ปัญญาประเสริญกว่าทรัพย์

ปัญญาประเสริญกว่าทรัพย์




พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
 เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 45
ข้อความบางตอนจาก รัฐปาลสูตร


บุคคลย่อมไม่ได้อายุยืนด้วยทรัพย์
และย่อมไม่กำจัดชราได้ด้วยทรัพย์

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนี้ ว่าน้อยนัก ว่าไม่เที่ยง
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน ย่อมกระทบผัสสะ
ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็กระทบผัสสะเหมือนกัน
แต่คนพาล ย่อมนอนหวาดอยู่ เพราะความที่ตนเป็นพาล

ส่วนนักปราชญ์ อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาจึงประเสริฐกว่าทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา
เล่ม ๒ ภาค๓ตอน๓-หน้าที่ 286
บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้


ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา
ชื่อว่า ผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้

คือถึงทรัพย์จะหมดสิ้นไป แต่ก็ยังมีปัญญา

สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
เลี้ยงชีวิตด้วยการงานที่ปราศจากโทษอย่างเดียวนี้
ชื่อว่า ชีวิตของบุคคลผู้มีปัญญา.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวความเป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า
เป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด.

ส่วนบุคคลผู้มีปัญญาทราม ถึงจะมีทรัพย์
ก็ทำทรัพย์ที่เป็นทิฏฐธรรมและสัมปรายิกธรรมให้ล้มเหลวไป
เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา

คือจะชื่อว่าเป็นอยู่ด้วยความเป็นไปแห่งถ้อยคำมีคำครหาเป็นต้น หามิได้
แต่กลับทำทรัพย์ที่ได้แล้วให้พินาศไป
แม้ชีวิตก็ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้
เพราะค่าที่ตนไร้อุบาย




พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓
๗. ธนสูตร ว่าด้วยทรัพย์ ๕ ประการ


[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑
ทรัพย์ คือ ศีล ๑
ทรัพย์ คือ สุตะ ๑
ทรัพย์ คือ จาคะ ๑
ทรัพย์ คือ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ ศรัทธาเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
ย่อมเชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือ ศรัทธา.
ก็ทรัพย์ คือ ศีลเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศีล.
ก็ทรัพย์ คือ สุตะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ฯลฯ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ
นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ สุตะ.
ก็ทรัพย์ คือ จาคะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ
ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน
นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ จาคะ.
ก็ทรัพย์ คือ ปัญญาเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย
ปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล.
ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน
ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา

เมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ
และความเห็นธรรม เนือง ๆ เถิด.




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 212
๑๐. มณิจูฬกสูตร
ฯลฯ

.. ดูก่อนนายคามณี

ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น
เบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น
ดูก่อนนายคามณีท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า
ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร




ขอบคุณลานธรรมจักร

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์