สิกขาบททั้งหลาย รักษาเพียงอย่างเดียว คือ 'รักษาจิต'...
...อุกกัณฐิตภิกษุ เมื่อเป็นฆราวาสต้องการบุญอย่างใหญ่ที่สุด
ได้ไปถามพระสงฆ์ พระสงฆ์บอกว่า การบวช เป็นบุญใหญ่ที่สุด
ท่านจึงบวช เมื่อบวชแล้วได้ฟังพระอุปัชฌาย์สอนว่า...นั้นควรทำ
นี้ไม่ควรทำ เห็นว่าพระธรรมวินัยมีมาก รู้สึกอึดอัด เหมือนไม่มีที่
แม้แต่จะเหยียดมือเหยียดเท้า มีความกระสันจะสึก คิดว่าเป็นคฤหัสถ์
น่าจะทำความดีได้ดีกว่า เมื่อพระพุทธองค์ทราบเรื่อง ท่านได้เรียก
มาถาม และแนะนำว่า...."ให้รักษาแต่จิตอย่างเดียว" ดังนี้....
อุกกัณฐิตภิกษุ : ...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ใคร่จะพ้น
จากทุกข์จึงได้บวช พระอาจารย์ของข้าพระองค์นั้น กล่าวอภิธรรมกถา
พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า
ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย เราเป็น
คฤหัสถ์ ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้ เราจักเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ พระเจ้าข้า...
พระศาสดา : ...ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่า
นั้น กิจคือ การรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี...
อุกกัณฐิตภิกษุ : ...อะไร พระเจ้าข้า ?...
พระศาสดา : ...เธอจักรักษาเฉพาะ 'จิต' ของเธอ ได้ไหม ? ...
อุกกัณฐิตภิกษุ : ...อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า...
พระศาสดาประทานโอวาทนี้ว่า..."ถ้ากระนั้น เธอจงรักษาเฉพาะจิต
ของตนไว้ เธออาจพ้นจากทุกข์ได้"...ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้...
สุทุทฺทสํ สุนิปถณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ...
แปลว่า...."ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุข
มาให้"...ฯ
~อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ ๒๕/๑๓
ในพระไตรปิฎก~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์...ฯ