การทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้ สามารถเป็นส่วนร่วมที่ดีของชุมชน ไม่ทำตนให้เป็นปัญหาหรือภาระถ่วงหมู่คณะ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนอยู่ร่วมกันด้วยดี การประพฤติธรรมสำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเองเรียกว่า นาถกรณธรรม ๑o ประการ คือ
ศีล ประพฤติดีมีวินัย คือ ดำเนินชีวิตโดยสุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา มีวินัย และประกอบสัมมาชีพ
พาหุสัจจะ ได้ศึกษาสดับมาก คือ ศึกษาเล่าเรียนสดับตรับฟังมาก อันใดเป็นสายวิชาของตน หรือตนศึกษาศิลปวิทยาใด ก็ศึกษาให้ช่ำชอง มีความเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้งรู้ชัดเจนและใช้ได้จริง
กัลยาณมิตตตา รู้จักคบคนดี คือ มีกัลยาณมิตรรู้จักเลือกเสวนาเข้าหาที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี เลือกสัมพันธ์เกี่ยวข้องและถือเยี่ยงอย่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ซึ่งจะทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม
โสวจัสสตา เป็นคมที่พูดกันง่าย คือ ไม่ดื้อรั้น กระด้าง รู้จักรับฟังเหตุผลและข้อเท็จจริง พร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตน
กิงกรณีเยสุ ทักขตา ขวนขวายกิจของหมู่ คือ เอาใจใส่ช่วยเหลือธุระและกิจการของชนร่วมหมู่คณะ ญาติ เพื่อนฟ้อง และของชุมชน รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองหาวิธีด้เนินการที่เหมาะ ทำได้ จัดได้ ให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี
ธรรมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ชอบศึกษา ค้นคว้า สอบถามหาความรู้หาความจริง รู้จักพูด รู้จักรับฟังสร้างความรู้สึกสนิทสนมสบายใจ ชวนให้ผู้อื่นอยากเข้ามาปรึษาร่วมสนทนา
วิริยารัมภะ มีความเพียรขยัน คือ ขยันหมั่นเพียรพยายามหลีกละความชั่ว ประกอบความดี บากบั่น ก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ละเลยทอดทิ้งธุระหน้าที่
สันตุฏฐี มีสันโดษรู้พอดี คือ ยินดี พึงพอใจแต่ในลาภผล ผลงานและผลสำเร็จต่างๆ ที่ตนสร้างหรือแสวงหามาได้ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรมและไม่มีมัวเมาเห็นแก่ตัวความสุขทางวัตถุ
สติ มีสติคงมั่น คือ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำ คำที่พูด กิจที่ทำแล้ว และที่จะต้องทำต่อไปได้ จะทำอะไรก็รอบคอบ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ผลีผลาม ไม่เลินเล่อ ไม่เลื่อนลอย ไม่ประมาท ไม่ยอมถลำลงในทางผิดพลาด ไม่ปล่อยปละละเลยทิ้งโอกาสสำหรับความดีงาม
ปัญญา มีปัญญาเหนืออารมณ์ คือ มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้ดี รู้ชั่ว คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้จักพิจารณาวินัจฉัยด้วยใจเป็นอิสระทำการต่างๆ ด้วยความคิดและมีวิจารณญาณ
มนุษย์เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางด้านธรรมชาติของมนุษย์เอง ด้านความต้องการปัจจัยสี่ด้านวัฒนธรรม ด้านความต้องการความปลอดภัย ด้านความต้องการเป็นพวกเดียวกัน
การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมมักเกิดปัญหาขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะการกระทบกระทั่งกันด้วยวาจา ด้วยใจ และการเบียดเบียนกันสังคมที่มีแต่การเบียดเบียนกันนั้นย่อมหาความสุขไม่ได้การปฏิบัติตนให้เป็นส่วนร่วมที่ดีของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านสถานที่ศึกษา หรือที่ทำงาน รวมไปถึงชุมชนระดับประเทศนั้นย่อมจะก่อให้เกิดสังคมที่น่าอยู่ การดำเนินชีวิตและกิจการต่างๆจะยึดหลักความเอื้ออาทรเห็นอกเห็นใจกัน มากกว่าจะมุ่งหาผลประโยชน์ให้แก่ตน และในที่สุดแล้ว การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เห็นอกเห็นใจกันของคนในสังคมนั้น นอกจากจะทำให้สังคมของเราน่าอยู่แล้ว ยังจะช่วยให้ชีวิตของเราโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นอีกด้วย ขอท่านผู้อ่านทุกท่านพึงพิจารณาด้วยปัญญาเถิด