เคล็ดไม่ลับโรคกระดูกพรุน ( Osteoporosis)
สำหรับคนไทยนั้นพบว่า ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย ด้วยหลายปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้เคยกล่าวไว้ในตอนที่แล้ว
ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกตะโพกหักนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานานทำให้เสี่ยงการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยไม่สามารถยกของที่มีน้ำหนักได้ตามปกติ รวมทั้งต้องเป็นภาระในการดูแลระยะยาวและมีแนวโน้มในการเสียชีวิตในที่สุด
นอกจากนั้นภาวะกระดูกพรุนยังส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกสันหลังอีกด้วย
เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง มีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น ตัวเตี้ยลง หลังค่อม ไม่มีเอว พุงยื่น การทำงานของอวัยวะภายในเลวลง การย่อยอาหารลำบาก การหายใจลำบาก เพิ่มความเสี่ยงกระดูกหัก อัตราตายสูงขึ้น
แต่ถ้าอาการกระดูกหักเกิดขึ้นที่ข้อมือ ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดบวมบริเวณข้อมือ มีปัญหาในการใช้งานโดยเฉพาะขณะที่ยังมีการอักเสบ กระดูกแตกหักง่ายแม้กระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย.
ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกตะโพกหักนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานานทำให้เสี่ยงการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยไม่สามารถยกของที่มีน้ำหนักได้ตามปกติ รวมทั้งต้องเป็นภาระในการดูแลระยะยาวและมีแนวโน้มในการเสียชีวิตในที่สุด
นอกจากนั้นภาวะกระดูกพรุนยังส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกสันหลังอีกด้วย
เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง มีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น ตัวเตี้ยลง หลังค่อม ไม่มีเอว พุงยื่น การทำงานของอวัยวะภายในเลวลง การย่อยอาหารลำบาก การหายใจลำบาก เพิ่มความเสี่ยงกระดูกหัก อัตราตายสูงขึ้น
แต่ถ้าอาการกระดูกหักเกิดขึ้นที่ข้อมือ ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดบวมบริเวณข้อมือ มีปัญหาในการใช้งานโดยเฉพาะขณะที่ยังมีการอักเสบ กระดูกแตกหักง่ายแม้กระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย.