นานาสาระ...ปัญหาครอบครัว & แนวทางแก้ไข
นานาสาระ...ปัญหาครอบครัว & แนวทางแก้ไข
ปัญหาครอบครัว & แนวทางแก้ไข
สาเหตุของปัญหา
ก. ความตึงเครียดในครอบครัว
- เนื่องจากค่านิยม ความเชื่อ ความต้องการ
- เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจ
- ความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้อง
- การทำงานของภรรยานอกบ้าน
- การมีอาชีพที่ต่างกันไปของสมาชิกในครอบครัว
- ความผิดหวังในตัวภรรยาหรือสามี
ข. การขัดแย้งกันในครอบครัว
การขัดกันในครอบครัวอาจแยกออกได้ ๒ลักษณะ
คือ การขัดกันทางส่วนตัว (Personal Conflict)
กับการขัดกันโดยทางเศรษฐกิจและสังคม (Socioeconomic Conflict)
๑. การขัดกันโดยทางส่วนตัว เป็นการขัดกันทางด้านบุคลิกภาพ
๑. ด้านอารมณ์
๒. แบบของความประพฤติของคู่สมรส
๓. บทบาท
๔. ค่านิยม สามีภรรยาอาจได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาในลักษณะที่แตกต่าง
๕. ความรักรวมถึงความสัมพันธ์ทางเพศ
๒. การขัดกันทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
สมาชิกในครอบครัวจะเกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
๑. การขัดกันทางด้านวัฒนธรรม
๒. ฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน
๓. การขัดกันในเรื่องอาชีพ
๔. การทำงานของฝ่ายหญิง
๕. การว่างงาน
๖. ปัญหาอื่น ๆ
ค. การหย่าร้าง
การหย่าร้างของคู่สมรสในต่างสังคมกัน ย่อมมีอัตราแตกต่างกันไป
ทั้งนี้เพราะความแตกต่างกันในเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม และค่านิยม
อย่างเช่น ในสังคมที่นับถือศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
อัตราการหย่าร้างจะต่ำกว่าในสังคมที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์
และคนที่อยู่ในชนบทซึ่งมีอาชีพทางการเกษตร
ย่อมมีการหย่าร้างน้อยกว่าคนในเมือง
Scarpitti พบว่าใน ปี ค.ศ. 1971 ในสหรัฐอเมริกา
อัตราการหย่าร้างของชาวชนบทมี ๑.๘ ต่อ ๑,๐๐๐ คน
ในขณะที่อัตราการหย่าร้างในเมืองเป็น ๕.๓ ต่อ ๑,๐๐๐ คน
การหย่าร้างของคู่สมรส
อาจเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
๑. เนื่องจากความมีอิสระเสรีภาพทัดเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย
ทำให้หญิงมีอิสระในการตัดสินปัญหาของตนเอง
๒. สภาพของสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
๓. มาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น
ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นทำให้ความคิดอ่านของคนค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนไป
๔. หญิงมีงานทำไม่ต้องพึ่งสามีในทางเศรษฐกิจ
๕. ความคิดในเรื่องการหย่าร้างในเมื่ออยู่ด้วยกันแล้ว
ไม่มีความสุขมีมากกว่าแต่ก่อนและยังมีกฎหมายที่ทำให้การหย่าร้างเกิดขึ้นได้ง่าย
ผลของปัญหาครอบครัว
๑. ทำให้สมาชิกในครอบครัวเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน
๒. บุคลิกภาพและสุขภาพกาย สุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว
๓. ทำให้เกิดการค้าประเวณี
๔. ทำให้เกิดปัญหาวัยรุ่น
๕. ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
๖. ครอบครัวมีปัญหา
วิธีการป้องกันแก้ไข
การป้องกันปัญหาครอบครัว จะต้องคำนึงถึงทั้งตัวบุคคลในครอบครัว
และสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักในการป้องกันควรคำนึงถึง
๑. การเลือกคู่ครองที่ดี
๒. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
๓. แสดงบทบาทตามสถานภาพของตน
๔. ยึดมั่นในคุณธรรมสำหรับผู้ครองเรือน
๕. ให้การศึกษาอบรม
ปัญหาความตึงเครียดในครอบครัว
วิธีการแก้ไขอาจกระทำโดย
๑. การขอคำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงาน
ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว
เพื่อจะได้ใช้เป็นตัวกลางในการปรับตัวเข้าหากัน
๒. การปรึกษาหาทางปรับตัวเข้าหากัน
โดยทั้ง ๒ ฝ่ายยินดีจะฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง
๓. การหันไปพิจารณาคำสอนทางศาสนา
