นมตถ สุคตสส
พหุตภกโข ภวติวิปปวุตโถ สก ฆรา
พหูน อุปชีวนติ โยมตตาน น ทุพภติ
การสงเคราะห์ญาติและมิตรเป็นอนวัชชกิจ
โบราณบัณฑิตได้บำเพ็ญเป็นอาจิณวัตร
บุคคลที่นับถือกันว่าเป็นญาติก็เพราะนับว่าเป็นผู้เนื่องกันโดยกุลสัมพันธ์
ที่คบกันเป็นมิตรก็เพราะเป็นผู้ถูกอัธยาศัยรวมกันในกิจการนั้นๆ
ความวิสาสะกันโดยสังคหกิจย่อมผูกจิตให้สนิทกัน
ต้องตามพุทธภาษิตว่า วิสาสปรมา ญาตี ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงมิตรธรรมเกี่ยวกับญาติสัมพันธ์
ความคุ้นเคยนั้นสำเร็จด้วยไมตรีจิต ทำให้สนิทสนมกันด้วยสังคหธรรม
คนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ถ้าคบกันสนิทแล้วก็เหมือนญาติที่สนิท
จัดว่าเป็นมิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ผู้ที่เป็นญาติถ้ามีมิตรธรรมประกอบกัน
ย่อมเพิ่มพูนความสัมพันธ์ให้สนิทสนมสถาพร
เป็นบ่อเกิดแห่งสวัสดิมงคล
ชนผู้รักใคร่กันสนิทชื่อว่ามิตร
ต้องด้วยพุทธภาษิตว่า มาตา มิตต สเก ฆเร
มารดาชื่อว่าเป็นมิตรในเรือนของตน คนผู้มีเมตตาต่อกันก็ชื่อมิตรได้
ในคำว่า บาปมิตโต กลยาณมิตโต มีมิตรเลว มีมิตรดีโดยนัยนี้
ผู้ที่สนิทสนมกัน มีเมตตาต่อกันได้ชื่อว่ามิตรทั้งนั้น
มิตรนั้นมีทั้งชั่วทั้งดีมิตรชั่วเรียกว่า ปาปมิตร มิตรดีเรียกว่า กัลยาณมิตร
มิตรนั้นย่อมเป็นปัจจัยภายนอกอันแรงกล้า
ที่จะพาผู้คบหาให้ถึงความเจริญหรือความเสื่อม
สมเด็จพระโลกนาถเจ้าจึงตรัสว่า
พาหิร ภิกขเว องคนติ กริตวา นญญ เอกงคมปิสมนุปสสามิ
ย เอว มหโต อนตถาย สวตตติ ยทิท ภิกขเว ปาปมิตตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้วเราย่อมไม่แลเห็นเหตุ
แม้อันหนึ่งอื่นอันจะเป็นไปเพื่อความเสียหายอย่างใหญ่
เหมือนความเป็นผู้มี มิตรชั่ว
ความเป็นผู้มีปาปมิตรย่อมเป็นไปเพื่อความเสียหายอย่างใหญ่
อีกอย่างหนึ่งเราย่อมไม่แลเห็นเหตุอันหนึ่งอื่นเหมือนกัน
อันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี
ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่
ในสิงคาโลวาทสูตร ตรัสเรียกปาปมิตรว่ามิตรปฏิรูปคือมิตรเทียม
ตรัสเรียกกัลยาณมิตรว่าสุหัท คือ คนใจดี จัดว่าเป็นมิตรแท้
ทรงจำแนกลักษณะมิตรเทียมและมิตรแท้ไว้ฝ่ายละ ๔ พวก
คัดลอกจาก...หนังสือกฎแห่งกรรมธรรมปฏิบัติเล่ม 18
มิตรธรรม-ธรรมครองใจมิตร (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
มิตรธรรม-ธรรมครองใจมิตร (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!