กฎเหล็กของรถเมล์
กฎเหล็กของรถเมล์
จากไร้สาระนุกรม - อนึ่งบทความนี้ถูกแก้ไขได้โดยผู้ใช้ทั่วไป หากแป้กหรือเสื่อมประการใดทางเราไม่ขอรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
กฎเหล็กของรถเมล์
- รถเมล์เมืองไทยเริ่มต้นเมื่อปี 2450
- ผู้ที่ริเริ่มก็คือ พระยาภักดี นรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร)
- จากข้อ 1 ตอนนั้นใช้ม้าลากจูง
- จากข้อ 3 ได้เปลี่ยนมาใช้รถฟอร์ด เมื่อปี 2456
- จากข้อ 1 - 4 เส้นทางสมัยนั้นคือ ประตูน้ำสระปทุม ( ปัจจุบัน ก็แถว ๆ MBK ) ถึง บางลำพู
- จากข้อ 5 สภาพรถตอนนั้นเป็นรถ 3 ล้อ
- ต่อจากข้อ 6 ขนาดของรถเท่ากับ 1 ใน 3 ของรถสมัยนี้
- จากข้อ 7 รถแบบนั้นเขาเรียกว่า " อ้ายโปร่ง" (น่าจะเรียก ไอ้โกร่ง นะ)
- จากข้อ 8 เพราะว่าวิ่งไปมีเสียงดัง โกร่งกร่าง
- บริษัทที่เดินรถรายแรกของเอกชนคือ บริษัท ธนนครขนส่ง จำกัด
- จากข้อ 10 ก่อตั้งเมื่อ ปี 2456
- จากข้อ 11 เส้นทางที่เดินคือ ตลาดบางลำพู ถึงวงเวียนใหญ่
- ขสมก แต่ก่อนชื่อว่า " บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด "
- จากข้อ 13 ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2518
- ขากข้อ 13 - 14 ได้เปลี่ยนมาเป็น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- จากข้อ 15 ได้สถาปนาเมื่อ 1 ตุลาคม 2519
- สังเกตพื้นรถเมล์ถ้ารถร้อนจะเป็นพื้นไม้มาต่อ ๆ กัน
- ตรงกันข้ามกับรถแอร์ ที่พื้นจะปูดีกว่าเป็นแผ่นเรียบใหญ่ ๆ
- จากข้อ 17-18 มีรถเมล์สาย 7ก 68 157 ที่เป็นรถร้อนแต่พื้นเหมือนรถแอร์
- เส้นทางรถ ขสมก สมัยก่อนที่วิ่งไกลสุดคือสาย ปอ.10 หรือในปัจจุบันคือสาย 510 ระยะทางประมาณ 60 กม กว่า ๆ (รังสิต - ดอนเมือง - จตุจักร - อนุสาวรีย์ชัยฯ - ประตูน้ำ - สีลม - สะพานกรุงเทพ - บางปะกอก)
- เส้นทางรถ ขสมก ที่สั้นสุด ๆ ก็มีสาย 1 ประมาณไม่กี่ กม.
- เส้นทางรถร่วมที่ระยะทางมากที่สุดคือ 164 (สุดยอดอ้อมโลก)
- 164 อ้อมโลกสุด ๆ วงกลม ศาลายา - เพชรเกษม - วงเวียนใหญ่ - อนุสาวรีย์ชัย - สนามหลวง - สายใต้ใหม่ - ตลิ่งชัน - ศาลายา
- รถเมล์ขสมก จะมียี่ห้อ Isuzu , Daewoo , Hino , Mitsubishi
- อยากบอกสาวกระโปรงเฮี้ยนชอบโชว์ของดีนัก ก็ไปนั่งรถเมล์ Mitsubishi FUSO เช่นสาย 12 13 54 117 แล้วนั่งตำแหน่งหน้าสุด รับรองมีคนที่ยืนจากป้ายมามองหน้ารถเห็นของสำคัญสั้น ๆ จากท่านได้
- เส้นทางเดินรถที่รวดเร็ว แต่ปลอดภัยคือ สาย 8 ขับเร็ว สะใจ วัยรุ่น ผ่านหลาย โรงพยาบาล รับรองปลอดภัย
- ส่วนสาย 33 จะมีนักแข่งที่มีวิญญาณ มิชาเอล ชูมัคเกอร์ สถิตหน้ารถอยู่
- เขาลือกันว่า สาย 33 จาก สนามหลวง ไป ปทุมธานี ใช้เวลาเพียง 30 นาที ทำลายสถิติโลกแล้วคับ พี่น้อง
- เส้นทางที่เรียกว่าทัวร์คือ 506 ผ่านโบราณสถานเยอะมาก ๆ
- จากข้อ 29 เป็นรถสายเดียวของ ขสมก ที่วิ่งข้ามจังหวัด ( นนทบุรี - กทม - สมุทรปราการ )
- เส้นทางรถวงกลม ขสมก จะวิ่งสั้น ๆ เช่น 42 54
- แต่กลับกันกับรถร่วมที่ เส้นทางวงกลมจะวิ่งยาวมาก ๆ ชนิดอ้อมโลก ทัวร์รอบนอก อาทิ 64 164 177
- ลำโพงที่ติดบนรถร่วม ส่วนมากเป็น Option เครื่องตกแต่งโชว์ ว่าพัฒนาแล้ววววว
- รถร้อนที่นั่งแล้วรู้สึกเหมือนรถแอร์ก็คือ 157 ( เดิมมันคือรถแอร์ มันถอดแอร์ออก ไปซะงั้นนน )
- เช่นเดียวกับข้อ 34 มีสาย 187 188 ที่ตัวรถในอดีตคือ Microbus หรือ Airport Bus
- แต่ก็มีบางสาย เอารถร้อนมาใส่แอร์ สายไรหว่า...ลืม ..!!!
- รถเมล์สายที่เสียงดังที่สุดคือ 171 เป็นตัวรถ Nissan UD เสียงดังมาก ๆ
- รถแอร์ ขสมก ที่เป็นรถเบนซ์ ที่ใช้มาหลายปี ทรงขนาดใหญ่ ๆ มี 50 ที่นั่ง มันคือ รุ่นจัมโบ้
- จากข้อ 38 เขาเรียกกันว่า " ปอ.เบนซ์เน่า "
- จากข้อ 38 รถพวกนี้ ปลดทิ้ง เอกชนเอาไปทำ รถบางสายเอาไปทำแล้ว เน่ากว่าเก่าอีก +++
- ใคร ๆ ก็รู้กันว่า วังที่มีแต่รถเมล์ คือ " วังศกาญจนกิจ " ( ชื่อ บริษัทรถร่วม )
- สังเกตไหมสายไหนที่มีทั้งยูโร และ รถร้อนนะ เช้า ๆ มีรถยูโร สาย ๆ กลางวันก็รถร้อน เย็น ๆ ก็เอารถยูโรออกมา
- รถ ปอ. ของ ขสมก จะเป็นเกียร์ออโต้
- ขณะที่ ปอ. รถเอกชนส่วนมากจะเป็นเกียร์ธรรมดา ( ยกเว้นรถที่มาจาก ปอ.เบนซ์เน่า ที่ยังใช้เกียร์เดิม )
- รถเมล์ที่พูดได้ ก็มีอย่าง 12 พอเปิดประตูรถ " ดิ่งด่อง.... สาย 12 ห้วยขวาง อนุสาวรีย์ ราชวิถี เศรษฐการ ค่ะ "
- รถหนอน คือ รถแอร์ที่เอามาพ่วงกัน จนยาวววววววว
- สมัยที่ 511 ยังวนเข้าบางลำภู ใครเคยเห็น รถหนอน 511 เข้าบางลำภูบ้าง
