ในความเจ็บป่วยทางจิตที่มีการกล่าวกัน
การป่วยทางจิตเวชค่อนข้างกว้างมีหลาย โรคด้วยกันไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อย ซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ ฯลฯ พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ จิตแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา
หัวหน้าโครงการให้การศึกษาแก่สาธารณชนเครือข่ายและครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชให้ความรู้พร้อมเพิ่มเติมว่า
โรคทางจิตหากโฟกัสเข้ามาจะย่อเข้ามาภายใต้ร่มของจิตเวช ซึ่งจิตของคนเรามีหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การรับรู้ความ รู้สึก
|
|
|
ขณะที่สภาพสังคมโลกาภิวัตน์การมีข้อมูลมาก บริโภคมาก
แต่เกราะป้องกัน มีอยู่น้อย หากดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเหมาะพอเพียงก็จะไม่เกิดทุกข์ การพัฒนาทางด้านจิตใจจะช่วยให้มีเกราะป้องกันที่ดีดำเนินชีวิตได้เหมาะสมมีความสุข
ความเครียดในการดำเนินชีวิต
สภาพเศรษฐกิจ สังคมเวลานี้อาจไม่ใช่สาเหตุของการเจ็บป่วยทางจิตเสียทีเดียว สาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตมีด้วยกันหลายปัจจัยประกอบกัน สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
ซึ่งหากครอบครัวใดมีโรคเหล่านี้อยู่
ในตัวเองก็จะถ่ายทอดทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นมีความเสี่ยงมากกว่า และยิ่งเมื่อเจอะเจอกับปัญหาความเครียดที่ไปกระตุ้น สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาก็จะทำให้พัฒนาเกิดเป็นอาการของโรคจิตเวชได้เร็วขึ้น เป็นต้น
|
|
|
สถานการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจึงเป็นตัวกระตุ้นให้โรคปรากฏ
อีกทั้งสภาพสังคมที่อยู่กันอย่างหลวม ๆ ไม่แน่นแฟ้น เหมือนเดิมก็อาจทำให้การดูแล รักษาไม่เข้มแข็ง ทำให้ผู้ที่ป่วย ไม่สามารถฟื้นคืนมาได้ดีเท่าที่ควร สิ่งที่เป็นอยู่ในสังคม
ขณะที่ทุกคนได้รับผลกระทบแต่ก็ใช่ว่าจะมีอาการป่วยทางจิต
ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นเร้ามากกว่าซึ่งหากไปกระทบจุดบอดที่ซ่อนอยู่ก็จะทำให้โรคที่มีอยู่ปรากฏขึ้นมา
ในร่างกายของเราทุก อวัยวะมีสิทธิที่จะชำรุดทรุดโทรมและหากอวัยวะไหนป่วยก็จะแสดงอาการเหล่านั้นออกมา เช่นเดียวกับจิตใจที่ป่วย
อย่างระบบหัวใจป่วยก็จะมี ความบกพร่องในการสูบฉีด โลหิต สมองที่ควบคุมความ คิด ความรู้สึกพฤติกรรมป่วย พฤติกรรมความคิดของคนคน นั้นก็จะแสดงอาการ
|
|
|
หากมีการยอมรับการเจ็บป่วยและการป่วยเหล่านั้น
ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีก็จะไม่เกิดความยากลำบากในการรักษา แต่ที่ผ่านมายังมีความเข้าใจผิดกันในเรื่องนี้และอยู่บนความเชื่อเดิม ๆ
ย้ำถึงการเจ็บทางจิตว่า เป็นสิ่งที่น่าอาย ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่เริ่มแสดง อาการเจ็บป่วยก็จะพยายามหนีการรักษา
อารมณ์ความคิดของคนเรามีผลต่อพฤติกรรม
เมื่อมีความสุขก็จะทำอะไรที่สร้างสรรค์ แต่ถ้าเศร้าเซ็งก็จะแสดง ออกในทางตรงข้าม คนที่อยู่ใกล้ชิดจะสังเกตได้ถึงพฤติกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งถ้าพฤติกรรมเหล่านั้นเพิ่มมากก็อาจเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่ทำ ให้เห็นถึงความผิดปกติ เป็นภาวะอย่างหนึ่งทางจิตใจ
|
|
|
แต่การจะกลับไปสู่ที่เดิมได้เป็นเรื่องสำคัญ
ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลเหมือนคนไข้ ทั่วไป มีผู้ป่วยไม่น้อยที่สามารถ ควบคุมตนเองได้
แต่ก็มีอีกส่วนที่มีอาการคุมไม่ไหว
มีอาการหลุดให้คนใกล้ชิดสัมผัสและอย่างที่อธิบายโรคทางจิตไม่ได้หมายความว่าจะต้องคลุ้มคลั่ง พูดไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อเขาอยู่ในอาการนั้นความคิดของเขาจะแปลผลผิดไป
กำลังใจควบคู่กับความเข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ที่จะช่วยคืนคุณค่าเกียรติยศให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ให้กลับมายืนอยู่ที่เดิม อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ การเปิดใจเรียนรู้ ไม่ติดอยู่ในอคติอยู่ในความโมเมขาดความเข้าใจจะไม่ทำให้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าไป
การดูแลสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจึงต้องเคียงคู่กัน
ซึ่งโดยพื้นฐานควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดว้าวุ่น รวมถึงอาจฝึกความ คิดให้คิดในสิ่งที่ดีทำดี แต่เมื่อมีความผิดปกติ เกิดขึ้นก็ควรได้รับการตรวจรักษา ต้องยอมรับมีความรู้เข้าใจเพื่อทันการแก้ไข
อีกทั้งควรเป็นกำลังใจให้กับผู้เจ็บป่วยได้ฟื้นคืนกลับมาเป็นคนเดิม มีความสุขกับครอบครัวดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข.
|
|