~คิดในอันไม่เบียดเบียน~
"การไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก การไม่เบียดเบียนกันเป็นบรม
ธรรมชีวิตทั้งมวล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน"...
ความพยาบาทปองร้ายดังกล่าวมา เกิดจากการเบียดเบียนกัน เมื่อ
มีการเบียดเบียนกันในทางกาย เช่น...ทำร้ายร่างกายกันบ้าง ล้าง
ผลาญชีวิตกันบ้าง เบียดเบียนกันในทางทรัพย์ เช่น...ลักโกง การเบียด
บัง เอารัดเอาเปรียบกันในทางทรัพย์ หรือการหักหลังกันในเมื่อทำสัญญา
ค้าขายกัน เบียดเบียนกันในทางกาม เช่น...ประพฤติล่วงเกินลูกเขา เมีย
เขาบ้าง การเบียดเบียนทั้งสามอย่างนี้ ทำกันด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง
อันเป็นผลเนื่องมาจาก..'ใจ'...คิดในทางเบียดเบียนก่อน ก่อให้เกิดผล
ทางกาย ทางวาจา...
เมื่อใครถูกเบียดเบียนก็มักมีความโกรธเกลียด และผูกพยาบาทไว้ในใจ
ฉะนั้น เมื่อทรงสอนให้งดเว้นจากคิดพยาบาท อันเป็นการหักห้ามใจส่วน
หนึ่งแล้ว ตรัสสอนต่อไปให้หักห้ามใจมิให้คิดในทางที่จะเบียดเบียนแก่
ใครๆด้วย เพราะการเบียดเบียน เป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียนตอบ ชาว
โลกต้องเดือดร้อนเพราะมีการเบียดเบียนกันนี่เอง ถ้าเว้นจากการเบียด
เบียนได้ ความสุขก็เกิดขึ้น
ลองหันมาพิจารณาถึงใจของแต่ละบุคคลดูเถิด ว่าใจนั้นต้องการอะไร
กัน ทุกคนต้องการความสุขความเจริญ ไม่มีใครต้องการความทุกข์เดือด
ร้อน ทุกคนกลัวต่อความทุกข์ ความทุกข์เป็นภัยใหญ่ต่อสัตว์โลกและ
ความทุกข์มักเกิดจากการเบียดเบียนกันเป็นส่วนใหญ่ การลักขโมย การ
ฆ่า การทำร้ายร่างกายกัน การฉุดคร่าผู้หญิง เพื่อบำบัดความอยากเกิด
ขึ้นชุกชุมมาก จากบุคคลที่ขาดการบังคับใจตนเอง เป็นการทำลายผล
ประโยชน์ของตนของท่าน ไม่เป็นทางเจริญแก่ส่วนตนและส่วนรวมแม้
แต่น้อย ผู้หวังความสุขแก่ตนแก่ท่าน จึงควรงดเว้นโดยส่วนเดียว
การที่จักงดเว้นไม่คิดในทางเบียดเบียนกันนั้น มีวิธีคิดหลายประการ
เช่น...ทำตนให้เป็นคนเห็นอกเขาอกเรา จะทำอะไรก็คิดถามตนเองก่อน
เสมอว่า การกระทำเช่นนั้น ถ้ามีใครมาทำกับตนบ้าง จักรู้สึกอย่างไร
คิดได้อย่างนี้ก็บังคับตนเองไว้ได้ คิดว่าทุกคนเป็นญาติกันโดยชาติ โดย
ภาษา โดยศาสนา และโดยการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ร่วมกัน ทุกคนเป็น
พี่น้องกันทั้งนั้น ควรเพาะความรัก ความเมตตาต่อกัน ดีกว่าจะคิดฆ่า
แกงกัน
คิดว่าชีวิตเป็นของน้อย ทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องแตกดับไป เกิดมาก็
มิได้เอาอะไรมา ตายไปก็มิได้นำอะไรไป เราจักฆ่าแกงกันทำไม เพราะ
ถึงไม่ฆ่าเขาก็คงต้องตายอยู่เป็นปกติแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไป
ฆ่าฟันเขาดอก การนึกคิดอย่างนี้พอจะเป็นอุบายให้เกิดความรักความ
เมตตาต่อกันได้บ้าง ชาวพุทธจึงควรนึกไว้เสมอ
อีกประการหนึ่ง...โดยหลักของกรรมแล้ว เราทำอะไรแก่ใคร เราก็ต้อง
รับผลของกรรมนั้นด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า..."ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึง
ตัว"...
~หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์