- รถร่วม สมัยก่อนคำว่า " ประตูอัตโนมัติ " จริงเข้า ก็ประตูเปิดทิ้งไว้ เปิด-ปิดไม่ได้ แล้วแถมมีเชือกมัด ๆ ประตูอยู่ เพื่อเปิดไว้
- รถร่วมบางสาย ระบบประตูออกแบบดีมาก ผู้โดยสารขึ้นแค่ด้านหน้า แต่ประตู กลับเปิดได้ทั้งหน้าและหลัง
- ส่วนรถ ขสมก ยังดีหน่อย เปิดได้ตามต้องการ
- ประตูฉุกเฉิน ! จะมีกับรถแอร์เท่านั้น เพราะเกิดอะไรขึ้นมา จะออกได้อีกทาง
- ส่วนรถร้อน ไม่ต้องมีประตูฉุกเฉินมีอะไรกโดดออกหน้าต่างรถเอง
- ก็มีนะ สาย 157 ที่ว่าแหละ รถร้อน สภาพรถแอร์เก่า รถร้อนนะเพ่ มีประตูฉุกเฉิน
- เคยไหม ที่ขาไปขึ้นรถคันนี้ ขากลับเจอรถคันเดิม ทุก ๆ วัน ด้วยยย
- คุณเคยลองจำเบอร์รถ และหน้าตาคนขับ ในสายที่ขึ้นประจำหรือป่าวววว
- รถยูโร 2 สุดยอดควันไอเสียต่ำ แต่ก็ยังให้เห็นควันดำจนได้
- ขสมก ที่ใช้ NGV จะมีรถสาย 39 ยี่ห้อ Man แต่ปัจจุบันหายไป เพราะเจ๊งเน่า แถม ไม่มีช่างเซียนรถ Man
- พนักงานรถ ขสมก แต่งกายสีสดใส
- แต่พนักงาน รถร่วม สีชุดยังกะช่างเครื่อง
- ดีไม่ดี มินิบัส ยิ่งกว่าอีกครับพี่น้อง
- รถเอกชนส่วนใหญ่จะอยู่ฝั่งธน
- ส่วนคนขับรถร่วมมักจะชอบแช่นานมาก ๆ จนใบขาวไปแปะหน้าคนขับแล้วด้วยซ้ำไป
- กระบอกเก็บตัง พวกรถแอร์จะมีความยาวมากกว่า กระบอกเก็บตังของพวกรถร้อน
- ตั๋วรถเมล์รถ ขสมก จะมีเลขอยู่ 7 หลัก
- ตั๋วรถร่วมจะมีเลขอยู่ 6 หลักคับพี่น้อง
- รถร้อนส่วนมากประตูคนขับจะไม่มี
- จากข้อ 66 เว้นเสียแต่ว่า พวกรถแปลงจากรถแอร์ เป็น รถร้อน ถึงจะมีประตูคนขับ
- Daewoo เป็นรถที่ถูกย้อมแมวง่ายที่สุดดดด
- รถร่วมในฝั่งธน มักจะไม่ถูกกับรถกระป๊อ ( เจ๊เกียวเรียกว่ารถ ซูบารุ )
- เคยได้ยินนะว่าเจ๊เกียว แกมาทำรถร่วมสาย 39 ( ไม่รู้เดี่ยวนี้ใช่ป่ะ เช็คหน่อยที )
- เบรครถเมล์ ส่วนใหญ่จะใช้เบรคชนิดมีกลิ่นไหม้ ไหม้จนเคยลุกท่วมรถ ปอ มาแว้ว
- รถเมล์ส่วนมากจะเปิด 94.5 88 แต่ไม่เคยเห็นเปิดอย่าง จส100 บ้างเลย
- สายนี้แปลก ๆ นั่งเรือ นั่งรถก็ได้ สาย 175 ( ท่าน้ำนนท์ - ท่าน้ำภาษีเจริญ ) ลองคิดดูว่าเป็นจริงป่าว
- สาย 207 เส้นทางสำหรับลูกพ่อขุน ( ม.รามคำแหง )
- พขร ย่อมาจากพนักงานแข่งรถโดยสาร ( จริง ๆ แล้ว พนักงานขับรถ )
- พขร มีทั้งแบบ Drift Drag Circuit
- พขร สายclass Quartermile จะมี Skill สุดยอดทางตรง วิ่งเร็วเบรคแรง เปลี่ยนเกียร์ได้แม่นยำ พบได้ตามถนนชานเมือง
- พขร สายclass Gymkana พวกปาดซ้ายปาดขวาคล่องแคล่ว เข้าป้ายออกป้ายได้แม่นเหมือนจับวาง
- พขร สายclass Drift ไม่ค่อยเห็นนะ ถ้ามีแล้วรู้สีกว่า พระเจ้าจอร์ช !!!
