อย่าให้เด็กติดหวาน เพราะอาหารเสริม
ถ้าไม่อยากให้ลูกหลานฟันผุในอนาคต แนะลองหันมาทำอาหารเสริมปรุงสุกเอง Ffpอาหารทารกต้องรสไม่จัด ปรุงรสเจือจาง ไม่ใส่ผงชูรส ภาชนะ เครื่องปรุงต้องสะอาด...
"อาหารเสริม" หรือที่เรียกเป็นทางการว่า "ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร" นั้น จากงานวิจัยของกองทันตสาธารณสุข เมื่อปีที่แล้วพบว่าเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปถึงร้อยละ 52.7 ได้รับอาหารเสริมประเด็นที่ตามมาคือว่าอาหารเสริมปรุงสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูปเหล่านี้ มี น้ำตาลเป็นส่วนประ-กอบหลัก ในปริมาณที่สูง ส่งผลให้เด็กติดรสหวานในอนาคต ทำให้ฟันผุตามมา
วารสารฉลาดซื้อ ฉบับล่าสุดเดือนมิถุนายน ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้นำเอา ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร ที่ขายกันทั่วไปและติดอันดับต้นส่งให้สถาบัน วิจัยโภชนาการ ม.มหิดล ตรวจวิเคราะห์พบว่าบางชนิดมีน้ำตาลมากถึง 19.9 กรัมต่อ 100 กรัม
ถ้าไม่อยากให้ลูกหลานติดหวานหรือฟันผุในอนาคต น่าจะลองหันมาทำอาหารเสริมปรุงสุกเองกันดีกว่า นอกจากประหยัดตังค์ ปลอดภัย ไร้สารกันบูดแล้ว ยังทำให้เด็กได้กินอาหารสดใหม่อีกด้วย
ภญ.อ.ดร.สุญานี พงษ์ธนานิกร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้หลักเกณฑ์ในการให้อาหารเสริมแก่ทารกไว้ว่า ควรเริ่มทีละอย่างเพื่อดูว่าเด็กเกิดอาการแพ้หรือไม่ การเริ่มให้อาหารแต่ละชนิดควรเว้นห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ผื่นตามผิวหนัง ร้องกวนมาก ไอ หอบ
เริ่มให้ทีละน้อยจากครึ่งช้อนชา แล้วค่อยเพิ่มขึ้น ในขั้นตอนการเตรียมต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของอายุและพัฒนาการของเด็ก ผู้ปรุงต้องสนใจความสะอาดอย่างมาก ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนปรุง ภาชนะต้องต้มฆ่าเชื้อให้ สะอาด แยกจากคนอื่น อาหารต้องใหม่สด และต้องต้มสุกทั่วถึง ปรุงเสร็จต้องปิดฝากันแมลงวันตอม
อาหารทารกต้องรสไม่จัด ปรุงรสเจือจาง ไม่ใส่ผงชูรส เวลาป้อนอาหารเด็กต้องให้กินเป็นเวลา เป็นที่เป็นทาง ไม่เล่นไปด้วย หากเด็กปฏิเสธให้หยุดไปก่อนแล้วค่อยเริ่มใหม่ในอีก 3-4 วันหัดให้เด็กช่วยตัวเอง เช่น หัดถือช้อนเอง หัดหยิบอาหารเข้าปากเอง ไม่ควรให้น้ำหวาน กลูโคส น้ำอัดลม เพราะไม่มีประโยชน์ และทำให้ไม่อยากกินอาหารที่มีประโยชน์อีกด้วย.