เนื้อหากับบทสวด

ความจริงสิ่งที่เอามาสวดนั้น เป็นเรื่งกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ เป็นเรื่องที่ควรจะรู้จะเข้าใจ หากแต่ว่าพระท่านสวดเป็นภาษาบาลี เราไม่ได้เรียนภาษาบาลีก็ไม่เข้าใจ ไม่รู้ความหมายก็ฟังไปตามเรื่อง เขาเรียกว่าฟังเอา "บุญ" แต่ว่าไม่เกิด "กุศล" ขึ้นในใจ เพราะไม่เข้าในในเรื่องนั้นได้ถูกต้องก็เลยไม่ได้ "ปัญญา" แต่ถ้า
แปลให้เข้าใจ หรืออธิบายด้วยการพูดให้ฟัง เราก็จะรู้ว่า
สิ่งที่พระท่านนำมาสวดนั้นล้วนแต่เป็นบทเรียนเป็นเครื่องสอนใจ เป็นหลักปัญญาที่จะทำให้เราเข้าใจ
ชีวิตได้ถูกต้อง

    
กฏของธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น ที่เราสวดอยู่เป็นประจำเป็น
บทสวดแปล เช่นสวดเรื่อง
ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา

    
เราสวดแยกออกไปในร่างกายของเรา สวดแยกออกไปว่า "รูปัง อนิจจัง-
รูปไม่เที่ยง... เวทนา อนิจจา-เวทนาไม่เที่ยง... สัญญาอนิจจา-สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อนิจจา-สังขารไม่เที่ยง... วิญญาณัง อนิจจัง-วิญญานไม่เที่ยง"
แล้ว
ก็สวดว่า
"รูปัง อนัตตา-รูปไม่ใช่ตัวตน...เวทนาไม่ใช่ตัวตน...สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารก็ไม่ใช่ตัวตน...วิญญานก็ไม่ใช่ตัวตน"

     
สอนให้เราเข้าใจในความจริงทั้งหลายว่ามันไม่เที่ยง มันมีทุกข์อยู่ตามสภาพ แล้วก็ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นเนื้อแท้ไม่ใช่ตัวตนถาวร



     
บทความจากหนังสือ พุทโธโลยี่ เรื่อง รู้ทัน รู้เท่า ไม่เศร้า ไม่ทุกข์
โดยปัญญานันทภิกขุ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์