การหมุนเวียนเลือด
ส่วนประกอบของเลือด
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา
น้ำเลือดประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ส่วนที่เหลือได้แก่ สารอาหารต่างๆ เช่นโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และก๊าซ
2. เซลล์เม็ดเลือด
2.1) เซลล์เม็ดเลือดแดง มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีน โดยมีเหล็กเป็นองค์ปประกอบที่สำคัญมีชื่อเรียกว่า เฮโมโกลบิน โดยก๊าซออกซิเจนจะรวมตัวกับเฮโมโกลบิน แล้วถูกลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
2.2) เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
3. เกล็ดเลือด
ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย และช่วยห้ามเลือดในกรณีที่เกิดบาดแผล โดยจับตัวเป็นกระจุกร่างแหอุดรูของหลอดเลือดฝอย
ระบบหมุนเวียน เลือด
1. การทำงานของหัวใจ
ร่างกายคนเรามีอวัยวะที่เรียกว่า หัวใจ ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ตั้งอยู่บริเวณทรวงอกค่อนมาทางซ้าย ภายในมี 4 ห้องและมีลิ้นคอยปิด-เปิด เพื่อมิให้เลือดไหลย้อนกลับ โดยหัวใจทำหน้าที่เหมือนเครื่องสูบฉีด ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลออกจากหลอดเลือดแดง และไปตามหลอดเลือดฝอย
ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปทุกส่วนของร่างกาย
เพื่อนำเอาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายพร้อมทั้งรับเอาของ เสียจากเซลล์เหล่านั้น และไหลกลับมาทางหลอดเลือดดำ เข้าสู่หัวใจเพื่อสูบฉีดไปฟอกที่ปอดให้กลับกลายเป็นเลือดดีและไหลกลับสู่หัว ใจอีกเพื่อสูบฉีดเลือดดีนี้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆต่อไป
เราอาจสรุปขั้นตอนของระบบหมุนเวียนเลือด ได้ดังนี้
1. เลือดไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาทางหลอดเลือดดำใหญ่ แล้วไหลผ่านลงสู่ห้องหัวใจขวาล่าง และถูกสูบฉีดไปยังปอด
2. เลือดซึ่งได้รับการฟอกจนมีออกซิเจนเต็มที่จากปอด จะกลับคืนสู่หัวใจทางห้องบนซ้าย แล้วไหลลงมาสู่ห้องหัวใจซ้ายล่างเพื่อสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
3. เมื่อเลือดไหลไปทั่วร่างกายแล้ว เลือดที่เสียก็จะไหลกลับเข้าห้องหัวใจขวาบน แล้วถูกหัวใจสูบฉีดไปยังปอดอีก เป็นวงจรเช่นนี้ตลอดไป
2. การทำงานของปอด
ปอดของคนเรามี 2 ข้าง อยู่ภายในช่องอก เชื่อมต่อกับภายนอกโดยท่อลม ซึ่งเปิดภายในลำคอ โดยปอดมีลักษณะคล้ายฟองน้ำอ่อนนุ่ม เนื่องจากปอดประกอบด้วยกลุ่มของท่อและถุงลมเล็กๆ จำนวนมากมาย ซึ่งเลือดจะไหลผ่านปอดและหมุนเวียนตลอดเวลาเพื่อรับออกซิเจนที่ปอดท่อขนาด ใหญ่ในปอดจะแตกแขนงต่อไปอีกหลายครั้ง และแต่ละครั้งท่อจะมีขนาดแคบลงทุกที จนในที่สุดแขนงหลอดลมย่อยชั้นสุดท้ายจะเป็นท่อขนาดไม่กว้างไปกว่าเส้นผม
ซึ่งที่ปลายของท่อที่แคบเล็กชั้นสุดท้ายนี้
จะเป็นกระจุกถุงลมขนาดเล็กจิ๋ว ลักษณะคล้ายพวงองุ่น ถุงลมเหล่านี้เองที่เป็นที่รับออกซิเจนของเลือด ขนาดในปอดของหนูยังมีถุงลมอยู่มากกว่า 300 ล้านถุงเลือดเสียซึ่งมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง จะถูกลำเลียงไปยังปอด และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีความเข้มข้นสูงนี้จะแพร่เข้าสู่ถุงลมในปอด และถูกลำเลียงผ่านหลอดลม ออกสู่ภายนอกทางลมหายใจออก ในขณะที่ออกซิเจนจากลมหายใจเข้า ก็จะแพร่เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดเสียถูกฟอกกลับกลายเป็นเลือดดีนั่นเอง
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Kmutt Libraby
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com