๔. การหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ ซึ่งจะใช้เป็นวิธีท้ายสุด
ปัญหาครอบครัวแตกแยก
หญิงดูหมิ่นสามีย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความแตกแยกในครอบครัว
ด้วยเหตุ ๘ ประการคือ : -
๑.ทลิทฺทตา เพราะสามีเป็นคนยากจน
๒.อาตุรตา เพราะสามีเป็นคนกระเสาะกระแสะ
๓.ชิณฺฌตา เพราะสามีเป็นคนแก่เฒ่า ชรากาล
๔.สุราโสณฺฑตา เพราะสามีเป็นนักเลง
๕.มุทฺธตา เพราะสามีเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญา
๖. ปมตฺตา เพราะสามีเป็นคนมัวเมา ประมาท
๗. สพฺพกิจฺเจสุ อนุวตฺตนตา เพราะสามีทำงานคล้อยตามในกิจทุกอย่าง
๘. สพฺพธนมนุปฺปาเทน เพราะสามีไม่ทำงาน ให้ทรัพย์ทุกอย่างที่เกิดขึ้น
ขุททกนิกายชาดก พระสูตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๘/๓๐๓/๑๑๕
วิธีแก้ปัญหา
หลักการแก้ปัญหาความแตกแยกในครอบครัว
พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ว่าผู้หญิง ( มาตุคาม )
ซึ่งประกอบด้วยคุณธรรม คุณสมบัติ ๔ ประการ
ชื่อว่าเป็นผู้กำชัยชนะ ครองใจสามีไว้ได้คือ
๑.สุสํวิหิตกมฺมนฺโต เป็นผู้จัดการงานดี
๒.สงฺคหิตปริชโน สงเคราะห์คนข้างเคียง
๓.ภตฺตุ มนาปํ จรติ ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี
๔.สมฺภตํ อนุรกฺขติ รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
อังคุตตรนิกาย อัฎฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓/๑๓๙/๒๗๕
วิธีแก้ปัญหาความแตกแยกในครอบครัว
๑.สมฺมานนาย ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
๒.อวิมานนาย ด้วยไม่ดูหมิ่น
๓.อนติจริยาย ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ
๔.วิสฺสริยโวสฺสคฺเคน ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้
๕.อลงฺการานุปฺปทาเนน ด้วยให้เครื่องประดับตกแต่ง
ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค พระสูตตันปิฎกเล่ม ๑๑/๒๐๑/๒๐๔
ศรีภรรยา
ภรรยาที่ดีต้องมีคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาดังนี้ : -
๑.ทลิทฺที ทลิทสฺส เมื่อสามีขัดสน ก็ขัดสนด้วย
๒.อฑฺฒา อทฺฒสฺส เมื่อสามีมั่งคั่ง ก็พลอยมั่งคั่งด้วย
๓.กิตฺติมา เมื่อสามีมีชื่อเสียง ก็มีชื่อเสียงด้วย
ขุททกนิกายชาดก พระสูตตันตปิฎกเล่ม ๒๗/๕๘๑/๑๔๑
คู่ครองที่ดี
พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองเรือน
อยู่กันได้ยืดยาวเรียกว่าสมชีวิธรรมมี ๔ ประการคือ
๑. สมสัทธา
มีศรัทธาเสมอกัน หนักแน่นเสมอกัน ปรับตัวเข้าหากันลงกันได้
๒. สมสีลา
มีศีลเสมอกัน คือความประพฤติ จรรยามารยาท พื้นฐานการ สอดคล้องไปกันได้
๓. สมจาคา
มีจาคะสมกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีใจกว้าง พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
๔. สมปัญญา
ปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผลเข้าใจกันอย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง ( องฺ จตุกฺก ๒๑/๕๕ )
วิธีแก้ปัญหา ลักษณะของครอบครัวที่ดี (ปัญหาครอบครัว )
๑.ตุลฺยวยา มีวัยเสมอกัน
๒.สมคฺคา อยู่ร่วมกันด้วยความปองดอง
๓.อมุพฺพตา ประพฤติตามใจกันและกัน
๔.ธมฺมกามา เป็นคนฝักใฝ่ในธรรม
๕.ปชาตา ไม่เป็นหญิงหมัน
๖. โกลินิยา สีลวตี มีศีลโดยสมควรแก่สกุล
๗. ปติพฺพตา รู้จักปรนนิบัติสามี
ขุททกนิกายชาดก พระสูตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๗/๑๔๗๘/๔๙๙
ความสุขอันชอบด้วยธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี
หรือความสุขที่ชาวบ้านควรทำให้เกิดแก่ตนอยู่เสมอเรียกว่า “สุขของคฤหสถ์” มี :-
๑.อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์
๒.โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
๓.อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
๔.อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษมีความสุจริต
ประพฤติไม่บกพร่องเสียหาย ใคร ๆ ตำหนิไม่ได้
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระสูตตันติปิฎกเล่มที่ ๒๑/๖๒/๙๑
ที่มา... dhamma
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!! กระทู้เด็ดน่าแชร์