ใยเธอทำร้ายตนเอง ??
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่ต้องอยู่ร่วมกัน เริ่มจากสังคมที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว
สังคมในชุมชนหมู่บ้าน สังคมในหมู่ญาติ สังคมในที่ทำงาน เป็นต้น
เป็นธรรมดานั่นเอง ที่แต่ละคนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ทั้งทาง กาย วาจา ซึ่งแน่นอนว่าการแสดงออกทาง กาย วาจา นั่น …ย่อมเกิดขึ้นด้วยใจ (เจตนา) เป็นที่ตั้ง
ถ้าใจที่ประกอบไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เป็นที่ตั้งนั้น ..เมื่อกระทบกับสิ่งอันไม่เป็นที่ชอบที่พอใจ
ถ้าไม่รู้เท่าทัน แล้วไม่ระงับเสีย ย่อมแสดงออกทาง กาย วาจา เป็นกายกรรม วจีกรรม
เขาย่อมสร้างความทุกข์ ทำร้ายต่อตัวเขาเองก่อน ที่จะทำร้ายผู้อื่นภายหลัง
: อัตตานัง อุปหัตวาน ปัจฉา อัญญัง วิหึสะติ
ผลก็คือ การกระทบกระทั่ง ผู้ที่อยู่ใกล้ เมื่อได้รับสิ่งกระทบ …ผัสสะนั้นเล่า
ถ้าไม่เข้าใจในโลกธรรม ไม่มีจิตที่เมตตา กรุณาต่อผู้อื่น
ย่อมไม่ให้อภัย ย่อมเกิดปฏิฆะ ความขัดข้องเคืองใจ ถ้าไม่ดับหรือละเสียตรงนั้น ..
นำปฏิฆะนั้นมาย้ำคิด ย้ำทิ่มแทงตนเอง สะสมความขัดเคืองมากเข้าก็ย่อมเกิด ก่อเป็น โทสะ ความโกรธ
เมื่อความโกรธสะสมด้วยการย้ำคิด นำมาทบทวนปรุงแต่ง ทิ่มแทงในใจของตนอีก ย่อมก่อให้เกิดความพยาบาท ..และอาฆาตมาดร้ายในที่สุด….
ย่อมไม่ต้องกล่าวอีกต่อไปเลยว่า จะก่อผลร้ายแรงทางกายกรรม วจีกรรม ไม่มีสิ้นสุด
จึงเห็นว่า “ผู้อื่นนั้น เขาทำร้ายเราเพียงครั้งเดียว แต่เราซิ ทิ่มแทงทำร้ายตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า” …. ใครหนอช่างน่าสงสาร ?
ทำเช่นไรหนา ? จิตของเราจึงจะสามารถรู้เท่าทันอกุศลที่เกิดขึ้นในจิต แล้วระงับได้ทัน
ที่สำคัญคือ ต้องมีกำลัง(อินทรีย์)เพียงพอที่จะ หักห้ามได้ ละได้ อย่างไม่ต้องย้อนมาก่ออกุศลจิตนั้นอีก…
ก็ด้วยการทำจิตภาวนา หรือ สมถะกรรมฐานนั้นเอง เพื่อให้จิตของเรามีความสงบนิ่ง มีกายระงับ มีสติ มีสัมปชัญญะ
โดยธรรมชาติแล้ว สิ่งทั้งหลาย เป็นอนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
โดยธรรมชาติแล้ว สิ่งทั้งหลาย เป็นทุกขัง เกิดแล้วล้วนทนอยู่มิได้นาน เกิดขึ้นแล้ว แก่เจ็บตายไป
โดยธรรมชาติแล้ว สิ่งทั้งหลาย เป็นอนิจจัง มิใช่ของเรา มิใช่ว่าตัว ว่าตนของเราเลย
เมื่อเห็นจริงตามธรรมชาติคือ ไตรลักษณ์นี้ ปัญญาย่อมเกิดด้วยไม่ว่าสัตว์ หรือมนุษย์ล้วนเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ยังคงวนเวียนในวัฏฏะสังสาร ตราบที่เหล่าสัพสัตว์และตัวเรานั้น ยังขจัดอวิชชาไม่สิ้น ก็ย่อมเวียนเดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์อยู่นั้นเอง จะเห็นว่า ช่างน่าสงสารยิ่งนัก
ราโค โทโส มะโท โมโห ยัตถะ ปัญญา นะ คาธะติ :
ราคะ โทสะ ความมัวเมาและโมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั่น
ที่มา : นางสีดา