เตือน นอนเตียงเดียวกับลูกเสี่ยง “โรคไหลตายในเด็ก”
เด็กทารกที่นอนเตียงเดียวกับคุณแม่เสี่ยงต่อการเกิด "โรคไหลตายในเด็ก" หรือ เอสไอดีเอส มากกว่าเด็กทั่วไป ทีมงานวิจัยแนะแยกเตียงนอนเพื่อป้องกันเด็กเสียชีวิต
Journal of Pediatrics พบว่า บรรดาเหล่าคุณแม่เกือบครึ่งหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ Infants and Children (WIC) program ของอเมริกาได้รับการแนะนำให้ลูกนอนในเตียงของเขาเอง หลังจากที่พวกเธอทราบในเรื่องของความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกมีอาการหมดลมหายใจอย่างเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กอ่อนวัย 0-1 ขวบ หรือที่เรียกกันว่า "โรคไหลตายในเด็ก" (เอสไอดีเอส) แล้ว พบว่า แล้ว 1 ใน 3 ของบรรดาเหล่าคุณแม่ยังคงนิยมที่จะให้ลูกนอนเตียงเดียวกับพวกเธออยู่ดี
ดร. Linda Y. Fu หนึ่งในนักวิจัยจาก American Academy of Pediatrics (เอเอพี) กล่าว ณ Children's National Medical Center ในวอชิงตัน ดีซี ว่า "เราค่อนข้างแนะนำให้คุณพ่อ-คุณแม่แยกเตียงระหว่างคุณพ่อ-คุณแม่กับลูก"
อย่างไรก็ดี ดร.Fu และทีมงานเผยว่า นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1992 เมื่อเอเอพีได้มีการแถลงเกี่ยวกับการให้เด็กทารกควรนอนในเตียงของเขาแล้วนั้น อัตราการตายของเด็กอันเนื่องมากจากสาเหตุของโรคไหลตายในเด็กนี้ลดลง ถึงแม้ว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมาจะมีเด็กที่เสียชีวิตจากเอสไอดีเอสก็ตาม ทั้งนี้ หลังจากที่เอเอพีได้มีคำแนะนำในเรื่องนี้ออกมาเมื่อ 3 ปีที่แล้วว่า เด็กแรกเกิดจนถึง 1 ขวบนั้นควรนอนห้องเดียวกับคุณพ่อ-คุณแม่ เพื่อที่ว่าจะง่ายต่อการดูแลลูก แต่ไม่ได้หมายถึงว่า จะต้องนอนเตียงเดียวกัน
จากการสังเกตว่า คุณพ่อ-คุณแม่ส่วนใหญ่แล้วให้ลูกนอนอย่างไรนั้น นักวิจัยได้สังเกตคุณแม่ 708คนที่มีลูกอยู่ในช่วง 8 เดือน และกำลังเข้าร่วมโปรแกรมของWIC ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะช่วยเหลือครอบครัวที่คุณแม่มีรายได้น้อย
ทางทีมงานวิจัยในครั้งนี้พบว่า 48.6% ของคุณแม่ ได้ให้ลูกนอนอยู่ในห้องเดียวกันแต่แยกเตียงนอนระหว่างแม่กับลูก ในขณะที่อีก 32.5%ยังคงให้ลูกนอนเตียงเดียวกับกับคุณแม่ และมีเพียง 18.9%ที่แบ่งห้องนอนให้ลูกเลย ไม่ได้นอนห้องเดียวกัน
ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยพบว่าคุณแม่ที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นจะนิยมให้ลูกนอนเตียงเดียวกันกับเขาน้อยกว่าคุณแม่ที่ได้รับการศึกษาระดับหนึ่ง ทั้งนี้ คุณแม่ชาวอัฟริกันและอเมริกันก็ยังคงให้ลูกนอนเตียงเดียวกับพวกเธอมากกว่าชาติอื่นๆ ดังนั้นทำให้คุณแม่ทั้ง2กลุ่มนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ลูกของพวกเขาตกอยู่ในภาวะอันตรายอย่าง เอสไอดีเอสค่อนข้างสูง
เรียบเรียงจาก รอยเตอร์ เฮลท์