สารให้ความหวาน...ในอาหารควบคุมน้ำหนัก
เมื่อกล่าวถึงอาหารควบคุมน้ำหนัก มักเป็นคำติดปากสำหรับสาวๆที่ห่วงเรื่องรูปร่างและสุขภาพ และกลัวว่าการควบคุมน้ำตาลมากๆ แล้วจะอ้วนเหมือนโฆษณาในโทรทัศน์ที่กินอะไรก็ต้องระวัง
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล จึงเป็นอีกทางเลือกที่ถูกนำมาใช้และใช้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่รู้ว่าอาจเป็นอันตราย
สารให้ความหวานใช้แทนน้ำตาลและมีแคลอรีต่ำ และมีคุณค่าทางโภชนาการน้อย สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุกโตส (น้ำตาลจากผลไม้) มอลทิทอล ซอร์บิทอล ไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยเบาหวาน
กลุ่ม 2 สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส สตีเวีย แอสปาแตม แซคคารีน และไฮไลต์ของมันมากับอาหารในวันนี้คือ สารอะซีซัลเฟม เค
สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยเบาหวาน
อะซีซัลเฟม เค (Acesulfame K) เป็นสารที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครสประมาณ 200 เท่า ผลการวิจัยกว่า 90 ชิ้น สรุปว่า Acesulfame K มีความปลอดภัย และได้รับอนุญาตให้ใช้ใน 90 ประเทศทั่วโลก
แม้ว่าจะอนุญาตให้ใช้ แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย ความจริงมันอาจไม่ส่งผลต่อร่างกายทันที แต่เมื่อสะสมไปเรื่อยๆ จะมีผลข้างเคียงกระตุ้นการหลั่งอินซูลินทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ได้
วันนี้จึงอยากขอเตือนผู้ที่นิยมบริโภคสารชนิดนี้ว่า กินได้แต่ต้องไม่บ่อยเกินไป
สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างสารคุมน้ำหนัก 5 ยี่ห้อ เพื่อวิเคราะห์ หาความหวาน อะซีซัลเฟม เค
ปรากฏว่า ทุกตัวอย่างไม่พบ อะซีซัลเฟม เค แต่อย่างใด