- พขร สายClass Circuit พวกนี้จะถนัดทำเที่ยวได้เวลารวดเร็ว เช่นทำได้กี่รอบ ๆ
- ปอ. ย่อมาจากรถโดยสารปรับอากาศ
- จากข้อ 81 ถ้าแอร์เสีย ปอ. ย่อมาจาก รถโดยสารประจำทางอบซาวน่า
- จากข้อ 82 โดยเฉพาะ ปอ.เบนซ์เน่า ขสมก. ตัวดีเลย อากาศร้อน คือรถอบ ( ซาวน่า ) อากาศเย็น ๆ ก็รถแอร์
- รถ ปอ. ร่วมบริการ (ครีม-น้ำเงินเก่าๆ, microbus) เห็นแอร์เย็นๆแบบนั้น วันไหนฝนตก อย่าได้ขึ้นรถ ปอ. เหล่านั้นเพื่อหวังจะหลบฝน เพราะหลังคารถ มันก็ไม่ต่างจากหลังคาสังกะสีที่ใช้มุงบ้านพักคนงานก่อสร้าง (มันรั่ว)
- พวกรถ Daewoo ย้อมทั้งหลาย ( พวกรถร่วมแหละ ) บางคันหน้าต่างก็เป็นอะไรที่บีงลม ( เปิดไม่ได้ ) หน้าต่างก็หนึบ ( ดันขึ้น - ลงไม่ได้ )
- สมัยที่รถร่วมสาย 92 ตอนที่เป็นรถครีมแดง เชื่อป่าวว่า รถพวกนี้มาจากรถเมล์กองโจร สภาพยังกะสลัม เอิ๊ก ๆ
- ฝรั่งหรือใคร ๆ ก็งงนะ รถแอร์สาย 157 ( อ้อมใหญ่ - หมอชิต 2 ) กับ รถร้อน 157 ( พระราม 9 - บางแค ) ดูดิสายเหมือนกันแต่รถคนละชนิดทางคนละทางเลยครับ
- สมัยที่รถแอร์ยังไม่มีเลข 5 ขึ้นนำหน้า ใคร ๆ ก็ต่างสับสนเช่น สาย2 , ปอ.สาย2 , ปอ.2
- รถเสริม คือรถที่มาวิ่งในระยะทางสั้น โดยตัดเส้นทางวิ่งแค่บางส่วนของระยะจริง
- เสาร์ - อาทิตย์ ใครคิดว่าหลอนบ้างเห็นรถ ขสมก วิ่งแถว ๆ เขาใหญ่ เพชรบุรี อยุธยา อื่น ๆ หละ
- รถเมล์ที่ขึ้นชื่อว่ารุ่นคุณปู่ต้อง ปอ.44 ตัวถังรถสมัยพ่อยังหนุ่ม ๆ เลย
- จากข้อ 91 ส่วนมากจะเอารถ บขส. มาทำหรือป่าว เพราะเคยเห็นรถพวก บขส สภาพเหมือน ปอ.44
- นายตรวจมักจะเป็นคนชอบไว้เล็บยาวอยู่เสมอ สังเกตไหม !!!
