คือวางตัวอยู่ในคุณค่า 6 ประการ
คือ ศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม, คุณภาพ,
ความเหมาะสม และความเป็นกลาง
1. ศีลธรรม คือ
ธรรมะ ที่ควรประพฤติอย่างมั่นคงดังศิลาภูผา
ได้แก่ การไม่ทำลาย หรือ ทำร้ายชีวิตอื่น
การไม่ลักขโมย หรือ ฉ้อโกงทรัพย์ผู้อื่น
การไม่ประพฤติผิดในบุตร ภรรยา หรือ สามี ของผู้อื่น
การไม่พูดโกหก ส่อเสียด เพ้อเจ้อ หยาบคาย
และ การไม่ดื่มสุรา ยาเมา หรือ ยาเสพย์ติด
ทั้งนี้เพราะ พฤติกรรมดังกล่าว นั้น
หากประพฤติแล้วจะนำมาซึ่งความเสื่อม
ความเสียหายร้ายแรงนานาประการแก่ผู้กระทำนั้น เช่น
การทำร้ายทำลายชีวิตอื่น นำมาซึ่งความเจ็บป่วยพิการ
ความอ่อนแอ ความทรมาน ความตาย การพลัดพราก
การจองจำ และ ความ เศร้าโศกเสียใจ
การลักขโมยฉ้อโกงทรัพย์ผู้อื่น นำมาซึ่งความขัดสน
มีอุปสรรคใน กิจการงาน การสูญเสียทรัพย์ที่หามาได้
เพราะเหตุแห่งไฟโจร ความอยุติธรรม
และการถูกรังเกียจจากผู้อื่น
การประพฤติผิดในบุตร ภรรยา และ สามีของผู้อื่น
นำมาซึ่งภัย คือ ความตาย การทะเลาะเบาะแว้ง
การทุบตี ความคลางแคลงใจ ความไม่ซื่อสัตย์
ไม่จงรักภักดีของบริวาร การไม่ให้เกียรติกัน
และ ความแหนงใจในตนเอง
การพูดโกหก นำมาซึ่งความเชื่อถือไม่ได้
อันนำมาซึ่งการสูญเสีย เครดิต เสียสิทธิประโยชน์มากมาย
การพูดส่อเสียด นำมาซึ่งภาวะจิตตึงตัว
การมองโลกในแง่ร้าย ความไม่น่าไว้วางใจ ความเกลียดชัง
การพูดเพ้อเจ้อ นำมาซึ่งการหลอกตัวเอง
พาผู้เชื่อหลงทางสู่ หายนะ หรือ สูญเปล่า
การพูดหยาบคาย นำมาซึ่งความไม่เป็นที่รัก
การดื่มสุรา ยาเมา หรือ ยาเสพย์ติด
นำมาซึ่งการเสียสติ ความ เสื่อมปัญญา การสูญเสียสมรรถภาพ
ในการควบคุมตน เสียทรัพย์ เสียเพื่อนดีๆ เสียเวลา เสียสุขภาพ
นำมา ซึ่งภัยพิบัติโรคร้าย และ ความตาย
สิ่งเหล่านี้ จัดเป็นขยะโลก ที่ทำให้ชีวิตเปรอะเปื้อน
เสื่อมเสีย แม้ข้อมูล หรือ สถานที่อันเอื้อให้เกิดสิ่งเหล่านี้
ก็จัดเป็นแหล่งโสโครก เพาะเชื้อภัย ที่ควรหลีกให้ห่าง
จำไว้ว่า ชีวิตของเรา เก็บข้อมูลไว้อย่างไร
มีประสบการณ์อย่างไร โดยมากก็มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะเช่นนั้น
เช่น หากนั่งฟังคนนินทากัน บ่อยๆ
อีกหน่อยก็จะกลายเป็นคนชอบนินทา
โดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ
ซึ่งเป็นการสะสมขยะข้อมูลให้เลอะเทอะอารมณ์
และเปลืองเนื้อที่สมอง
สมอง และ เซลล์ประสาท อ้นเป็นหน่วยความจำของมนุษย์นั้น
มีความจำกัดอยู่ ถ้าเราใส่ข้อมูลเข้าไปมากเกินขีดจำกัด
ข้อมูลใหม่จะเข้าไปเบียดข้อมูลเก่าให้หายไปจากความทรงจำ
เพราะความจำของมนุษย์ นั้นไม่เที่ยง
ดังนั้น จงอย่าบันทึกเรื่องเหลวไหลไร้สาระ
หรือ เรื่องราว ชั่วร้ายเข้าไปในระบบ จนเบียดสิ่งที่ดี มีประโยชน์
หากต้องประสบสิ่งเลวร้าย ก็สรุปเอาเฉพาะบทเรียนเป็นหลักธรรมสอนใจ
ไม่ต้องจดจำรายละเอียดที่เลวร้ายเหล่านั้น
หยุดอารมณ์ร้ายไว้ โดยไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ต่อเนื่อง
ให้เป็นกรรมใหม่กันต่อไป
เพราะสิ่งใดที่บันทึกไว้แล้ว จะหล่อหลอมเป็นลักษณะบุคลิกภาพ
ทางอารมณ์ สติปัญญา และพฤติกรรมเฉพาะตน
ดังนั้น คนที่มุ่งสู่ความสำเร็จทั้งหลาย
จึงต้องหลีกเลี่ยงขยะโลก อัน ได้แก่ความเท็จ
และ ความจริงที่เป็นโทษ ไม่เหมาะสม ไร้ประโยชน์
อย่างเช่น วงนินทา วงเหล้า วงการพนัน
ซ่องโจร ซ่องโสเภณี ซ่องมั่วสุม และแหล่งอบายมุขทั้งหลาย
เพราะสถานที่เหล่านี้ ล้วนเป็นที่มาแห่งภัย
แม้เมื่อ ยังไม่มีภัย แต่ชีวิตที่เข้าไปเกี่ยวข้องก็เสื่อมทรามลงทุกวัน
หากปรารถนาความสำเร็จในชีวิต
จึงต้อง หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ให้เด็ดขาด
และ ถือเป็นมาตรฐานอันแข็งแกร่งอันมั่นคงดังภูผา
จึงเรียกว่า ศีลธรรม
ศาสตร์สู่ความสำเร็จ : การวางตัวดี (ดร.ไชย ณ พล)
2. คุณธรรม คือ
ความจริงที่มีคุณ หรือ มีประโยชน์ต่อความสำเร็จสุขในชีวิต
ซึ่งผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายล้วน เพียรสั่งสม
การสร้างคุณประโยชน์ให้บังเกิดแก่ชีวิตนั้น ทำได้ 2 ขั้นตอน
คือ การอยู่กับสารประโยชน์ และ การสร้างสารประโยชน์
การอยู่กับสารประโยชน์
คือ การดำเนินชีวิตอยู่กับความเป็นจริง
สิ่งที่เป็นประโยชน์ นำมาใช้ได้ และ มีความเหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นการคบเพื่อน การสมาคมในสังคม
การเลือกอาหาร งาน ที่อยู่อาศัย และ พฤติกรรมประจำวัน
การที่จะสร้างประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ได้ นั้น
ต้องอยู่กับสาระประโยชน์ก่อน
หากจัดตัวเองให้อยู่กับสารประโยชน์ได้ในระดับใด
ก็จะสามารถ สร้างสารประโยชน์ได้ใน ระดับนั้น หรือใกล้เคียง
ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้า หรือแม้โสกราตีส นิวตัน กาลิเลโอ
ไอน์สไตน์ ล้วนดำเนินชีวิตสะอาด เรียบง่าย
มุ่งสู่สารคุณอันล้ำลึก ลด ละหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหลวไหล ไร้สาระ
ที่พาตกต่ำ และไม่ยอมสร้าง ปัญหาเป็นภาระให้ผู้อื่น
ไม่ยอมให้ใครชักจูง ไม่ไหลไปตามกระแส
จึงสามารถก้าวเข้าสู่ความยิ่งใหญ่ได้ในที่สุด
มีหลักง่ายๆ สำหรับการพิจารณาค่าสารคุณ
คือ การพึ่งพาพลัง ภายนอก จะทำให้เราอ่อนแอลง
เพราะเป็นสิ่งที่มีค่าสารคุณน้อย
แต่หากหันมาใช้พลังจากภายในให้มาก
จะทำให้เราเข้มแข็ง และอยู่เหนือ ธรรมชาติ
อันเป็นสิ่งที่มีค่าสารคุณมาก
หลักการนี้ สามารถนำไปวิเคราะห์และวัดค่าได้ทุกสิ่ง
ไม่ว่าจะเป็น ความรัก ความสัมพันธ์ การบริโภควัตถุ
ยศ อำนาจ ชื่อเสียง และ ความสุข
แต่กระนั้น สิ่งหนึ่งซึ่งพึงระวังในการเลือกสารคุณ
คือ อย่าสุดโต่ง จนกลายเป็นสมบูรณ์นิยม
จนไม่มีความเป็นกลางวางเฉย
เพราะตราบเท่าที่เรายังอยู่บนโลก ที่มีทั้งดี ทั้งชั่ว และเป็นกลาง
ยังต้องสัมพันธ์กับ สิ่งที่มีทั้งคุณ และโทษ และความเป็นกลาง
หน้าที่ของเรา ก็คือ ต้อง วินิจฉัยว่า
เราสามารถควบ คุมโทษของมันมิให้กำเริบได้
หรือไม่ต้องรู้จัก พิจารณาว่า ค่าสาระคุณนั้น
เป็นสิ่งจำเป็นเอื้อประโยชน์ และเหมาะสม กับภาวะฐานะหรือไม่
ตลอดจนต้องคำนึงถึงว่า เราจะยังคงความเป็นกลาง
ในการสัมผัสสิ่งนั้นได้หรือไม่
ถ้าเราสามารถบริหารการสัมพันธ์ได้ดังนี้
เราก็จะได้บริโภคคุณ ควบคุมโทษ และ คงความเป็นกลางได้เสมอ
เหมือนการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งต้องระมัดระวังควบคุมโทษด้วย
ฉนวนป้องกันภัย ใช้ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
จึงจะได้ใช้คุณประโยชน์ของมันอย่างเต็มที่
และสิ่งสำคัญอยู่ที่ ต้อง อยู่ในความเป็นกลางเสมอ
คือ ไม่หลงใหลได้ปลื้ม และไม่ยินดียินร้าย ผลักไส
เมื่ออยู่กับ สารประโยชน์เสมอ เสพสารประโยชน์โดยสมควร
ในขั้น ต่อไปก็จะเข้าใจคุณค่า และเห็นโครงสร้างของสารประโยชน์
เมื่อ ตระหนักในสารประโยชน์ ก็จะสามารถสร้างสารประโยชน์แก่ตนเอง
และ ผู้อื่นได้โดยสมควร
3. จริยธรรม คือ
คุณสมบัติที่ทำให้งดงาม ได้แก่ ความละอายต่อบาป
ความอดกลั้น ความสุภาพ ความอ่อนโยน และ ความสำรวม
คุณสมบัติประการหนึ่งของผู้ประสบความสำเร็จ
คือ มีความงดงาม ใน จิตใจ วาจา และ พฤติกรรม
จึงเป็นที่ยอมรับนับถือ และ เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
จึงได้รับความร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้อื่นโดยง่าย
ด้วยความเต็มใจ เพราะความ สงบเสงี่ยม
สุภาพ อ่อนโยน นั้นเสมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดให้ผู้คนสนใจ
และ สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้อ่อนเข้าหา
แม้ใจอันกระด้างก็ยังพ่ายใจอันอ่อนโยน และมั่นคง
เฉกเช่น ภูผาอันแข็งแกร่ง ยังถูกทะลุทะลวงด้วยสายน้ำ
เป็นธารถ้ำต่างๆ หรือ แม้เหล็กแกร่งยังสามารถตัดได้
ด้วยสายน้ำที่มีความเร็วสูง อันเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้
ดังนั้น จริยธรรม จึงเป็นคุณสมบัติจำเป็นอีกประการหนึ่ง
ของผู้ประสบความสำเร็จ
4. คุณภาพ คือ
ความสามารถเป็นยอด และ อดทนเป็นเยี่ยม
คนที่เหลาะแหละ มักง่าย เอะอะ โวยวาย แสดงถึงคุณภาพที่ต่ำ
แม้คนเก่งแต่ไม่มีความอดทน เปราะบาง ก็จัดอยู่ในคุณภาพที่ต่ำเช่นกัน
หรือ คนที่อึด อดทน แต่ไร้ความสามารถ ก็ยังห่างไกลความสำเร็จ
จำต้องปรับปรุงคุณภาพ ให้ครบก่อน
การสร้างความสามารถ นั้น สร้างได้ด้วยการเรียนรู้ ฝึกฝน
พัฒนา มี วินัยในตนเอง และนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งความรู้และทักษะ จนเป็นความชำนาญพิเศษ
การสร้างความอดทนนั้น สร้างได้ด้วยการทำความเข้าใจ
ต่อทุกเหตุการณ์ให้ถ่องแท้ ไม่ให้พลังภายนอกเข้ามาในใจตน
แผ่พลังใจออกไปรอบตัวอย่างต่อเนื่อง
อภัยให้ตนเองและคนอื่นในทุกเรื่องโดยสมควร
และพร้อมปล่อยวางทุกสิ่งตลอดเวลา
5. ความเหมาะสม คือ
การวางตัวอย่างเหมาะเจาะกับภาวะและฐานะของตน
การวางตัวเหมาะสมกับภาวะ เช่น เป็นเด็ก
ก็ต้องหมั่นเรียนรู้ ซักถาม เชื่อฟัง อ่อนน้อม
หากอวดรู้ แข็ง กระด้าง ก็จะไม่ได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่
หากเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องวางตัวให้สมกับการหลักให้ผู้อื่น
คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
มีความยินดีสละ รู้จักให้อภัย
หากเป็นคนแก่ ก็ไม่ทำ ตัวเหมือนเด็ก
จะถูกค่อนแคะว่า เป็นเฒ่าทารก เป็นต้น
การวางตัวเหมาะสมกับฐานะ คือ การวางตัวให้เหมาะสมกับหน้าที่
เพราะในแต่ละฐานะนั่น เกิดมาเพราะหน้าที่
