เป็นคำเล่าแจ้งแถลงไขของ มร.จูเลียนเน สโตรฟิว แห่งศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ที่ระบุถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาโคโลราโด และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในการศึกษาขนาดของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกบริเวณมหาสมุทรอาร์กติก ที่พบว่าเหลือน้อยสุดในรอบ 100 ปี นั่นเป็นเพราะโลกร้อนที่ทำให้ทะเลน้ำแข็งจมละลายหายไป อันจะทำให้เกราะกันรังสีจากแสงอาทิตย์ลดขนาดลง ซึ่งน้ำแข็งและหิมะทำหน้าที่สะท้อนแสงอาทิตย์สู่อวกาศได้ดีกว่าแผ่นน้ำ
หนึ่งในทีมศึกษาอย่าง มร.มาร์ก เซอร์เรซ บอกว่าเขาตกใจมากที่เห็นว่าน้ำแข็งขั้วโลกลดลงมากใน ค.ศ.2005 นี้ จากการสำรวจและวัดปริมาณครั้งนี้ดำเนินการโดยดาวเทียมสำรวจขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ หรือนาซา ซึ่งพบว่าน้ำแข็งในบริเวณอาร์กติกละลายเร็วขึ้นกว่าเดิม และอุณหภูมิก็สูงขึ้นมาก นับตั้งแต่ใช้ดาวเทียมเก็บข้อมูล ตั้งแต่ ค.ศ.2002 เป็นต้นมา
บวกกับสังเกตว่าฤดูใบไม้ร่วงอันเป็นช่วงน้ำแข็งละลายที่คืบคลานมาเร็วผิดปกติในแถบไซบีเรียเหนือและอลาสกา อีกทั้งแนวน้ำแข็งละลายได้แพร่ขยายไปทั่วอาร์กติกแล้ว ซึ่งการสังเกตการณ์ครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนนี้ ชี้ผลอย่างน่าวิตกว่าฤดูน้ำแข็งละลายเริ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม
น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ไร้เกราะป้องกันรังสี เหตุโลกร้อน
ทีมงานศึกษาบอกต้นเหตุว่า ปัญหาหลักมาจากก๊าซคาร์บอนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากผืนโลกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศนั้นเป็นเหตุให้อากาศร้อนขึ้น จนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือนั้นทำหน้าที่สะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกละลายออกไปเช่นนี้จะทำให้โลกดูดซับรังสีจากแสงอาทิตย์มากขึ้น เพราะลำพังผืนน้ำที่เป็นของเหลวไม่สามารถทำหน้าที่เช่นเดียวกับน้ำแข็งได้
นี่คือภาวะ "เรือนกระจก" และกำลังส่งผลให้อุณหภูมิและสภาวะอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!