเร็ง)
มะเร็งสามารถทำให้ถึงแก่ความตายได้ หากไม่ได้รับการบำบัดดูแล มะเร็งเป็นสาเหตุการตายสำคัญในประเทศที่พัฒนาแล้ว มะเร็งส่วนใหญ่สามารถบำบัดได้ และหลายชนิดที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะถ้าได้รับการบำบัดตั้งแต่เริ่มแรก. มะเร็งหลายชนิดเกี่ยวข้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น การสูบยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และไวรัสบางพวก ซึ่งบางอย่างในจำนวนนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้
นักวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมาเลเซียได้พบว่า ฟักทองสามารถสะกดเซลล์มะเร็งเพราะฟักทองมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้แป้งเป็นของที่ไม่อาจจะย่อยได้ จึงหมักพวกแบคทีเรียเอาไว้ และบ่อน ทำลายเซลล์มะเร็งให้อ่อนแอ[1]
นักวิจัยที่อังกฤษ ดร.กิลเลียน รีฟส์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยกลางคนในอังกฤษราว 6,000 คน เป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความอ้วน โดยงานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างน้ำหนักกับโอกาสเสี่ยงที่เป็นมะเร็งนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้หญิงด้วย และทางกองทุนวิจัยมะเร็งโลก ผู้ประกาศเตือนว่า ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง ดังต่อไปนี้ คือ มะเร็งมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งที่ไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งทรวงอก มะเร็งไขกระดูก มะเร็งที่ตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิ้น และมะเร็งรังไข่
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า อัตราการเป็นมะเร็งทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมาก มีมากในกลุ่มคนที่ทำงานตอนกลางคืน
นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ 50 ของโรคมะเร็งในคนมีความผิดปกติของระบบการตรวจสอบเซลล์เช่น p53 tumor suppressor gene โดยเฉพาะมะเร็งที่ลำใส้ใหญ่ เต้านมและปอด
ความเครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ดังนั้นคนที่มีความเครียดมากก็อาจมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้ง่าย
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี