ศรัทธาหายนะ เมื่อสาวกนำความเสื่อมมาสู่ศาสดา

ศรัทธาหายนะ เมื่อสาวกนำความเสื่อมมาสู่ศาสดา



ความศรัทธาที่มากเกินพอดี จนไม่บันยะบันยัง และขาดการหยุดคิดตั้งสติพิจารณา จนนำไปสู่ความหลงงมงายนั้น คือ "ศรัทธาหายนะ" ที่นำความวิบัติมาสู่ตนเองและผู้ที่ตนศรัทธา

อุปมาเหมือน "ห่วงโซ่" ที่ร้อยเกาะพันกันเหนียวแน่น ถ่วงบุรุษผู้ลอยคอกลางทะเลฉะนั้น เมื่อมีผู้เอาตัวเองรอดได้ ว่ายน้ำเองได้ กำลังจะว่ายเข้าถึงฝั่งแล้ว ศรัทธาหายนะ เหล่านี้ จะแปลงสภาพเป็นห่วงโซ่เข้าสวมคอเหล่าผู้มีกำลังเหล่านั้นทันที แล้วลากท่านเหล่านี้ลงสู่ที่ต่ำเสีย ไม่อาจว่ายน้ำถึงข้ามห้วงมหรรณพไปสู่ฝั่งยังที่ปลอดภัยได้

พระโสดาบันเปรียบดังผู้รู้ตัวว่าตนได้จมอยู่กลางทะเล ส่วนพระสกทาคามีเหมือนผู้กำลังพยายามฉุดตัวเองออกมาจากห้วงน้ำ และเรียนรู้การลอยตัวอยู่เหนือน้ำ จมบ้าง โผล่มาหายใจได้บ้าง ส่วนพระอนาคามีเหมือนผู้ที่ลอยตัวอยู่เหนือน้ำจนคล่องแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ที่ใด ยังมองไม่เห็น ยังไม่รู้ถึงจุดหมายปลายทางในท้ายที่สุด ส่วนพระอรหันต์นั้น เปรียบเหมือนผู้ที่เห็นฝั่งแล้วและกำลังลอยตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้นโดยตลอดเมื่อพระอรหันต์ตายลง ก็จะถึงฝั่งโดยปลอดภัยพอดี แต่หากยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องอาศัย "ธรรมวินัย" เป็นเหมือนเข็มทิศประคองตนไม่ให้หลงออกนอกทาง แม้ว่ารู้แจ้งแล้วว่าฝั่งอยู่ที่ใด และว่ายน้ำเข้าหาฝั่งเป็นแล้วก็ตาม แต่หากยังเผลอใจ ว่ายออกนอกเส้นทาง จนถูกคลื่นกรรมซัดออกไป ก็ไม่มีใครห้ามได้ ต้องหลุดออกจากฝั่งไปในที่สุด

พระอรหันต์นั้น แม้มีปัญญารู้แจ้งแล้วก็ไม่อาจถึงฝั่งนิพพาน เพราะประมาท ไม่ประคองตนอยู่ในธรรมวินัย เช่น พระอรหันต์ที่คิดว่าบรรลุธรรมแล้ว ไม่ยึดแล้ว ทำอะไรก็ไม่มีกรรมเพราะไม่ยึด แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานไป ท่านสุภัททะได้บรรลุอรหันต์ แล้วปรามาสพระธรรมวินัยว่า "พระพุทธองค์ตายแล้วก็ดี เสียใจไปทำไม เราจะได้เป็นอิสระไม่ต้องมีใครมาบังคับให้ถือศีลอีก" ซึ่งท่านอรหันต์จริง คำพูดของท่านก็ถูกจริง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะ
ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม ต่อให้อรหันต์แล้วก็ตาม หากยังไปทำบุญกรรมอีก ก็จะเกิดกรรมปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดชาติก่อภพได้อีก และไม่นิพพาน

อนึ่ง การผ่อนปรนศีล ไม่เคร่งศีลนั้นไม่ผิดแต่อย่างใด การผิดศีลก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องปกติที่มีได้ เกิดได้มาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ไม่ใช่ของแปลกใหม่ และพระพุทธเจ้าก็ได้วางแนวทางไว้แล้วว่าผิดศีลจะต้องปลงอาบัติ ให้รู้ตัวว่าตนยังไม่ใช่พระอรหันต์ ยังไม่นิพพาน ยังต้องศึกษาปฏิบัติต่อไปอีก อีกประการ ก่อนพระพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน ก็ได้สั่งเสียแก่พระอานนท์ไว้ว่าให้ผ่อนปรนศีลบ้างก็ได้ แต่ท่านไม่ได้บอกว่าผ่อนข้อใดอย่างไร นั่นหมายความว่าท่านเชื่อใจการตัดสินใจของพระอานนท์ สามารถใช้วิจารณญาณของพระอานนท์ผ่อนปรนศีลได้ อีกประการ
หากผู้ปฏิบัติธรรมมีความปรารถนาฉุดช่วยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นก่อนตน ตนยังไม่ขอนิพพาน การผ่อนปรนศีลลงเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ก็ไม่ผิด เป็นแนวทางหนึ่งในสายธรรมของพุทธศาสนาอยู่แล้ว ที่เรียกว่า "มหายาน" นั่นเอง จึงไม่ผิดแต่อย่างใด

การสร้าง "ถาวรวัตถุ" เป็นบุญใหญ่ สร้างชาติภพใหม่ ให้ผู้ทำต้องไปเกิดเพื่อเสวยผลบุญ ไม่หมดสิ้นเชื้อกรรม เชื้อเกิดได้ ทำให้แม้บรรลุธรรม มีปัญญาแจ้งแล้วก็ไม่นิพพาน การสร้างที่อยู่อาศัยนั้น ทำได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเสียทั้งหมด แต่ต้องทำแบบไม่ใช่ถาวรวัตถุ เช่น เป็นกระท่อมที่เมื่อตายลงก็พังไปพร้อมๆ กับผู้อยู่ ส่วนกุฏิที่ปลูกสร้างอย่างถาวรนั้น ไม่ทำให้นิพพาน เรื่องการสร้างที่อยู่อาศัยนี้ มีรายละเอียดชัดเจนว่ากว้างเท่าใด ยาวเท่าใด แต่ปัจจุบัน ไม่มีใครห้าม ใครเชื่อฟังคำสอนในตำราเหล่านี้ เพราะตำราไม่ใช่คน, ไม่มีชีวิต, ไม่มีอำนาจ จะมาสั่งมาห้ามใครได้ สุดแท้แต่ใครจะศรัทธาเชื่อถือ ในสมัยพุทธกาล มีภิกษุสร้างกุฏิด้วยดินปั้นอย่างดี พระพุทธเจ้าก็สั่งให้ทุบเสีย ไม่ใช่เพราะอิจฉาหรือแกล้งกัน แต่เพราะสิ่งนี้เป็นเหตุขวางนิพพาน
พระองค์มีเมตตาปรารถนาให้ได้นิพพานหลุดพ้น จึงต้องทรงทำเช่นนั้น ถ้าไม่ใช่เรื่องสำคัญ ถึงขั้นขวางนิพพานท่านคงไม่สั่งให้ทำ เพราะพระสาวกมากมายทำผิดทาง ท่านยังต้องรอให้ผู้คนมาตำหนิต่อว่าก่อน ท่านจึงสั่งประชุมและลงโทษ จึงตราศีลเมื่อภิกษุทำผิดก่อนแล้วเท่านั้น

ในปัจจุบัน "ศรัทธาหายนะ" ได้เกิดขึ้นมากในหมู่ชาวพุทธ เพราะความหลงครูบาอาจารย์ ทำให้ครูบาอาจารย์โด่งดังมีชื่อเสียง ซึ่งเป็นกิเลสทั้งนั้น
เอาครูบาอาจารย์ไปลงโฆษณา แล้วเรียกเงินทำบุญมามากๆ สร้างถาวรวัตถุมากมาย เพื่อประกาศให้สังคมยอมรับว่านี่คือความสำเร็จ แต่นั่นเป็นเรื่องทางโลกทั้งสิ้น การทำเพื่อพระพุทธศาสนาที่สำคัญไม่ใช่การเลียนแบบนักการเมือง ไม่จำเป็นต้องเป็นพระนักพัฒนา ถ้าท้องถิ่นมีความเป็นอยู่ที่พอดีพอเพียง ไม่ถึงขนาดป่ารกซ่อนตัวในดงพงพีหรือรถราเข้าถึงไม่ได้ ถ้าขนาดนั้น พระสงฆ์จะบำเพ็ญบารมีแบบพระโพธิสัตว์ เป็นพระนักพัฒนาก็เห็นว่ายังพอผ่อนปรนกันได้ แต่ถ้ามีความเจริญมากมายอยู่แล้ว ยังทำให้เกิดความเจริญทางวัตถุให้มากเกินจุด "พอดี" เข้าไปอีก รังแต่จะเป็นการ "หลงวัตถุ" ตามกระแส "ทุนนิยม" และ "วัตถุนิยม" และ "บริโภคนิยม" ซึ่งเป็นกระแสที่แรงมากในปัจจุบัน มากเสียกว่าจะทำด้วยความเข้าใจในพุทธจริง

ศรัทธาหายนะ ทำให้ครูบาอาจารย์หลายท่านต้องเสื่อมจากธรรมที่ตนได้โดยไม่รู้ตัว เพราะมีลูกศิษย์คอยหยอดคำหวาน และทำให้หลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้พระอรหันต์ไม่ทันสังเกตว่ากรรมกำลังเคลื่อนเข้ามาครอบงำตนเองแล้วอย่างช้าๆ แม้พระอรหันต์จะรู้ใบไม้ในกำมือ แต่นอกกำมือ เช่น เรื่องกรรม นั้น เป็น "อจิณไตย" สำหรับพระอรหันต์ทีเดียว จำต้องมีญาณหยั่งรู้ระดับพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงพอคาดคะเนเรื่องกรรมได้ ญาณของพระอรหันต์ไม่ถึงเรื่องอจิณไตยนี้ ทำให้เผลอทำกรรมใหม่ กรรมปัจจุบัน เป็นเครื่องก่อชาติต่อภพใหม่ หลงคิดว่าตนบรรลุธรรมแล้วจะได้นิพพานแน่ๆ แต่เพราะประมาทในธรรม ไม่ครองธรรมวินัย เช่น รับเงินทองมากเกินไป เช่น เป็นหลักแสนหรือหลักล้านจนใช้กินปัจจุบันไม่หมด เหลือแจกจ่ายลูกศิษย์บ้าง ฝากธนาคารไว้บ้าง อย่างนี้ไม่นิพพานหรอก พระอรหันต์ที่จะนิพพาน ไม่เก็บเงินเยอะขนาดนี้ ท่านเหล่านี้ก็จะได้บุญจากการเอาเงินไปช่วยผู้อื่น และเกิดบุญบารมีต่อชาติภพไปอีก กลายเป็น "อรหันตโพธิสัตว์"
ไป ไม่ได้นิพพาน ดังที่เคยได้หวังไว้ตั้งแต่แรกในที่สุด

ศรัทธาหายนะ เป็นสิ่งที่ใครก็ห้ามได้ยาก เพราะ "ใครๆ ก็อยากได้เงิน"
ผู้คนมากมาย มาเอาอกเอาใจพระอรหันต์ และหวังได้เงิน ได้ของดี ได้ลาภ จากพระอรหันต์นั้น ทำให้พระอรหันต์เหล่านี้เหมือนหุ่นกระบอก ถูกเขาเอาไปโชว์ เอาไปโฆษณาลงสื่อต่างๆ เอาไปเป็นสินค้าออกขาย ตามวิสัยของคนเก่งค้าขาย เลยเอาพระอรหันต์ไปขาย และขายได้ดี มีคนทำบุญหลั่งไหลเข้ามามากมาย อนึ่ง การทำบุญเป็นสิ่งดี แต่ต้องทำด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ความหลงงมงาย เพราะทำด้วยความหลง ไม่ทำให้รู้แจ้งและหลุดพ้นได้ จะยิ่งทำให้หลงบุญ หลงสวรรค์ หลงชาติ หลงภพ เพลินอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ยอมนิพพานได้สักที และอาจเสี่ยงเป็น "มาร" อยู่สวรรค์ชั้นที่ห้าและหกในที่สุด ซึ่งไม่ดีเลย

สายธรรมบางสายเช่น มโนมยิทธิ แรกๆ ครูบาอาจารย์สอนดีมาก ต่อมาเงินจึงหลั่งไหลเข้ามามากมาย คนบางกลุ่มเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ต้องเอาตัวรอดจากพิษเศรษฐกิจ ก็มาอาศัยหากินกับวิชชานี้ พวกเขาเอานิพพานไปเร่ขาย บอกว่าให้จองวิมานในนิพาพาน ทำบุญเท่านั้นเท่านี้ราวกับเซลขายบ้านพาไปดูบ้านตัวอย่าง แม้ไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่การกระทำก็เป็นเช่นนั้น เพราะพาไปดูนิพพาน ดูวิมานในนิพพาน และบอกว่าทำบุญแล้วได้วิมานในนิพพานได้ เวลาตายให้นึกถึงภาพนิพพานที่เห็น ซึ่งมันผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าไปมากนัก นิพพานไม่มีนิมิต เป็น "อนิมิตนิพพาน" ถ้ามีนิมิตจะไม่ได้นิพพาน ก็พิจารณาความดับไป เป็น "อนิจจัง" ของนิมิต ถึงจะได้ ถ้ามีนิมิตอยู่ ยังไงก็ไม่ได้นิพพาน ถ้ายังเห็น ยังหลงวิมาน หลงสวรรค์อยู่ ก็ไม่ได้นิพพาน


ทว่า การสอนที่ง่ายต่อการซื้อ ง่ายต่อการแลกเปลี่ยน ภายใต้ภาวะที่ไม่มีเวลาปฏิบัติอะไรให้ลึกซึ้งนี้ ในยุคที่ด่วนสั่งได้แบบไวไวควิกหรือวัฒนธรรมแม็ก อาหารจานด่วน ที่ครอบงำเต็มเมืองกรุงไปหมดนี้ การทำให้มโนมยิทธิ กลายเป็น "อาหารจานด่วน" หรือ "ซื้อได้ด้วยเงินทำบุญ" โดยไม่ต้องปฏิบัติอะไรให้ยากเย็นเกินกว่านั่งนึกถึงนิพพาน หรือไม่ต้องไปพิจาณาคิดอะไรอีกนอกจากนิพพาน เพราะเหนื่อยล้าจากงานเกินกว่าจะใช้ปัญญาแล้วนั่นเอง




ขอบคุณบอร์ดพลังจิต


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์