ปวดศรีษะเรื้อรัง

ปวดศรีษะเรื้อรัง


ปวดศีรษะเรื้อรังมีกี่แบบ...

         อาการปวดศีรษะมีประมาณ  5%   เท่านั้นที่เกิดจากโรคต่างๆ  เช่น  ความดันโลหิตสูง ไซนัสอักเสบ เนื้องอกหรือฝีในสมอง หลอดเลือดสมองแตก เป็นต้น ส่วนที่เหลืออีกประมาณ  95% การแพทย์ตะวันตกยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน  แต่ก็ได้แบ่งตามลักษณะการปวดดังนี้:

  • ปวดศีรษะแบบไมเกรน (Migraine Headache)
  • ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache) 
  • ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) 
  • ปวดศีรษะแบบผสม (Mixed Headache)

     

ปวดแบบไหนถึงเรียกว่าไมเกรน...


           ไมเกรนเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย  แต่พบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ  22-55 ปี  ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย 3 เท่าประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยไมเกรนมีประวัติครอบครัวเป็น
โรคนี้ด้วย ซึ่งมักจะมีอาการดังนี้: 

  • ปวดตุบๆ ที่ขมับหรือเบ้าตาซีกใดซีกหนึ่งตามจังหวะการเต้นของชีพจร  แต่บางครั้งก็อาจปวดแบบตื้อๆ ก็ได้ อาจปวดสลับข้างในแต่ละครั้งหรือปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง มักปวดนาน
    เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ 
  • ก่อนปวดหรือขณะปวดอาจมีอาการตาพร่า ตาลาย เห็นแสงว็อบแว็บหรือตามืดมัวไป
    ครึ่งซีก 
  • ถ้าปวดรุนแรงจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนด้วย

     

ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวมีลักษณะอย่างไร...


          ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและพบบ่อยหลังมีความเครียดความกังวล  การใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีความแปรปรวนของอารมณ์  ซึ่งมักจะมี
อาการดังนี้: 

  •  ปวดเหมือนถูกคีมหนีบไว้หรือถูกผ้ารัดไว้แน่นๆ
  •  มีลักษณะปวดตื้อๆ หนักๆ บางคนอาจปวดจี๊ดบริเวณต้นคอ ท้ายทอย ดวงตาหรือขมับบางรายอาจปวดตื้อไปทั่วศีรษะ
  • มักจะปวดตอนบ่ายๆ หรือเย็นๆ เวลาหายก็มักจะหายไม่สนิท จะรู้สึกตื้อๆ ที่ศีรษะอยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งต่างจากไมเกรนที่ปวดรุนแรงแต่บทจะหายก็จะไม่เหลืออาการปวดเลย



คลัสเตอร์... อาการปวดศีรษะที่รุนแรงที่สุด

         ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์หรือที่เรียกว่าปวดศีรษะจนแทบอยากจะฆ่าตัวตายนั้น มักจะพบ
ในผู้ชาย ไม่เหมือนกับไมเกรนที่พบในผู้หญิงมากกว่า ซึ่งมักจะมีอาการดังนี้:

  •  ปวดตุบๆ บริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง
  • รู้สึกร้อนแปล๊บที่หน้าผากเหมือนมีมีดร้อนๆ มาทิ่ม 
  • คัดจมูก ตาข้างที่ปวดจะแดงฉ่ำและน้ำตาไหล 
  • มักจะปวดตอนกลางคืนและปวดตรงเวลาทุกวัน อาจนานเป็น 10-20 นาทีหรือเป็นชั่วโมง บางรายอาจปวดเรื้อรังเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
  • เวลาปวดจะมีอาการรุนแรงจนอยู่เฉยไม่ได้ต้องเดินไปมา ซึ่งต่างกับไมเกรนที่เวลาปวดมักอยากนอนเฉยๆ ในห้องมืดๆ

   ใครมีโอกาสปวดศีรษะแบบผสม...

