โรคจากการทำงานเร็วหลายอย่างพร้อมกัน

ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ตภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต


โรคจากการทำงานเร็วหลายอย่างพร้อมกัน (Twenty-Four Seven)

         ถ้าหากคุณเป็นพวกที่สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ในขณะที่กำลังเช็กอีเมล์ทางคอมพิวเตอร์ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุมก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่ตรงหน้า

         ความว่องไวในการทำงานแบบนี้ คุณหมอเรียกว่าเป็น Multitasking สาเหตุหนึ่งของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงาน ที่เราเรียก Attention Deficit Trait หรือ ADT โรคนี้จะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ของคนทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน และต้องตื่นตัวตลอดเวลา

         ในวารสาร Harvard Business Review เดือนมกราคม 2548 มีบทความชื่อ Why Smart People Underperform เขียนโดย Edward M. Hallowell จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิ บอกว่าโรค ADT จะมีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น) ไม่ค่อยอดทน มีปัญหาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized) และการบริหารเวลา

         โรค ADT มักจะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การที่มีความรู้สึกว่ามีงานด่วนหรือมีสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ แล้วคุณพยายามที่จะจัดการกับงานให้สำเร็จ จะเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของโรค ADT เพราะเมื่อเรารับภาระความรับผิดชอบโดยไม่บ่น เราจะพยายามทำให้สำเร็จ ทั้งๆ ที่กำลังความสามารถและเวลาของเรามีไม่เหมาะสม คุณจะอยู่ในอาการรีบร้อนตลอดเวลาและขาดสมาธิ (Unfocused) เป็นไปได้ว่าสมองจะสูญเสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง เป็นผลให้งานที่ออกมาเป็นงาน ที่เร็วแต่ไม่ลึก การที่สมองจะต้องรับวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ลดลงตามไปด้วย

         ปัจจุบันดูเหมือนว่าเราต้องการความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่มีความเร็วมากกว่าจะทำงานได้มากกว่า คุณลองสังเกตว่าเวลาขึ้นลิฟต์ ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม "Close" เพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง

ดื่มน้ำน้อย ผลร้ายที่คุณคาดไม่ถึง

         ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ เลือดเราประกอบด้วยน้ำ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ กระดูกเราก็ประกอบด้วยน้ำ 22 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายเราเสียน้ำวันละ 2 ลิตรเศษ ถ้าเรารับน้ำเข้าไปไม่เพียงพอก็ถือว่าขาดน้ำ อวัยวะภายในจะรวนผิดปกติ เลือดจะข้น ยากที่หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ หัวใจจะตีบตันเสียก่อน ความจำก็จะเสื่อมหรือเป็นอัลไซเมอร์ เพราะเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ เส้นเลือดก็จะตีบตัน ลำไส้จะแห้ง ทำให้ท้องผูก เพราะภาวะสังคมที่รีบเร่งคนทำงานนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์มักไม่ค่อยอยากจะลุกไปเข้าห้องน้ำ ไม่ชอบดื่มน้ำซึ่งจะทำให้ปัสสาวะบ่อย

         แต่ถ้าบอกว่าคนไข้โรคความจำเสื่อมเป็นถึงระดับผู้บริหารใหญ่ๆ ดื่มน้ำวันละ 2-3 แก้ว ไม่เกิน 500 ซี.ซี. เลือดข้น  ไขมันสูง หมอส่วนใหญ่จะจ่ายยาละลายลิ่มเลือดให้ ทำให้เลือดใส แต่เหมือนการคนน้ำให้ตกตะกอน ก็ยังต้องใช้น้ำนำพาตะกอนออกมาอยู่ดี มันจะได้ไม่กลับไปอุดตันเส้นเลือดเหมือนเดิม 

ช่องทางในการขับของเสียออกจะมีอยู่ 5 ช่องทางด้วยกัน คือ

         1. ไต ขับออกมาทางปัสสาวะ
         2. ลำไส้ใหญ่ ขับออกมาทางอุจจาระ
         3. ปอด ขับออกมาทางลมหายใจ
         4. ผิวหนัง ขับออกมาทางเหงื่อ
         5. (สำหรับผู้หญิง) รอบเดือน ขับออกมาทางประจำเดือน

         เมื่อช่องทางการขับของเสียไม่สมบูรณ์ ร่างกายก็จะต้องพยายามหาทางออกให้ได้ เช่น เป็นสิว ฝ้ากระ ฝี ริดสีดวง ถ้าเรามีอาการดังที่กล่าว อาจแสดงถึงว่าร่างกายมีของเน่าเสียอยู่ภายใน เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ไม่ควรมองข้าม การกินหรือฉีดยาไม่ใช่วิธีเดียวในการรักษาหรือบำบัดโรคให้หายไป ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขทีหลัง!

FW


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์