วัตถุระเบิด
วัตถุระเบิด หมายถึงวัตถุทางเคมี ที่มีความสามารถในการลุกไหม้และปลดปล่อยแก๊สปริมาณมากออกมาโดยฉับพลัน
วัตถุระเบิด หมายถึงวัตถุทางเคมี ที่มีความสามารถในการลุกไหม้และปลดปล่อยแก๊สปริมาณมากออกมาโดยฉับพลัน
1. ชนิดของแข็ง เช่น TNT. และ Ted triton
2. ชนิดของเหลว เช่น ไนโตรกรีเซอรีน และ เคมีจำพวกไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
3. ชนิดผง ได้แก่ ไดนาไมท์, PETN. และ แอมโมเนียมไนเตรท
4. ชนิดวัสดุผสม ได้แก่ Composition C-2, C-3 และ C-4 และดินระเบิด Tatting
1. ประเภทแตกหัก ได้แก่ TNT. Dynamite และ Ted triton ดินระเบิดชนิดนี้เมื่อระเบิด ไม่มีกลิ่น และไม่มีเขม่าควัน อำนาจระเบิดจะมีแรงกดดันสูง
สามารถทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีทำลายให้แตกป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ยกเว้น Dynamite วัสดุที่ถูกทำลายด้วยดินระเบิดชนิดนี้จะแตกหักเป็นชิ้นใหญ่ ๆ
2. ประเภทตัด ได้แก่ Composition C-2, C-3 และ C-4 ลักษณะเป็นผงผสมกับเรซิ่นเหลวจึงมีลักษณะนิ่ม อ่อนตัว สามารถบิและปั้นได้ เมื่อเกิดระเบิดไม่มีกลิ่นและเขม่าควัน อำนาจระเบิดมีความร้อนสูง
สามารถละลายตัดโลหะได้ในพริบตา แต่จะมีอำนาจทำลายเป็นบริเวณไม่กว้างมากนัก จึงนิยมนำไปใช้ในสถานที่คับแคบ เป็นดินระเบิดที่สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ดี
3. ประเภทเจาะ ได้แก่ ดินระเบิดโพรง และ แอมโมเนียมไนเตรท ดินระเบิดชนิดนี้เมื่อระเบิด จะมีกลิ่นรุนแรง และมีเขม่าควันสีดำจับบริเวณที่เกิดระเบิด โดยเฉพาะระเบิดแอมโมเนียมไนเตรทนั้น
วัสดุหลักมาจากปุ๋ยเคมีผสมกับแอมโมเนียม หรือน้ำมันดีเซล ในสถานที่เกิดระเบิด จึงมีกลิ่นฉุนเฉียวของแอมโมเนีย หรือกลิ่นของน้ำมันดีเซลอยู่ด้วย อำนาจแรงระเบิดส่วนใหญ่ของดินระเบิดชนิดเจาะสามารถบังคับทิศทางได้ด้วย
บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้ม และแรงระเบิดส่วนใหญ่หากวางไว้โดยไม่กำหนดทิศทาง จะเจาะลงพื้นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้เกิดหลุมระเบิด ณ บริเวณจุดที่ระเบิดขึ้นเสมอ และสังเกตจากสถานที่ถูกวางระเบิด วัสดุที่ถูกทำลายจะแตกหักเป็นชิ้นใหญ่ ๆ
ดังนั้นจึงนิยมนำไปใช้ในกิจการโรงโม่หิน เนื่องจากระเบิดแล้วจะได้หินก้อนใหญ่มาเข้าเครื่องบด หากใช้ TNT หินก็จะถูกระเบิดแตกป่นเป็นฝุ่นเสียส่วนใหญ่
ส่วนดินระเบิดโพรง หรือ เชจชาร์ฟ เป็นดินระเบิดประเภทเจาะที่ให้ความร้อนสูงมากสามารถละลายโลหะ หรือคอนกรีตหนา ๆ ให้ทะลุเป็นช่องได้ในพริบตา
จึงนิยมใช้เป็นดินระเบิดนำในหัวรบของจรวดต่อสู้รถถัง และใช้ในงานขุดเจาะบ่อหรืออุโมงค์เป็นส่วนใหญ่
4. ประเภทนำ ได้แก่ PETN. หรือ ฝักแคระเบิด ลักษณะเป็นสายเส้นยาวเหมือนสายไฟกลม ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง เหลือง หรือเขียวมะกอกคล้ายสายชนวนดินดำ ต่างกันที่วัตถุระเบิดที่บรรจุจะเป็นผงสีขาวผสมเรซิ่นเหลว
สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ โดยปกติ PETN. จะถูกนำไปใช้ต่อพ่วงกับดินระเบิดชนิดอื่น เพื่อให้สามารถวางระเบิดพร้อมกันได้หลาย ๆ จุดโดยการใช้เครื่องจุดระเบิด และเชื้อประทุเพียงชุดเดียว
นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในการตัดต้นไม้ หรือตัดเหล็กโดยการพันรอบแล้วจุดระเบิด
5. บังกะโลตอร์ปิโด เป็นดินระเบิด Composition C-4 บรรจุในท่ออะลูมิเนียมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้ว ยาวท่อนละ 1 เมตร มีข้อต่อสามารถนำมาต่อกันเป็นท่อนยาวได้ตามต้องการ บังกะโล ตอร์ปิโด
นิยมใช้วางและจุดระเบิดเพื่อเปิดทางที่เป็นละเมาะหนาทึบ แรงระเบิดของบังกะโลตอร์ปิโดสามารถทำลายทุ่นระเบิดที่ฝังไว้ใต้ผิวดินได้ทุกชนิด นิยมใช้เจาะช่องทาง และทำลายทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ใต้ผิวดิน
1. ดินระเบิด TNT และ Ted triton เป็นของแข็งและแห้ง สีเหลืองเจือขาวเล็กน้อยเหมือนก้อนกำมะถัน
ดินระเบิด TNT จะห่อหุ้มด้วยกระดาษแข็งสีเขียวมะกอกคาดเหลือง หัว-ท้ายปิดด้วยแผ่นเหล็ก ด้านหนึ่งมีรูสำหรับใส่เชื้อประทุ มีตัวอักษร TNT และ HI-Explosive ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน ขนาดบรรจุ 1/4 ปอนด์, 1 ปอนด์ และ 8 ปอนด์
ดินระเบิด Ted triton จะเป็นแท่งเปลือยไม่ปรากฏอักษรและสัญลักษณ์ใด ๆ ขนาดแท่งละ 1 ปอนด์ ร้อยต่อกันด้วยชนวนฝักแคระเบิดจำนวน 8 แท่ง สามารถตัดแยกออกไปใช้งานเป็นแท่งเดี่ยว หรือจะใช้บางส่วน หรือทั้งหมดก็ได้
2. ดินระเบิด Composition C-2, C-3 และ C-4 ลักษณะเป็นผงผสมกับเรซิ่นเหลว ในรุ่น C-2, C-3 มีสีเหลือง เมื่อจับต้องจะเหนียวติดมือ ส่วนรุ่น C-4 เป็นผงสีขาวสะอาด จับต้องได้ไม่ติดมือ
3. ดินระเบิดโพรง ลักษณะเป็นแท่งใหญ่ ด้านหนึ่งเป็นกรวยปลายป้าน มีรูใส่เชื้อประทุ ห่อหุ้มด้วยไฟเบอร์ทาสีดำ
4. แอมโมเนียมไนเตรท แบบมาตรฐานจะถูกบรรจุในถังสีเขียวมะกอก สูงประมาณ 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สำหรับแบบแสวงเครื่อง นิยมบรรจุใส่กระป๋องโลหะ อย่างเช่นกระป๋องนมผง
เนื่องจากดินระเบิดชนิดนี้มีลักษณะเหมือนวุ้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พาวเวอร์เจล และไม่นิยมห่อหุ้มด้วยกระดาษเพราะจะทำให้ดินระเบิดคลายความชื้น และเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว
5. ดินระเบิด Dynamite มีส่วนผสมจากไนโตรกรีเซอรีนกับเรซิ่นผง จึงมีลักษณะเป็นเกร็ดสีน้ำตาลเข้มคล้ายน้ำตาลทรายแดง ปกติห่อด้วยกระดาษไขสีน้ำตาลเป็นแท่ง ๆ ละ 1 ปอนด์
เครื่องจุดระเบิดมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ
1. ชนิดกด
2. ชนิดเลิกกด
3. ชนิดดึง
4. ชนิดเลิกดึง
5. ชนิดถ่วงเวลา
6. ชนิดแสวงเครื่อง
เชื้อประทุมาตรฐาน ลักษณะเป็นหลอดอะลูมิเนียมผิวเรียบ ขนาดเท่ากับหลอดยาหอม 5 เจดีย์ ความยาวเท่ากับบุหรี่ก้นกรอง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. ชนิดธรรมดา ใช้ประกอบกับสายชนวนดินดำ จุดด้วยไฟ
2. ชนิดไฟฟ้า ใช้ต่อกับสายไฟยาว จุดด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือ แมกนีโต
หมายถึงการประกอบวัตถุระเบิดเพื่อใช้งานจากวัสดุที่หาได้ใกล้ตัว วัตถุระเบิดแสวงเครื่องจึงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน อีกทั้งไม่มีตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ แสดงให้เห็นว่าเป็นวัตถุระเบิดอีกด้วย