- รถจะมาช้าไม่ช้า ขึ้นกับนายท่าว่าจะปล่อยยังไงครับ
- เพดานของรถเมล์ ถ้ารถร้อน จะไม่มีอะไรหรอก แค่ตัวถังเหล็กๆ
- จากข้อ 95 แต่ถ้าเป็นรถ ปอ. จะเป็นลวดลายพื้นปูเพดานบ้าง ( รถยูโร สวยดี )
- รถร้อนจะมีช่องระบายอากาศบนหลังคา 3 ช่อง
- แอร์รถเมล์มี 2 แบบ
- แบบแรกก็ติดบนหลังคารถ เช่น รถพวก ปอ.ทั้งหลาย
- แบบที่สองก็พวกวางไว้ท้ายรถ เช่น รถของวัง ( วังศะ... ) Mitsubishi หรือ Nissan นั่นแหละ
- รถยูโร 2 ของขสมก นั่งแล้วสบายมากรู้สึกว่านิ่ม
- จากข้อ 101 เพราะว่ามันใช้ช่วงล่างแบบถุงลม ( ไม่ได้ใช้แหนบ )
- ถ้าเรากดกริ่งช้าคนขับจะแถมให้เราอีก 1 ป้ายเพื่อเป็นการสมนาคุณพิเศษ
- เมื่อเราลงมาเสร็จรถจะพ่นควันดำใส่เพื่อเป็นโปรโมชั่ นพิเศษที่ใช้บริการคันนั้น
- จากข้อ 104 ถ้าเป็นรถร้อนไม่เท่าไร
- จากข้อ 104 ถ้าเป็นรถแอร์ ก็คงจะได้กำไร ถ้าป้ายที่เราได้แถมนั้นมันอีกราคานึงจากป้ายที่เราล ง ( สมมติว่าลงป้ายนี้ 14 บาท แต่อีกป้ายก็คือข้างหน้าแหละ 16 บาทแต่เราดันโดนลงป้าย 16 บาท ทั้ง ๆ ที่ตีตั๋ว 14 บาทเพราะ พขร แถมให้ ก็กำไรเนอะ )
- ลงไปแล้วดีไม่ดี มันพ่นควันดำใส่เป็นแถมอำลาให้อีก
- น้อยนักที่คุณจะได้ตั๋วรถเมล์ เลข 000001 หรือ 9999999
- อาวุธประจำกายของ พกส ( พนักงานเก็บค่าโดยสาร ) คือกระบอกเก็บตัง ( หรือ กระเป๋ารถเมล์ )
- จากข้อ 108 สู้ พขร.ไม่ได้อยู่ดีครับ อาวุธประจำกาย
- จากข้อ 109 เพราะ พขร เอาคันเกียร์ที่ถอดออกมา แล้วถือราวกับไม้เหล็กฟาดได้ ( เคยมีแล้ว ข่าวดัง คนขับสายไรไม่ทราบ งัดคันเกียร์ออกมาฟาดอริกัน )
- ศัพท์ ขสมก คำว่า " รถ อบ. " แปลว่า รถเกิดอุบัติเหตุ
- ศัพท์ ขสมก คำว่า " ใบขาว " แปลว่า ใบสั่งจากตำรวจจราจร
- สังเกตไหมครับ ถ้ารถเสีย จะต้องเอาอะไรสักอย่างมาวางพาดไว้ที่ท้ายรถ หรือ เอาใบไม้อุดท่อ
- สไตล์ขับรถแบบ " ทำยอด " คือ ขับแบบจอดแช่ รับคนเยอะ ๆ ทำยังไงก็ได้ให้วันนึงได้เงินมาก ๆ
- อีกสไตล์คือ " ทำรอบ " คือ ขับแบบวันนึงได้รอบมากที่สุด ไม่เน้นยอดใบเท่าไรนัก
- รถเมล์ขสมก เคยมีการเอาตู้เก็บเงินมาให้บริการ
- จากข้อ 117 มันก็หายไปเพราะมันไม่ WORK MOREEEE !!!!
- จากข้อ 117 - 118 เคยมีมาแล้วเช่นสาย 47 ( รถแอร์ ทรงแบบ Microbus )
- ขสมก เคยมีรถแอร์สภาพตัวถังแบบ Microbus เช่นสาย 42 47 แต่เดี่ยวนี้มันหายไปแว้ว
- เคยมีวิทยุบนรถเมล์โดยเฉพาะ ใช้ความถี่แฝงในคลื่น FM แต่ตอนหลังเลิกไป
- รถสาย 39 เคยเสียบ่อยๆ ให้ผู้โดยสายเข็น
- 99%ของรถเมล์ทุกสายจะเปิด FM ONE อยุ่เสมอ
- จากข้อ123 เพราะจะมีโหวดคนขับและพนักงานกริยามารยามดีด้วยละ อยากโหวตเหมือนกันตอนขึ้น ตอนลงไม่โหวตละ เพราะเค้าตะคอกคนแก่
- มีคนเก็บตั๋วรถเมลล์เป็นของสะสม
- คนกรุงเทพ 60% ขึ้นรถเมลล์ยังไม่ครบทุกสาย
- จากข้อ 126 เพราะจำไม่ได้ว่ามีสายอะไรบ้าง
- จากข้อ 127 ถ้าใครรู้ช่วยบอกในข้อ 129 ให้ด้วย