แถบ 7 สีของทีวี มีไว้ทำอะไร?
แถบสี 7 สีในโทรทัศน์มีไว้แสดงสีหลักทางจอทีวี
เรื่องของเรื่องเริ่มจากภาพที่เราเห็นทางทีวีนั้น
เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนภาพที่ถ่ายเป็นสัญญาณไฟฟ้า
แล้วแพร่สัญญาณไปกับคลื่นวิทยุด้วยความเร็วของแสง
สีที่เกิดบนจอโทรทัศน์เกิดจากการผสมแสงสีต่างๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
สีของแสงไม่ได้ผสมกลมกลืนเหมือนในถาดผสมสีแบบที่เราระบายรูป
แต่เป็นการผสมของสีสองสีที่ต้องแสงสีขาวเน้น
ความเข้มอ่อนเป็นเฉดสีต่างๆ ได้เกือบทุกสี
แม่สีสำหรับโทรทัศน์คือ แดง เขียว และน้ำเงิน
เมื่อแสงสีแดงผสมเขียวจะได้สีเหลือง เมื่อน้ำเงินผสม
กับแดงจะได้สีแดงม่วง และเมื่อเขียวผสมฟ้าก็จะได้สีน้ำเงินเขียว
สีของแสงทั้งหมดที่พูด คือ แดง เขียว ฟ้า เหลือง
แดงม่วง น้ำเงินเขียว และขาว ก็คือ สี 7 สี ที่ปรากฏเป็นแถบทาง
จอทีวี โดยเฉพาะเวลาที่ปิดสถานีเราก็จะเห็นแถบสีนี้ขึ้นมา
ว่าแล้วก็เล่าต่อซะหน่อยเรื่องกระบวนการส่ง-รับสัญญาณภาพสี
ในหนังสือ"รู้รอบ ตอบได้" ของรีดเดอร์ส ไดเจสท์
ระบุว่า เมื่อกล้องโทรทัศน์กำลังจับภาพใดอยู่นั้น
ก็จะแยกแสงจากภาพนั้นออกเป็นแม่สีทั้งสาม
จากนั้นจึงส่งแต่ละสีไปยังหลอดสีต่างๆ ในกล้อง
โดยผ่านทางจานแก้วที่เรียกว่า จานสัญญาณ
ด้านหลังของจานสัญญาณมีเป้ารับที่นำไฟฟ้า
เมื่อโดนแสงกระทบ แสงที่ผ่านชั้นสารดังกล่าวนั้นยิ่ง
สว่างมากขึ้นเท่าใด ปริมาณไฟฟ้าก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
แสงทำให้เกิดลวดลายของประจุไฟฟ้า
พื้นที่ซึ่งมีแสงสว่างที่สุดก็คือพื้นที่ซึ่งมีประจุไฟฟ้ามากที่สุด
ตัดตอนมาที่เครื่องรับภาพ หรือตัวทีวีในบ้านเรา
หลอดภาพของทีวีจะทำงานคล้ายกล้องถ่ายภาพ
โทรทัศน์ที่ย้อนขั้นตอน มันจะเปลี่ยนสัญญาณไฟ
ฟ้าให้เป็นลวดลายของสีต่างๆ
ปลายข้างหนึ่งเป็นเครื่องยิงอิเล็กตรอน อีกปลายหนึ่งคือจอภาพ
เครื่องยิงอิเล็กตรอนนี้ ประกอบด้วยหลอดยิงลำ
แสงอิเล็กตรอน 3 หลอด ด้านหลังของจอเคลือบ
ด้วยวัสดุวาวแสงเป็นแถบในแนวตั้ง เรียกว่าฟอสเฟอร์
มีสีแดง เขียว และฟ้าสลับกัน
ส่วนด้านหลังของจอมีตะแกรงรับแสง ทำเป็นช่องในแนวตั้งเรียงตรงกัน
แถบนี้จะทำให้ลำแสงแม่สีแต่ละลำพุ่งไปถูกสารเรืองแสงของสีที่ตรงกัน
พลังลำแสงของอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณภาพ
ลำแสงที่กระทบจอตามจุดต่างๆ ด้วยความสว่างต่างๆ กันไป
ทำให้เกิดลวดลายแสงเหมือนที่กล้องจับได้
ต้นทางเป็นอย่างไร ปลายทางก็เป็นอย่างนั้น
ที่มาจาก คอลัมน์รู้ไปโม้ด หนังสือพิมพ์ข่าวสด