วัสดุที่ใช้บรรจุและห่อหุ้มวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กัน มีดังนี้
1. ประเภทกระป๋อง ได้แก่ กระป๋องนมผง กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องใบชา ฯลฯ ที่มีขนาดใหญ่พอจะใส่วัตถุระเบิด พร้อมทั้งเครื่องจุดและสะเก็ดระเบิดได้
2. ประเภทหีบห่อ เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าหนีบ กล่องพัสดุ
3. ประเภทวัสดุก่อสร้าง เช่นท่อประปา ท่อเอสล่อน
4. ประเภทห่อหุ้ม เช่นใส่ในถุงพลาสติกแล้วพันด้วยเทปกาวให้แน่น
5. ประเภทวัสดุท้องถิ่น เช่น กระบอกไม้ไผ่ กระติบข้าวเหนียว หม้อหุงข้าว ถังใส่น้ำ ฯลฯ
ไม่มีลักษณะตายตัว แต่พอแบ่งออกได้ดังนี้
1. ชนิดสะดุด มักทำด้วยลวดและกับดักหนู หรือไม้หนีบผ้า
2. ชนิดดึง มักทำด้วยเชือกกับไม้หนีบผ้า หรือไม้หนีบทำเอง กับลิ่มกันไฟ
3. ชนิดตั้งเวลา ด้วยนาฬิกาควอซ หรือนาฬิกาปลุก
4. ชนิดไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์บังคับระยะไกล มักทำด้วยโทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ หรือ รีโมทคอนโทรล
1.ข้อปฏิบัติสำหรับบุคคลทั่วไป และเจ้าหน้าที่ ๆ มิใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด
*1.1. กันคนออกจากสถานที่ ๆ พบวัตถุต้องสงสัย ให้อยู่ห่างจากจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยอย่างน้อยที่สุด 100 เมตรโดยรัศมี
*1.2. อย่าแตะต้อง เคลื่อนย้าย หรือยกวัตถุต้องสงสัยโดยพลการ เพราะคนร้ายอาจติดตั้งชนวนกันเคลื่อนไว้ที่วัตถุระเบิดด้วย หากรีบยก หรือเคลื่อนย้ายโดยขาดความรู้ความชำนาญ ระเบิดจะทำงานทันที
หรือคนร้ายที่แฝงตัวอยู่ในบริเวณใกล้เคียง อาจกดเครื่องจุดระเบิดระยะไกลให้ระเบิดทำงานทันทีที่เห็นคน หรือเจ้าหน้าที่เข้าไปใกล้เพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดนั้น
(กรณีนี้เคยมีตัวอย่างที่ภาคใต้ โดยคนร้ายซ่อนวัตถุระเบิดไว้ในรถ จยย. เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปใกล้ จยย.คันดังกล่าวเพื่อตรวจสอบ คนร้ายได้จุดระเบิดทันที ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย และบาดเจ็บอีกหลายนาย)
*1.3. แจ้งเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานเก็บกู้วัตถุระเบิดเพื่อดำเนินการทันที
....เพิ่มเติม...
....ดินระเบิดทุกชนิด หากไม่ได้ประกอบไว้กับเชื้อประทุ จะไม่มีอันตรายใด ๆ สามารถนำมาเตะเล่นแทนตะกร้อก้อได้ หรือจะนำไปจุดไฟ ก้อจะได้เปลวไฟสว่างสีขาวนวล สามารถนำไปหุงต้มแทนฟืนได้เป็นอย่างดี....
................................................................
....ทั้งหมด คือ ความรู้ด้านวัตถุระเบิดในอดีตที่รับราชการเป็นทหาร นำมาเสนอเพื่อความรู้ อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยครับ....
สังกัดกองร้อยทหารช่างสนามที่ ๒
กองพันทหารช่างที่ ๕๒
กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์
© 2567 บริษัท ที่นี่มีเดีย จำกัด เข้าหน้าแรก Teenee.com
Youtube : teeneedotcom Line id : teeneedotcom Facebook id : teeneedotcom instagram : @teeneedotcom Twitter : teeneecom ติดต่อเรา