แสงแดดช่วยป้องกัน โรคกระดูกพรุน
จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า ภาวะ กระดูกพรุน เกิดกับผู้หญิงสองในสาม หรือร้อยละ 64 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนทั่วโลก
เนื่องจากได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ประเทศที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร จะพบการขาดวิตามินมากกว่าประเทศที่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร เมื่อมี โรคกระดูกพรุนปัญหาต่อไปที่ตามมาคือ กระดูกหัก ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ เป็น นอกจากการส่งเสริมให้รับประทาน แคลเซียมเพื่อป้องกัน โรคกระดูกพรุน แล้ว การได้รับ วิตามินดี ก็เป็นส่วนสำคัญ
คนส่วนใหญ่ได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดมากกว่าการรับประทานอาหาร แม้ประเทศไทยจะอยู่ในเขตร้อนมีแสงแดดเกือบทั้งปี แต่คนไทยก็ยังขาด วิตามินดี เนื่องจากทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด บวกกับนิยมใช้ครีมกันแดด กันมากขึ้น
“ผมไม่ปฏิเสธว่าแสงแดดทำผิวหนังของเราเหี่ยวย่น และเสื่อมเร็วกว่าปกติ แต่การออกแดดเพียง 10-15 นาทีต่อวัน ก็เพียงพอต่อการได้รับวิตามินดี แล้ว และถึงแม้ว่าผิวหนังเราจะต้องตากแดดเกิน 15 นาที ร่างกายของเราก็จะมีกลไกป้องกันตัวเองอยู่แล้ว โรคกระดูกพรุน จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้ชายมีต้นทุนกระดูกมากกว่า ผู้หญิง เมื่อเทียบอายุของการขาด วิตามินดี ผู้หญิงจะพบโรคนี้ในอายุ 70 ปี ส่วนผู้ชายจะพบในอายุ 75 ปี ปัจจุบันเราพบโรคนี้ในคนวัย 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองเปลี่ยนไป เช่น หันมาออกกำลังกายในร่มมากกว่ากลางแดด การจำกัดอาหาร และค่านิยมที่มองว่าผิวขาวดีกว่าคล้ำ อัตราเสี่ยงเหล่านี้ส่งผลให้อนาคต โรคกระดูกพรุน อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป”
หากไม่ต้องการเป็น โรคกระดูกพรุน
ควรหันมาออกกำลังกายกลางแจ้ง รับแสงแดดวันละ 10-15 นาที หรือหากไม่มีเวลาการรับประทานที่มีวิตามินดี ก็ช่วยได้ เช่น น้ำมันตับปลา สัตว์ทะเลที่มีไขมันมาก ไข่ปลา ไข่ปูก็ช่วยได้ แต่อย่ารับประทานมากเกินไป เพราะอาหารเหล่านี้มีไขมันมาก วิตามินดี จะละลายในไขมัน แต่ถ้ารับประทานไขมันมากเกินความต้องการของร่างกายก็จะเป็นผลเสียได้
ที่มา นิตยสาร ขวัญเรือน