         ปวดศีรษะแบบผสมคือ มีทั้งอาการไมเกรนและอาการปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวหรืออาการปวดศีรษะแบบอื่นๆ ร่วมกันในเวลาเดียวกัน สาเหตุของการปวดศีรษะแบบผสมที่พบบ่อยที่สุดคือ การใช้ยาแก้ปวดเกินขนาด ผู้ป่วยที่มีประวัติไมเกรนหรือปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว หากทานยาแก้ปวดเป็นประจำมักจะพัฒนาเป็นการปวดศีรษะแบบผสมเมื่ออายุ 30-40 ปี 


 
   สาเหตุปวดศีรษะเรื้อรังในทัศนะการแพทย์ตะวันตก...

         ถึงแม้ว่าปัจจุบันการแพทย์ตะวันตกได้เจริญก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของการปวดศีรษะแบบไมเกรนหรือคลัสเตอร์ได้ เพียงแค่สันนิษฐานว่าไมเกรนหรือคลัสเตอร์อาจเกิดจากการบีบตัวหรือขยายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ จึงเป็นผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว  ส่วนสาเหตุการปวดศีรษะจาก กล้ามเนื้อตึงตัวนั้น  ถึงแม้เมื่อก่อนมีทฤษฎีว่าเกิดจากอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและรอบศีรษะ แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะต่างเชื่อกันว่าน่าจะมีสาเหตุเช่นเดียวกันกับการปวดศีรษะแบบไมเกรนและคลัสเตอร์ 


  
   สาเหตุปวดศีรษะเรื้อรังในทัศนะการแพทย์จีน...

          ภาวะหยางในตับลอยขึ้นไปกระทบบนศีรษะ ในตับและไตมีทั้งหยินและหยาง ไตต้องส่งหยินหรือความเย็นในไตไปหล่อเลี้ยงตับเพื่อไม่ให้หยางหรือความร้อนในตับมีมากเกินไป แต่เนื่องจากไตเสื่อมลงตามวัยหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะส่งผลให้เกิดภาวะไตอ่อนแอ ไตจึงไม่สามารถส่งหยินหรือความเย็นในไตไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอทำให้หยางหรือความร้อนในตับมีมากเกินไปจนลอยขึ้นไปกระทบบนศีรษะซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติที่ความร้อนต้องลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง นอกจากนี้ อารมณ์ที่ตึงเครียด ตื่นเต้นหรือคิดมากเป็นประจำก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหรือเพิ่มความรุนแรงของภาวะหยางในตับ เมื่อความร้อนในตับลอยขึ้นไปกระทบบนศีรษะก็จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง หูอื้อตาลาย หน้าแดง ปากขม อารมณ์หงุดหงิด   โมโหง่าย ขี้หลงขี้ลืม อุจจาระแข็งหรือท้องผูกลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นเหลือง แขนขาเหน็บชา ลิ้นแข็ง พูดอ้อแอ้ ฯลฯ อาการปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูงก็เกิดจากสาเหตุนี้เช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อตับขาดความสมดุลก็จะมีการสร้างโคเลสเตอรอลมากเกินควร ทำให้หลอดเลือดแดงทั่วทั้งร่างกายแข็งและตีบมากขึ้นทั้งๆ ที่มีการควบคุมอาหารการกินและออกกำลังกายแล้วก็ตาม

         ภาวะเลือดเหนียวหนืดและจับตัวเป็นก้อน  ระบบการไหลเวียนของโลหิตต้องอาศัยพลังชี่หรือพลังลมปราณจากไตเป็นแรงผลักดัน เมื่อไตอ่อนแอลง พลังชี่ก็จะอ่อนลงไปด้วยทำให้พลังสะดุด เลือดเหนียวหนืดและจับตัวเป็นก้อนกีดขวางทางเดินของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง  เส้นลมปราณต่างๆ และหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงศีรษะติดขัดจนเกิดอาการปวด ศีรษะเรื้อรัง ดังเช่นทฤษฎีการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน  ปวดแสดงว่าไม่โล่งโล่งแล้วก็จะไม่ปวด  การติดขัดของเส้นลมปราณต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงศีรษะจะทำให้เกิดลักษณะการปวดศีรษะที่ต่างกัน อาทิ:

  • หากเส้นลมปราณเส้าหยาง   มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน 
  • หากเส้นลมปราณหยางหมิน   มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ 
  • หากเส้นลมปราณไท่หยาง   มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แบบกล้ามเนื้อตึงตัว 
  • หากเส้นลมปราณเจี๋ยยินหรือตูม่าย  มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณกลางศีรษะ 
  • หากเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะติดขัดพร้อมกันหลายเส้น ก็จะเกิดอาการปวดศีรษะในหลายๆ รูปแบบร่วมกัน

ปวดศรีษะเรื้อรัง


อัมพฤกษ์ อัมพาต... ความเสี่ยงที่จะตามมา

          ในทัศนะการแพทย์ตะวันตก  ผู้ป่วยปวดศีรษะเรื้อรังจะมีความเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ อัมพาตสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็น เนื่องจากอาการนำของการปวดศีรษะเรื้อรังจะคล้ายคลึงกับอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เช่น  ตาพร่า ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงและชา พูดไม่ชัด เป็นต้น และความเสี่ยงนี้จะเพิ่มสูงขึ้นหากมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ใช้ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนเป็นประจำ นอกจากนี้ ผู้ป่วยไมเกรนยังมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นมากถึง 5 เท่า 
          
           ส่วนการแพทย์จีนเห็นว่า  อาการปวดศีรษะเรื้อรังและอัมพฤกษ์ อัมพาตมาจากสาเหตุเดียวกัน   เพียงแต่ต่างกันที่ระดับความรุนแรงเท่านั้น อาการปวดศีรษะเรื้อรังเปรียบเสมือนเป็นสัญญาณเตือนภัย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจพัฒนาเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตเมื่ออายุเพิ่มขึ้น 

 
   วิธีการรักษาแบบองค์รวมของการแพทย์จีน...

          ปวดศีรษะเรื้อรังใช่ว่าแค่มีอาการปวดที่ศีรษะเท่านั้น หากแต่เป็นการสะท้อนถึงสภาพความเสื่อมโทรมของร่างกาย ดังนั้น การบำบัดรักษาจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่แก้ปวดเป็นครั้งคราวเท่านั้น แต่การแพทย์จีนยังให้ความสำคัญในการขจัดต้นเหตุของปวดศีรษะเรื้อรังโดยใช้วิธีดังนี้:

  • ทะลวงเส้นลมปราณเส้าหยาง หยางหมิน ไท่หยาง เจี๋ยยินและตูม่าย ซึ่งเป็นเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะให้โล่งสะอาด จึงบรรเทาอาการปวดศีรษะเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ขจัดภาวะตับมีหยางมากเกินไปซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการปวดศีรษะ
  • บำรุงรักษาไตเพื่อให้หยิน-หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินหรือความเย็นในไตไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ  และเมื่อตับอยู่ในภาวะสมดุลก็จะมีการสร้างโคเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ในขณะเดียวกันเมื่อไตแข็งแรงขึ้น  พลังชี่ซึ่งเป็นแรงผลักดันของเลือดก็จะสมบูรณ์ขึ้น  ระบบการไหลเวียนของโลหิตจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
            
      อาการปวดศีรษะเรื้อรังต่างๆ รวมทั้งอาการปวดศีรษะจากอุบัติเหตุและความดันโลหิตสูงจึงค่อยๆ ทุเลาลงและอาจหายไปในที่สุด...

หนังสือและเอกสารทางการแพทย์อ้างอิง

  • The encyclopaedia of traditional Chinese medical science
  • The Chinese meteria medica specified in pharmacopoeia of P.R. China    
  • The headache sourcebook  
  • Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating headache
      Journal of medical officer (April 1994, Vol.4 No.47) 
  • Influence of traditional Chinese medicine on experimental thrombosis 
  • Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating diabetes mellitus 
  • Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating hyperlipidemia 
  • Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating hypertension 
  • Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating angina pectoris of
      coronary heart disease (CHD) 
  • Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating angina pectoris of
  • Coronary Heart Disease hypertension, hyperlipidemia & diabetes mellitus
      2002 international conference on modernization of TCM abstract 
  • Clinical test report of TCM in treating diabetes mellitus 30 cases 
      Journal of Chinese practical medicine (2003, Vol.5 No.2) 
  • Clinical research on 30 cases of regulating the abnormal blood-lipid level with TCM
  • Chinese journal of modern clinical medicine (May 2003, Vol.4 No.5) 
  • Fujian journal of TCM (May 2002, Vol.33 No.5) 

ขอบคุณข้อมูล enwei


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม บันเทิงดารา


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์