ดูหนาวปีนี้หิมะตกมากเหลือเกิน ศ.เคนเนธ ลิบเบรก นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
จึงตีพิมพ์การศึกษาลักษณะต่างๆ ของ "สโนว์เฟลก" หรือ "เกล็ดหิมะ" ที่ท่านศึกษาด้วยการถ่ายภาพมานานถึง 11 ปี ในหนังสือชื่อ "สโนว์เฟลกส์"
ศ.ลิบเบรกกล่าวว่า "การถ่ายรูปเกล็ดหิมะนั้นยากมาก เพราะเกล็ดมีขนาดเล็ก ไม่สามารถใช้เทคนิคถ่ายภาพระยะใกล้คือแม็กโครได้ ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคปที่มีประสิทธิภาพสูง อุปกรณ์ต่างๆ ของกล้องยังต้องติดตั้งและใช้งานง่าย ทนต่อความหนาวเย็น ลม ความชื้นได้ดี เพราะต้องถ่ายภาพข้างนอกที่อุณหภูมิติดลบ เราต้องถ่ายรูปเป็นจำนวนมากด้วย เพื่อคัดเลือกรูปภาพที่ดีที่สุด"
สโนว์เฟลก
"เกล็ดหิมะ" เกิดโดยไอน้ำรวมตัวกับฝุ่นจนกลายแกน และพัฒนาเป็นผลึกน้ำแข็งรูปหกเหลี่ยม จากนั้นจะดึงเอาไอน้ำรอบๆ มาสร้างกิ่งต่อไป ลักษณะของเกล็ดหิมะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
ศ.เคนเนธรวบรวมรูปแบบของเกล็ดหิมะมาได้ 35 แบบ เช่น "สเตลลาร์เดนไทรส์" เป็นเกล็ดที่มีลักษณะคล้ายกับจาน มีทั้งกิ่งใหญ่ 6 กิ่ง และมีกิ่งย่อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร เกิดเมื่ออุณหภูมิระหว่าง -2 ถึง -15 องศาเซลเซียส
"เฟิร์นไลก์ สเตลลาร์ เดนไทรส์" เป็นเกล็ดหิมะที่ใหญ่ที่สุด มีลักษณะคล้ายใบเฟิร์น เส้นผ่าศูนย์กลางราว 5 มิลลิเมตร มีกิ่งใหญ่ 6 กิ่ง และมีกิ่งเล็กๆ มากมาย
"12 ไซด์ สโนว์เฟลก" มีกิ่งใหญ่ 12 กิ่ง แต่ละกิ่งทำมุม 30 องศาห่างกัน