เช่น ผู้ปกครองมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองคนในปกครอง
หากผู้ปกครองปัดความรับผิดชอบและชอบกล่าวโทษ
โยนความผิดให้ผู้อื่น ก็จะเสียคนในปกครองไป เป็นต้น
ดังนั้น การวางตัวให้เหมาะสมกับภาวะ และ ฐานะ
จึงเป็นนิสัยเบื้องต้น แห่งความสำเร็จของชีวิตประการหนึ่ง
ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้
การวางตัวอยู่ในศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพ
และ ความเหมาะสม เป็นการวางตัวดี
เมื่อทำตัวดีมาโดยตลอดแล้ว
จงอย่าติดดี เชิดชู ความดีของตนจนโดดเด่น
เพราะ หากหลงตัวเอง ก็เท่ากับมีความชั่วมาพัวพันแล้ว
เสมือนที่ใด ที่มีโปรตรอนอยู่เดี่ยวๆ ก็จะมีอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
มาเกาะ ดังนั้น หากทำตัวเด่นดังด้วยความดี
ก็จะถูกริษยา นินทา ว่าร้าย กลั่นแกล้ง
เพราะเป็นธรรมดาของสิ่งชั่วที่จะวิ่งเข้าหาความดี
และ เป็นธรรมดาที่คนชั่วจะอาศัยคนดี
ด้วยเหตนี้ เมื่อโจรจะปล้น ก็ปล้นคนดีนั่นเอง
เมื่อ คนเจ้าเล่ห์จะโกง ก็โกงคนซื่อนั่นเอง
ดังนั้น การทำความดีให้ปลอดภัย ต้อง ทำในความเป็นกลาง
6. ความเป็นกลาง คือ
การวางตัวที่ปลอดภัย และ ได้ประโยชน์สูงสุดเสมอ
คือ การวางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริง
ซึ่งมิใช่การ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
หรือ ทำเป็นไม่ รู้และไม่ชี้ขาดว่า สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
ความไม่รู้ นั้นเป็น โมหะ ความโง่
ส่วนความไม่ชี้ นั้นเป็นเพราะ อคติ การทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
เพราะกลัวชี้ถูกชี้ผิดแล้วจะทำให้มีการผิดใจกัน
แต่หากรู้ แล้วไม่ชี้ถูกชี้ผิดลงไป
ก็จะไม่สามารถรักษาสังคม หรือไม่สามารถแก้ปัญหาชี้ขาดได้
ดังนั้น ความเป็นกลางที่แท้จริง นั้น
มิได้หมายถึงการไม่เข้าข้างฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง
หรือ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ แต่ ความเป็นกลางแท้จริงนั้น
หมายถึง การชี้ขาดอย่างเที่ยงธรรมว่า ผิดคือผิด ถูกคือถูก
อย่างตรงไปตรงมา โดย ไม่มี ความลำเอียง
จงอย่าลืมว่า ความเป็นกลางไม่ใช่ความดีความชั่ว
แต่ความดีจะอยู่ใน ความเป็นกลางเสมอ
เช่น ในอะตอมของธาตุ จะมีอนุภาคหลัก
คือ นิวตรอน เป็นกลาง มีโปรตรอน เป็น บวก
และ อิเล็กตรอน เป็นลบ ซึ่งโปรตรอนนั้น จะอยู่ในนิวตรอนเสมอ
โดยมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่ภายนอกรอบๆ
ในจิตใจที่เป็นกลาง ก็เช่นกัน จะมีความดีสถิตอยู่เสมอ
โดยความดี ก็มิ ใช่ความเป็นกลาง
และ ความเป็นกลางก็มิใช่ความดี
และมีความชั่ววิ่งวุ่นอยู่ ภายนอก
ด้วยเหตุนี้ เมื่อจิตใจวุ่นวายเพราะสิ่งชั่วร้าย
เพียงแค่สงบใจได้ กลับสู่ภายใน
สำนึกอันดีงาม ก็จะปรากฏอารมณ์ชั่วร้ายก็จะหายไป
เมื่อเป็นกลางดีแล้ว จึงสามารถ รักษาความดีได้
โดยไม่ติดดี และ ปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย
ดังนั้น คนที่เป็นกลางจะสามารถรักษาตน
กิจการ องค์กร และ สังคมให้มั่นคงสืบไปได้