อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
สิ่งที่เรามีประสบการณ์ทางอารมณ์มี 2 ประเภท คือ
1) อารมณ์ในภาษาธรรม หมายถึง
ผัสสะ คือ การรับรู้ผ่านทวารทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เวทนา คือ ความรู้สึก ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน มีเรา มีเขา
ภพ คือ การนึกขึ้นมา หลังจากนั้นจึงเกิดเป็นอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ
2) อารมณ์ในความหมายทั่วไป
คือ การเกิดอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ ยินดี ยินร้าย ดีใจ เสียใจ การเกิดของ อารมณ์เริ่มตั้งแต่การรับรู้ เช่น เมื่อได้ยินคนอื่นว่าร้ายใส่เรา (ผัสสะ คือ ได้ยิน) เกิดความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ไม่อยากฟัง (วิภวตัณหา) เกิดความรู้สึกยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) นึกถึงคำพูดของเขา (ภพ) และคิดปรุงแต่งจนเกิดความไม่พอใจ น้อยใจ โกรธ อาฆาต พยาบาท มีเรา มีเขา เป็นเรื่องเป็นราวขึ้น (เป็นชาติ ชรา มรณะของอารมณ์)
จิต คือ สภาวะที่รับรู้อารมณ์
จิต คือ สภาวะที่รับรู้อารมณ์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!