นักชีววิทยาอเมริกันพบว่า น้ำในแม่น้ำคงคา อันเป็นแม่น้ำที่ชนชาวฮินดูถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์หลายช่วง เต็มไปด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ ที่ล้วนเป็นโรคเนื้อร้าย
แพลงก์ตอนเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งไม่สามารถว่ายน้ำไปตามต้องการได้อิสระ จำแนกได้เป็น แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ โดยเหตุที่แพลงก์ตอนมีความสำคัญ เป็นข้อต้นของห่วงโซ่อาหาร ของสัตว์ต่าง ๆ เมื่อพวกมันเป็นเนื้อร้าย ก็จะพลอยทำให้ปลาเล็กปลาน้อยซึ่งกินมันเป็นอาหารพลอยติดโรคไปด้วย และเมื่อปลาใหญ่กินปลาเล็กกินอาหารอีกทอดหนึ่ง ก็พลอยติดโรคต่อกันไปเป็นทอด ๆ ซึ่งจะรวมถึงคนที่ไปกินปลาในแม่น้ำเป็นอาหารในที่สุด
นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯได้เก็บตัวอย่างน้ำในแม่น้ำคงคา ช่วงที่ไหลผ่านเมืองหริวอร์, กันปุระ, พาราณสี, ปัตนา และกัลกัตตาไปศึกษาที่ห้องปฏิบัติการในอเมริกา และได้นำมารายงานในที่ประชุมนักวิทยาศาสตร์ที่เมืองปัตนาว่า "มันเป็นเครื่องแสดงว่า แม่น้ำคงคามีปัญหาสุขภาพของสิ่งแวดล้อม และถ้าหากแพลงก์ตอนต้องตายเกลี้ยง ในแม่น้ำก็จะไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย" และกล่าวเสริมว่า "เป็นเพราะการทิ้งขยะมูลฝอยลงแม่น้ำ ไปเลี้ยงให้พวกแบคทีเรียเจริญเติบโต"
เคยมีการประมาณว่า นับแม่น้ำคงคาช่วงตั้งแต่เมืองกอมุก ไปจนไหลลงสู่อ่าวเบงกอล ระยะทาง 2,510 กม.ได้มีการปล่อยน้ำโสโครกทิ้งลงสู่แม่น้ำเป็นปริมาณเกือบ 1 พันล้านลิตร
แม่น้ำคงคามีมลพิษ เต็มไปด้วยแพลงก์ตอนสัตว์เป็นมะเร็ง
เครดิต : ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!