สะดวกเมื่อไรกำหนดลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น ด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะเพื่อรักษา
จิตใจให้สงบ มีสุขภาพใจดี พยายามทำอยู่บ่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ อย่างน้อย เริ่มจากกำหนดลมหายใจ 3 – 4 ครั้งให้ติดต่อกัน เมื่อเราชำนาญแล้ว การกลับมามีสติระลึกรู้อยู่กับลมหายใจจะเป็นไปเองตามธรรมชาติ สิ่งที่พวกเราฝึกในเบื้องต้น คือ ทำอย่างไรที่จะมีสติสัมปชัญญะกับการหายใจเข้า หายใจออกแต่ละครั้ง เราต้องเข้าใจว่าอาการที่สติสัมปชัญญะในการหายใจหนึ่งครั้งเป็นอย่างไร
มีความรู้สึกตัว เบื้องต้น ท่ามกลาง และ สุดท้ายของการหายใจเข้า
มีความรู้สึกตัว เบื้องต้น ท่ามกลาง และ สุดท้ายของการหายใจออก
สังเกตได้ตรงเห็นลมหายใจชัดเจน และที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน สบายใจ
คือ ไม่คิดไปตามอารมณ์ ไม่คิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว มีเรา มีเขา
ถ้าสามารถทำได้สมบูรณ์ใน 1 ครั้ง ของการกำหนดลมหายใจเข้า – ออก
ต่อไปก็ไม่ยากที่จะทำครั้งที่ 2-3-4 … และต่อเนื่องกันหลาย ๆ นาที
จนทำติดต่อกันได้นาน ๆ
มีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก สม่ำเสมอ
เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้ อะไรก็ตาม
ไม่ยินดี ยินร้าย
เอาลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร
รักษาใจสงบ เป็นสุขภาพใจดี
ลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร
ลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!