โฮ่..โฮ่..โฮ่...วิทยาศาสตร์ในวันคริสต์มาส

โฮ่..โฮ่..โฮ่...วิทยาศาสตร์ในวันคริสต์มาส


1.25 ธ.ค. วันเกิดพระเยซู?

เป็นที่รู้กันดีว่า พระเยซูประสูติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม หรือ "วันคริสต์มาส"

แต่นายเดฟ รีนีก นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวออสเตรเลีย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน คำนวณดูดวงดาวที่เกิดขึ้นในเมืองเบธเลเฮม เมื่อ 2008 ปีก่อน ตามที่ไบเบิ้ลระบุว่า ชาย 3 คนเดินตาม "ดาวต้นคริสต์มาส" จนพบพระเยซู

รีนีก พบว่า มี "ดาวต้นคริสต์มาส" เกิดขึ้นใน 2 ปีก่อนคริสตกาลจริง แต่พระเยซูน่าจะประสูติในวันที่ 17 มิถุนายน ไม่ใช่วันที่ 25 ธันวาคม

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดาวต้นคริสต์มาสคือดาวศุกร์และดาวพฤหัสที่โคจรเข้ามาใกล้กันมาก จนทำให้เกิดแสงสุกสกาวมากกว่าปกติ




2."ดาวต้นคริสต์มาส"เจิดจ้ากลางฟ้า     

วิลเลียม เฮอร์เชล เป็นบุคคลแรกที่เห็นดาวต้นคริสต์มาส หลังจากที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1784 แสงของกลุ่มดาวเป็นประกายระยิบระยับคล้ายกับไฟประดับต้นคริสต์มาส และมีดาวที่สว่างที่สุดอยู่ด้านบน

ส่วนปีนี้นักดาราศาสตร์ยุโรป นำภาพดาวต้นคริสต์มาสมาฝากกัน โดยใช้กล้อง "ไวด์ ฟีลด์ อิมเมจเจอร์ (WFI)" ที่หอดูดาวลาซิญญ่า ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงในทะเลทรายอะตาคามา ประเทศชิลี ถ่ายรูปนี้ออกมา จะเห็นกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศ หรือ "เนบิวลา"  ที่มีชื่อว่า "NGC 2264" มีลักษณะเป็นทรงกรวย และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,600 ปีแสง รวมทั้งกลุ่มดาว

ภาพส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นสีแดงนั้น เกิดจากลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ที่เปล่งแสงออกมาใต้แสงอัลตราไวโอเลตที่ออกมาจากดวงดาวที่มีอายุน้อยกว่า สำหรับดวงดาวที่มีสีอมน้ำเงิน เป็นเพราะเป็นดาวที่มีความร้อนกว่า อายุน้อยกว่าและมีความหนาแน่นกว่าพระอาทิตย์ของเรา

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์