ทิฏฐิธรรม
ทิฏฐิธรรมทั้งหลาย ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่บุคคลนั้น กำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่งกระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่และบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตนและอาศัยสันติที่กำเริบที่อาศัยกันเกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.
ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง.
ทิฏฐิ ที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.
บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลายใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ.
เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่าความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.
หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ(ปัญญา)ไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย มรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น ในอารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้.
บุคคลใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้ว ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่น(วิปัสสนา)ด้วยดี มีตนตั้งอยู่แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะล่วงสงสารได้แล้ว อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์.
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตามความแสวงหาย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือย่อมละ เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.
ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิดๆถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ.
บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้พึงกำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติเปิดเผยด้วยกิเลสอะไรเล่า.
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียวสัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่ไหนๆ ในโลก.
ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง.
ทิฏฐิ ที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.
บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลายใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ.
เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่าความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.
หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ(ปัญญา)ไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย มรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น ในอารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้.
บุคคลใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้ว ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่น(วิปัสสนา)ด้วยดี มีตนตั้งอยู่แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะล่วงสงสารได้แล้ว อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์.
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตามความแสวงหาย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือย่อมละ เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.
ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิดๆถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ.
บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้พึงกำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติเปิดเผยด้วยกิเลสอะไรเล่า.
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียวสัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่ไหนๆ ในโลก.
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!