สติ กับ สมาธิ : อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ

สติ กับ สมาธิ : อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ



การศึกษาพระอภิธรรม
และฝึกสติอยู่กับปัจจุบันโดยไม่ได้ทำสมาธิ แค่นี้เพียงพอหรือไม่?....
สติกับสมาธิต่างกันอย่างไร?

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ


การศึกษาพระอภิธรรมเป็นการศึกษาเนื้อหาสำคัญของพระพุทธศาสนา
ซึ่งท่านย่อเป็น ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน

ส่วนการฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน โดยไม่ได้ทำสมาธิ
โดยหลักการก็เป็นการบำเพ็ญสมาธิอยู่ในตัว

กล่าวคือ

ความพยายามชอบ การตั้งสติชอบ การตั้งใจมั่นชอบ
อริยมรรค ๓ ข้อนี้ ท่านจัดอยู่ในประเภทสมาธิ
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุมัติในหลักการ
ตามความใน
จุลลเวทัลลสูตร (๑๒/๕๑๘/๕๑๙) อยู่แล้ว

นอกจากนั้นเวลาย่อ อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เหลือเพียง ๒ ข้อ
ก็ทรงย่อให้เหลือเพียง สมถะ (การทำใจให้สงบ)
กับ วิปัสสนา (การทำปัญญาให้แจ่มแจ้ง)
คือย่อเป็น สมาธิ กับ ปัญญา
อันจะเห็นได้ว่า ศีลแฝงอยู่ในสมาธิและปัญญานั่นเอง

หรือเวลาย่อเป็น ๑ ทรงย่อเป็น มัชฌิมาปฏิปทา
(ทางสายกลาง ซึ่งคลุมทั้งหมด คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
การมีสติอยู่กับปัจจุบันเป็นทั้งสมาธิในกรณีที่ใจตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน
เป็นทั้งปัญญาในกรณีที่กำหนดรู้ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้
และมิใช่ตัวตนของอารมณ์ปัจจุบันต่างๆ ที่ผ่านมา และผ่านไป

“สติ” กับ “สมาธิ” ต่างกันตรงที่

“สติ”หน้าที่ระลึก
“สมาธิ” ทำหน้าที่ตั้งมั่น


ดังจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงอธิบาย

สัมมาสติ ความระลึกชอบ ว่า การระลึกในสติปัฏฐาน ๔
แต่เวลาอธิบาย สัมมาสมาธิ ทรงอธิบายว่า ได้แก่ ฌาน๔
ซึ่งหมายถึงการที่จิตตั้งมั่นแน่วแน่ระดับฌานแล้ว

แม้จะอธิบายแยกได้ดังนี้
แต่เวลารวมกลุ่มทั้งสติและสมาธิ
รวมอยู่ในกลุ่มสมาธิด้วยกัน

สติ กับ สมาธิ : อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ


ขอบคุณธรรมจักรดอทเนต

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์