ประเภทของวิทยาศาสตร์
ประเภทของวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 พวกคือ
วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หมายถึงความรู้ขั้นพื้นฐานที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
ข้อเท็จจริง(เช่นไฟร้อนเป็นข้อเท็จจริงที่ใครๆก็รู้)
หลักการ ก็คือหลักการ (อ้าว พูดง่ายนะ อิอิหลักการผสมพันธ์สัตว์เป็นต้น)
ทฤษฎี (คือสิ่งที่ได้จากการทดลองและสรุปผล)
กฎต่างๆ เช่น กฎแรงโน้มถ่วง
วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี
คือการนำความรู้จากข้อ 1 มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เช่น การประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
นักวิทยาศาสตร์(Scientist)
หมายถึง บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่ทำการศึกษาวิทยาศาสตร์ แล้วนำความรู้ที่ได้มาตั้งเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฏีเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
นักวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่ศึกษาหาความจริงในธรรมชาติให้ลึกซึ้งและกว้างมากขึ้น แบ่งตามสาขาของวิทยาศาสตร์ เช่น นักเคมี นักชีววิทยา นักฟิสิกส์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ไอส์ไตน์
นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์
เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นำความรู้จากนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มาคิดสร้างสรรค์ต่อ เช่น นักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เภสัชกร เกษตรกร วิศวกร เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์บางท่านอาจเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และ
นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในคนๆเดียวกัน เช่น ไมเคิล ฟาราเดย์, กาลิเลโอ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไร
ก็ได้มาจากกระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั่นล่ะจำได้ไหม เช่น การทดลองเรื่องไข้ เอ้ย..ไข่ลอย ไข่จม ก่อนที่นักเรียนจะสรุปหลักการของไข่จมไข่ลอยได้นั้น นักเรียนต้องอาศัยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
สังเกต
(เช่น สังเกตว่าตอนแรกไข่จม พอใส่เกลือ..กลับลอยขึ้นมาได้ ไสยศาสตร์มีจริง เอ้ย..ไม่ใช่)
การตั้งปัญหา
(บางคนจะสงสัยว่าถ้าใส่เกลือไม่เท่ากัน ไข่จะลอยสูงต่างกันหรือไม่)
การตั้งสมมุติฐาน
(เป็นการคาดคะเนหาคำตอบหรือสิ่งที่เป็นไปได้ต่อไป เช่น หนูแจ๋วบอกว่าถ้าใส่เกลือต่างกันไข่จะลอยสูงขึ้นต่างกัน แต่หนูกะปอมบอกว่าใส่เกลือต่างกัน ไข่อาจจะลอยสูงเท่ากัน จะเห็นว่าสมมุติฐานยังไม่ใช่คำตอบที่ชัดเจน แต่จะนำไปสู่การทดลองต่อไปอีก
ออกแบบการทดลอง
การที่สองหนูจะตีกันตาย ต้องมีการออกแบบการทดลองสนับสนุนสมมุติฐาน เช่น กำหนดให้ใส่เกลือลงในน้ำที่มีปริมาตร150 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่ากัน โดยใส่เกลือเป็น 30 35 40 45 ช้อนเบอร์ 1 แล้วสังเกตความสูงของไข่ที่ลอยขึ้นทุกครั้ง
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเกลือกับความสูงของไข่ที่ลอยขึ้นทำให้สรุปได้ว่า ถ้าความเข้มของเกลือมากขึ้น ไข่ไก่จะลอยสูงขึ้น(ใชโย..หนูแจ๋วตอบถูก)
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง
1. ข้อเท็จจริง (Fact ) คือ
สิ่งที่มนุษย์พบว่าเป็นความจริง(เล่นง่ายดีนะอาจารย์ ^_^) แต่การบันทึกอาจคาดเคลื่อนได้
2.ข้อมูล (Data) หมายถึง
ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตหรือทดลอง แล้วนำข้อมูลเสนอข้อมูลก็มี 2 แบบคือ ข้อมูลเชิงปริมาณ(มักใช้กราฟหรือตารางข้อมูลบอก) และข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการบรรยายลักษณะและพฤติกรรมที่ปรากฏให้เราเห็นขณะทดลอง
3. กฎ (Law) หมายถึง
สมมุติฐานที่ได้รับการยอมรับว่าถูกต้อง มักเน้นความสัมพันะระหว่างเหตุและผล
4. ทฤษฎี (Theory) หมายถึง
สมมุติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆครั้ง จนเป็นที่ยอมรับกัน(อาจเปลี่ยนได้ถ้ามีข้อมูลที่ดีกว่าเก่ามาแก้)
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ : กิตติยาดอทคอท
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com