ดาวหางไม่ได้เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่บนโลก

ดาวหางไม่ได้เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่บนโลก


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในนครซีแอตเทิล สหรัฐ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองการพุ่งชนโลกของดาวหาง พบว่าดาวหางไม่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกเมื่อหลายสิบล้านปีก่อน

นักวิจัยสร้างแบบจำลองวิถีการโคจรของดาวหาง
 
เพื่อสำรวจว่าเกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกกี่ครั้งที่มีสาเหตุมาจากดาวหางพุ่งชน เพราะก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ และคงจะมีอีกหลายครั้งก่อนหน้านี้ ซึ่งทำลายสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่จากแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยนาธาน เคบ และโทมัส ควินน์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
พบว่าในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา น่าจะมีดาวหางเพียง 2-3 ดวงเท่านั้นที่พุ่งชนโลก 


นักวิทยาศาสตร์บอกว่า

ดาวหางที่ถูกดูดเข้ามาในระบบสุริยจักรวาลมาจากพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลซึ่งเป็นที่รวมของเศษซากที่หลงเหลือจากการก่อรูปของระบบสุริยจักรวาลเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว ที่บริเวณนั้นคือต้นกำเนิดของดาวหางที่ผ่านเข้าใกล้โลก แต่วงโคจรของดาวหางดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงดึงดูดเมื่อเข้าใกล้ดาวฤกษ์ สิ่งนี้อาจกระตุ้นให้ดาวหางถูกดูดเข้ามาในระบบสุริยจักรวาล ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ และเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ฝนดาวตก 


อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้จากแบบจำลอง พบว่า

แม้จะมีดาวหางมากมายถูกดึงดูดเข้ามาในระบบสุริยจักรวาล แต่ดาวพฤหัสและดาวเสาร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ช่วยป้องกันโลกไว้ และมีดาวหางเพียง 2-3 ลูกที่พุ่งชนโลกในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา


โลกได้รับความเสียหายล่าสุดจากการพุ่งชนของดาวหาง เมื่อประมาณ 40 ล้านปีแล้ว แต่ในครั้งนั้นทำให้เกิดการสูญพันธุ์ขนาดย่อมของสิ่งมีชีวิต ดาวหางที่พุ่งชนเป็นส่วนหนึ่งของพายุฝนดาวตกที่มีจำนวนมากที่สุด ส่วนครั้งอื่นมีจำนวนน้อยลงและความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก. -สำนักข่าวไทย


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม บันเทิงดารา


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์