ครีมกันแดด ที่โฆษณากันครึกโครม จำเป็น และ เป็นจริง แค่ไหน

"ครีมกันแดด" เป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นของคนสมัยใหม่ ที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันรังสียูวี ซึ่งเป็นต้นเหตุของริ้วร้อยและโรคมะเร็งผิวหนัง แต่เรารู้จักสิ่งนี้ดีแค่ไหน และโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณมากมาย มีความเป็นจริงหรือไม่ ?!?

วันนี้มีผลการทดสอบผลิตภัณฑ์กันแดด ทั้งประเภทครีม โลชั่นและสเปรย์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทดลองไว้มาฝากผู้อ่าน

หลังจากที่ห่างหายไปนานพอสมควร การทดลองครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาดมีค่า SPF ที่แท้จริงเท่าไหร่ และมีประสิทธิภาพในการกันน้ำ ตามที่แจ้งไว้บนฉลากหรือไม่ โดยมีอาสาสมัครอุทิศแผ่นหลังและท้องแขน เพื่อการทดลองประมาณ 10 -14 คน ต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์


จากการทดสอบพบว่า

- ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF ใกล้เคียงกับที่กำหนดไว้บรฉลาก หรือไม่ก็มีมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีผลิตภัณฑ์ 3 ชิ้นที่มีค่า SPF ต่ำกว่าที่แจ้งไว้ และ 1 ในนั้นมีค่า SPF ไม่ถึงครึ่งของที่แจ้งไว้

- ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เหลือประสิทธิภาพในการกันแดดมากกว่าร้อยละ 50 ภายหลังที่ผิวหนังถูกน้ำ
 
ตามรายละเอียด ดังนี้

1. นีเวีย - Nivea Sun Moisturising Sun Spray SPF 15 
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง คือ 16.9  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 65 %
    นีเวีย - Nivea Sun Soin Hydratant Lait Protecteur 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง คือ 23.7  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 61 %

2. บู๊ทส์ - Boots Soltan Moisturising Sun Care Lotion SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง คือ 15.2  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 70 %


3. เทสโก้ - Teso Sun Protection 15 Mediium SPF
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 12  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 69 %

4. Marks & Spencer Sun Formula Moisturising Lotion SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 7.1  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 92 %


5. เอวอน - Avon Bronze SPF 15 Sensitive Sun Lotion Spray
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.1  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 85 %


6. การ์นีเย่ - Garnier Ambre Solaire Moisturising Protection Milk SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 16.3  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 80 %
    การ์นีเย่ - Garnier Solaire clear Protect SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.7  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 83 %
    การ์นีเย่ - Garnier Solaire clear Protect SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.1  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 86 %


7. ลอรีอัล - Solar Expertise Advanced  anti-ageing Sun Protection Lotion SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 15.8  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 80 %
    ลอรีอัล - Solar Expertise Lait Solaire Protection Avance SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.3  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 81 %
    ลอรีอัล - Solar Expertise Lait brumiseur Protection Avance SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 27.8  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 54 %


8. ร็อค - ROC Minesol Lait Spray SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 27.3  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 60 %


9. Vichy Capital Soleil Lait Gel SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.1  - % ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 51 %

 

ครีมกันแดด ที่โฆษณากันครึกโครม จำเป็น และ เป็นจริง แค่ไหน


---------------------------------

ไขข้อข้องใจ เรื่องผลิตภัณฑ์กันแดด
โดย รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกูล


- หลักการเลือกครีมกันแดด
1. ผู้ที่ทำงานในอาคารและเดินทางโดยไม่ต้องถูกแสงแดดมาก เช่น ขับรถส่วนตัวหรือนั่งรถไฟฟ้า สามารถทาครีมกันแดด SPF 6 - 14 หรือไม่อาจจำเป็นต้องทาเลยด้วยซ้ำไป
2. ผู้ที่ต้องเดินทางนอกสถานที่เป็นประจำ ควรเลือกครีมกันแดด SPF ระหว่าง 15 - 29
3. ผู้ที่ไปเที่ยงกลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดที่มี SPF สูงๆ แต่พวกค่า SPF 130 ถือว่าไม่มีความจำเป็น ทั้งนี้ อย.ของสหรัฐรับรองครีมกันแดดค่า SPF สูงสุดที่ SPF 50 เท่านั้น


- ปริมาณการใช้ที่เหมาะสม
ควรเน้นทาให้ทั่วใบหน้าหรือลำตัว ทั้งนี้ ตามหลักวิชาการระบุว่า ควรทาครีมกันแดดหนาประมาณ 2 มิลลิกรัมต่อ 1 ตร.ซม. นอกจากนี้ ควรทาทิ้งไว้ก่อนออกแดดนาน 15 - 30 นาที และควรทาซ้ำทุก 2 - 3 ชั่วโมง


- การที่โฆษณาระบุว่า ควรทาครีมกันแดดแม้ในวันที่ไม่ต้องถูกแดด จริงหรือเท็จอย่างไร
งานวิจัยพบว่าหลอดไฟมีรังสียูวีเอ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดริ้วรอยบนใบหน้า อย่างไรก็ตาม แสงจากหลอดไฟถือเป็นความเสี่ยงที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียด มลภาวะ การรับประทานอาหาร ดังนั้น จึงไม่ควรใส่ใจมากเกินไป เชื่อว่าผู้ขายคงต้องการขายสินค้าให้ได้มากๆ เท่านั้น


การทาครีมกันแดดมากเกินไปเป็นประจำ อาจสร้างปัญหาใหม่ คือ การสะสมสารเคมีที่ผิวหนัง

- การที่โฆษณาระบุว่า ผลิตภัณฑ์ที่มี "ไลโปโซม" จะช่วยพาครีมสู่ผิวหนังชั้นนอก ทำให้เนื้อครีมไม่หลุดง่ายนั้น จริงหรือเท็จอย่างไร
เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะไลโปโซมเป็นเทคโนโลยี ที่มีจุดประสงค์ในการนำส่งตัวยาหรือสารอาหารเข้าสู่ผิวหนัง แต่ไม่มีความจำเป็นในแง่ของเครื่องสำอาง เนื่องจากไลโปโซมคงตัวได้ไม่ดีและมักสลายตัวระหว่างการเก็บรักษา


-  ไทเทเนียมออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ ที่เป็นส่วนผสมในสารกันแดด มีอันตรายหรือไม่
สารทั้ง 2 ชนิดถูกจัดอยู่ในประเภทปลอดภัย ทำหน้าที่สะท้อนรังสียูวีออกจากผิวหนัง โดยการเคลือบผิวหนัง และสามารถล้างออกได้โดยการล้างหน้าหรืออาบน้ำ อย่างไรก็ตาม อย.อนุญาตให้ใส่สารทั้ง 2 ชนิดได้ไม่เกิน 25 %


---------------------------------------
ที่มา นิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ฉบับที่ 93 โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เขียนโดย กองบรรณาธิการ

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์