การเปลี่ยนแปลง ของเปลือกโลก

การเปลี่ยนแปลง  ของเปลือกโลก


การเปลี่ยนแปลง(แปรรูป) ของเปลือกโลก Diformation


แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่แบบรวดเร็วฉับพลัน (abrupt movements)

มักเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง จนทำให้เปลือกโลกจมตัวลงเป็นบริเวณกว้าง หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเคลือนที่ออกจากกันในแนวราบทำให้เกิดลุ่มน้ำขัง (swamps) หรือทะเลสาป เช่น ที่ราบลุ่มในภาคเหนือของประเทศไทย หรือที่ราบลุ่มตอนกลางที่เรียกว่าที่ราบลุ่มเจ้าพระยาของไทย

2. การเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนที่อย่างช้าๆ (slow movemants)

แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ เช่น แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิคเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ 5 เซนติเมตร/ปี เฉลี่ยทั้งโลก 5 - 8 เซนติเมตร/ปี

แผ่นเปลือกโลก


เปลือกโลก ประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6 - 10 แผ่น และมีแผ่นเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นหลายๆแผ่นต่อกันเหมือนแผ่นกระเบื้อง

ถ้าเป็นเพลทที่ประกอบกันเป็นเปลือกโลกทวีป (continenental plate) มีความหนาประมาณ 50 - 100 กิโลเมตร เคลื่อนที่เร็ว ประมาณ 2 เซนติเมตร/ปี

ถ้าเป็นแผ่นเปลือกโลกที่ประกอบกันเป็นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic plate) จะมีความหนาประมาณ 10 - 20 กิโลเมตรเคลื่อนที่เร็วประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร/ปี

การเปลี่ยนแปลง  ของเปลือกโลก


ลักษณะที่แผ่นเปลือกโลกกระทำต่อกัน


1. การชนกันหรือเคลื่อนเข้าหากัน

จะทำให้เเพลทใดเพลทหนึ่งมุดหัวทิ่มลงขณะที่อีกเพลทเงยหัวสูงขึ้น(ไม่ใช่ชนช้างนะจารย์ ^_^...แหมไม่รู้จะบอกอย่างไรจึงจะให้นึกภาพออกง่ายๆ...^_^.. เรียกสภาวะแบบนี้ว่า convergent bounderies และมักทำให้เกิดเทือกเขาขนาดใหญ่ทอดยาวเช่นเทือกเขาหิมาลัย ถ้าเกิดในมหาสมุทรจะทำให้เกิดร่องลึกกลางสมุทร (deep ocean trench) เป็นอาศัยของสัตวฺประหลาดและมนุษย์ต่างดาว ^_^....

2. แบบที่เพลทเคลื่อนแยกจากกัน (divergent bounderies )

จะให้เกิดแนวหินใหม่ขึ้นบริเวณที่มีการแยก หรือที่เรียกว่าสันเขากลางสมุทร (mid oceanic ridge)

3. แบบเคลื่อนที่ผ่านกันหรือเฉียด ๆ กันไป

เหมือนรถสองคันที่วิ่งเฉียดกันไปขนิดผิวแตะกัน แต่เพลทผ่านกันด้วยความเร็วเพียง 10-20 เซนติเมตร จึงไม่ก่อให้เกิดกรณีเฉี่ยวชนให้เป็นที่หวาดเสียวกันแต่ประการใด ยิ่งกรณีชนแล้วหนี ปาดหน้าในระยะกระชั้นชิดยิ่งไม่มี

การเปลี่ยนแปลง  ของเปลือกโลก


เปลือกโลกทวีปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่



1.ส่วนที่เป็นภาวะคงตัว

คือส่วนที่เป็นภูเขาเก่าแก่ประกอบด้วยหินเก่าเป็นบริเวณที่มีมากกว่าส่วนที่ไม่คงตัว มีการเคลื่อนไหวน้อยมากตรวจดูหินจะมีอายุมากกว่าแบบภาวะไม่คงตัวแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.1 หินฐานทวีป

เป็นส่วนฐานของทวีป อยู่ในระดับต่ำประกอบด้วยหินอัคนีและหินแปร เกิดจากหินเก่าแก่ พื้นที่เป็นเนินเขาระดับต่ำหรือที่ราบสูงระดับต่ำ แต่ก็อาจมีบางที่ยกตัวขึ้น

1.2 รากภูเขา(ภูเขาก็มีรากเน้าะ..)

เป็นส่วนของหินฐานทวีป แต่มีหินที่เกิดจากซากเทือกเขารุ่นก่อนแทรกอยู่เรียกว่าเก่าหนักเข้าไปอีก..และถูกอัดบีบอย่างรุนแรงจนกลายเป็นภูเขาหินแปร
ที่มีรูปร่างเป็นสันเขาแคบยาวสูงจากทะเลไม่เกิน 1000 เมตร

2. ส่วนที่เป็นภาวะไม่คงตัว

คือส่วนที่กำลังก่อเกิดเป็นเทือกเขาเนื่องกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น บริเวณที่มีภูเขาไฟจะทำให้เกิดภูเขาที่ประกอบด้วยหินภูเขาไฟสะสมตัวกันจนเกิดเป็นเทือกเขาขึ้น ภูเขาพวกนี้อายุยังน้อย(เมื่อเทียบกับโลก ไม่ใช่เทียบกันคน ^_^ ) เกิดจากลาวา แมกมา หรือ ทีฟรา(เศษหินภูเขาไฟขนาดต่างๆ)



นอกจากนี้ยังมีส่วนที่มีการแปรของโครงสร้าง


คือการที่เปลือกโลกเกิดการแตกหัก โค้งงอ จากแรงดันตัวภายในโลก บางที่อาจยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหรือที่ราบศุง บางที่อาจยุบตัวลงกลายเป็นที่ราบลุ่มหรือแอ่ง ภูเขาแบบนี้เกิดขึ้นมากในมหายุคซีโนโซอิก มักจะเป็นภูเขาที่สลับซับซ้อนทุรกันดาร บางทีเรียกเทือกเขาที่มีรูปแบบนี้ว่า "เทือกเขาแอลไพน์"

เนื่องจากมีลักษณะโค้งงอหรือหลาย ๆ อย่างคล้ายกับเทือกเขาแอลป์ในยุโรปกลาง พบตามรอยต่อเขตรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ทวิปอเมริกาเหนือ เช่น เทือกเขา แอนดีส หรือถ้าอยู่ในมหาสมุทรก็จะเป็นหมู่เกาะที่มีลักษณะโค้งงอ เช่น หมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะฟิลิบปิน หมูเกาะอาลิวเซียน เป็นต้น


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ กิตติยาดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์