คำว่าสัญชาตญาณ
ในภาษาไทย คำว่า สัญชาติญาณ และสัญชาตญาณ ซึ่งมีความหมาย
ในภาษาไทยที่ว่า สัญชาติญาณ คือ ความบันดาลใจ และสัญชาตญาณ
คือ ความรู้ที่เกิดเอง ไม่ต้องมีใครสอน เช่น ความรักตัวกลัวตาย รู้จักแสวง
หาอาหาร เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดก็คือธรรมะฝ่ายนามธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก
และคำว่า สัญชาติญาณ อาจจะหมายถึง ฉันทะ อัธยาศัย การสะสมก็ได้
แต่ยังไม่พบคำทั้งสองในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
บุญคือสภาพจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นการชำระสันดานของตนคือจิตนั่นเอง
ซึ่งจุดประสงค์ของการบอกบุญหรือการนำบุญมาฝาก ก็เพื่อให้ผู้อื่นที่ได้รับรู้เกิดจิต
อนุโมทนายินดีในกุศลของผู้ที่ได้บอกล่าวในบุญที่ได้ทำไว้ ดังนั้นจึงมุ่งเพื่อให้ผู้อื่น
เกิดกุศลจิตอนุโมทนาบุญนั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าจะใช้คำอะไร คำว่าบอกบุญหรือนำบุญมาฝาก แต่จิตขณะนั้นมีจุดประสงค์เดียวกันคือให้ผู้อื่นเกิดกุศลจิตด้วย ก็หมือนกันทั้ง สองอย่าง
แต่ควรเข้าใจว่า บุญไม่สามารถมาฝากไ ด้ แต่ขึ้นอยู่กับกุศลจิตของ
บุคคลนั้นจะเกิดหรือไม่เมื่อได้ยินเรื่องราวของกุศลที่ผู้อื่นได้ทำมา
การเจริญสมถภาวนาเป็นเรื่องของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็เจริญไมได้ ดังนั้นหาก
เจริญผิด ก็ไม่ใช่บุญเป็นบาป สมถภาวนาไม่ใช่ว่าจดจ้องอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งและใจไม่
วอกแวก ไม่คิดเรื่องอื่นจะเป็นสมถภาวนา ผู้ที่จะเจริญสมถภาวนาคือผู้ที่เห็นโทษ
ของออกุศลในชีวิตประจำวัน จึงระลึกถึงอารมณ์ที่ทำให้กุศลเกิดบ่อยๆจึงจะเป็น
สมถภาวนา และถ้ายังไม่รู้ว่าขณะนี้ กำลังอ่านอยู่อย่างนี้ จิตเป็นกุศลหรืออกุศล และ
ขณะไหนเป็นกุศลหรืออกุศล ก็เจริญสมถภาวนาไม่ได้เลย เป็นเรื่องของปัญญา
จริงๆ ซึ่งคงไม่ต้องไปถึงระดับฌานว่าต้องเป็นกุศล หากมีความเห็นถูก มีความเข้าใจ
ถูกในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้ขณะที่ฟัง อ่านขณะนี้ก็เป็นบุญแล้วครับเพราะบุญคือสภาพจิต
ที่ดีงามปราศจากกิเลสนั่นเอง