ทิ้งไปใช่ไหม นั่นเรียกว่าวางทิ้ง ทิ้งขว้าง
ลักษณะของวิปัสสนาไม่ใช่วางทิ้ง
ไม่สนใจ ไม่เอา ไปเอาเรื่องอื่น
แต่วิปัสสนาเป็นเรื่องของการเรียนรู้
ถ้าเราไม่รู้ไม่ดู จะเกิดปัญญาได้อย่างไร
รู้อย่างไร ความรู้ที่ถูกต้องคือ
เป็นความรู้ที่ปล่อยวาง
ความรู้ที่รอดจากความยินดียินร้าย
ความรู้ที่ไม่มีความยินดียินร้าย
ไม่มีความทะยานอยาก
ปกติเมื่อเรารู้อะไร เราจะมีตัณหาเป็นแรงยุใช่ไหม
รู้แบบยึดมั่น อยากมากก็ยึดมั่นมาก
ก็หนักอกหนักใจ ไม่สงบบไม่เบา
เพราะมีตัณหาเข้าไปด้วย
เราปฏิบัติมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่นิพพาน
อันเป็นโลกกุตรธรรม
ซึ่งมีสภาพที่หลุดพ้น
สิ้นอาลัยในตัณหา สำรอกกิเลส
แต่เราก็มักเจริญตัณหา
จะเอาให้ได้ จะทำให้ได้ มันจึงสวนทาง
ดังนั้นเพียงแต่เราฝึกสติอย่างปล่อยวางให้เป็น
จะพบใจที่เบิกบานใสเย็นขึ้น
การระลึกอย่างปล่อยวางไม่ว่าอะไร
ปล่อยวางคืออะไร
สิ่งนั้นยังจะเป็นไปอย่างไรก็จะยังไม่ว่าอะไร
ยังจะต่อๆ ไปก็ไม่ว่าอะไร
โดยดูอยู่เฉยเช่น
ยังจะฟุ้งอยู่ก็ไม่ว่าอะไร
ก็ดูไปเฉยๆ จะเป็นไปอย่างไรก็เป็นไป
ผู้รู้ไม่ว่าอะไร
นั่นเป็นข้อสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติเข้าสู่ความเป็นกลาง
เกิดความพอดี
เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้เกิดความเป็นกลางเป็นปัญญาขึ้น
ปัญญาที่จะก้าวสู่โลกุตรสัมมาทิฏฐิ จะเห็นความจริง
คือเห็นสภาวะของความเปลี่ยนแปลง เกิดดับ
จะเห็นสภาวะของร่างกายจิตใจ ว่าเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ
ความรู้สึกเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึงก็มีความเปลี่ยนแปลง
ส่วนสภาวะทางจิตใจ เช่นความคิด ความรู้สึก ความปรุงแต่งใดใดก็ตาม
มีความเปลี่ยนแปลงเกิดดับหมดไป สิ้นไป
ตลอดจน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
คือ การเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การรู้รส
มีการเปลี่ยนแปลง หมดไปสิ้นไป บังคับบัญชาอะไรไม่ได้
นี่เป็นปัญญาที่เกิดจากการพัฒนา
จากการที่เราพนยามยามฝึกจิตใจ ให้มีสติอยู่เสมอ และเจริญสติ
ด้วยความที่เรามีสุตะ ฟังให้เข้าใจมีโยนิโสมนสิการ
มีจินตามยปัญญาปัญญาคิดพิจารณาถูกต้อง
จะเป็นเหตุให้เราพัฒนาปัญญา
ทั้งปัญญาในระดับโลกียปัญญา
ตือที่รู้เรื่องกฏแห่งกรรม รู้เห็นสภาวะรูปนาม เป็นไตรลักษณ์
จนกระทั่ง ปัญญาที่เจริญขึ้น
เข้าถึงขั้นโลกุตตระก็จะละกิเลสได้
ถ้าเราได้สะสมเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง