
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติในเทศกาลเข้าพรรษา

ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานั้น
พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา
ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่ว
บำเพ็ญความดีและชำระจิตให้สะอาดแจ่มใสเคร่งครัดยิ่งขึ้น
หลักธรรมสำคัญที่สนับสนุน คุณความดีดังกล่าวก็คือ "วิรัติ"
คำว่า "วิรัติ" หมายถึงการงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ
จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่ง
เป็นเหตุนำบุคคลผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความสงบสุขปลอดภัย
และความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป
วิรัติ การงดเว้นจากบาปนั้น จำแนกออกได้เป็น ๓ ประการ คือ
๑. สัมปัตตวิรัติ
ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ
ด้วยเกิดความรู้สึกละอาย (หิริ)
และเกิดความรู้สึกเกรงกลัวบาป(โอตตัปปะ) ขึ้นมาเอง
เช่น บุคคลที่ได้สมาทานศีลไว้
เมื่อถูกเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่มสุรา
ก็ไม่ย่อมดื่มเพราะละอาย และเกรงกลัวต่อบาป
ว่าไม่ควรที่ชาวพุทธจะกระทำเช่นนั้นในระหว่างพรรษา
๒. สมาทานวิรัติ
ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ
ด้วยการสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ จากพระสงฆ์
โดยเพียรระมัดระวังไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย
แม้มีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้าก็ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียง
๓. สมุจเฉทวิรัติ
ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ
ได้อย่างเด็ดขาดโดยตรงเป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้า
ถึงกระนั้นสมุจเฉทวิรัติ อาจนำมาประยุกต์ใช้
กับบุคคลผู้งดเว้นบาปความชั่ว
และอบายมุขต่าง ๆ ในระหว่างพรรษากาลแล้ว
แม้ออกพรรษาแล้วก็มิกลับไปกระทำหรือข้องแวะอีก
เช่น กรณีผู้งดเว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติดระหว่างพรรษากาล
แล้วก็งดเว้นได้ตลอดไป เป็นต้น
(ที่มา : สำนักพระพุทธศาสนา)
บทความจากลานธรรมจักร
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว